Sub Navigation Links

webmaster's News

เปิด 6 มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปีนี้



เปิด 6 มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปีนี้



          การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ได้ผ่านพ้นไปอย่างราบรื่นด้วยการสานพลังความรู้ การผนึกกำลังความคิด และความพร้อมใจกันของสมาชิกสมัชชาสุขภาพจำนวน ๑,๑๖๒ คนจากทุกภาคส่วนทั่วประเทศ 206 กลุ่มเครือข่าย จำแนกเป็นเครือข่ายระดับพื้นที่ จำนวน ๕๘๘ คน ผู้แทนกลุ่มเครือข่ายภาคการเมือง ราชการและองค์กรรัฐ จำนวน ๑๐๖ คน ผู้แทนกลุ่มเครือข่ายภาควิชาการและวิชาชีพ จำนวน ๕๑ คน และผู้แทนกลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมและเอกชน จำนวน ๙๕ คน นอกจากนั้นยังมีผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๗๐ คน และผู้สังเกตการณ์ จำนวน ๑๕๒ คนร่วมกันพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม 6 เรื่อง ตลอดทั้ง 3 วันภายใต้ประเด็นหลัก “รับมือภัยพิบัติ จัดการภัยสุขภาวะ” โดยสมาชิกสมัชชาสุขภาพได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมานฉันท์ นอกจากนี้ยังมีการประชุมวิชาการทั้งสิ้น 13 เรื่อง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับประเด็นที่จะพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะในปีถัดๆ ไป โดยมีองค์กรเจ้าภาพร่วมจัดทั้งภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม ส่วนบริเวณลานสมัชชาสุขภาพ เป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นการนำเสนอกรณีตัวอย่างของการนำนโยบายสาธารณะไปปรับใช้ในพื้นที่ต่างๆ มีซุ้มนิทรรศการจากภาคีเครือข่ายฯเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนการจัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ

       &nb sp;  นอกจากนี้ยังมีการเสวนาที่น่าสนใจอีกมากมายกว่า 10 หัวข้อ สรุปสาระสำคัญมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2554 6 มติที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในปีนี้มีสาระสำคัญของมติที่ทุกภาคส่วนสามารถนำนโยบายดังกล่าวไปเป็นปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาวะกับสังคมไทย
 
          1. ความปลอดภัยทางอาหาร : การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมคุณภาพเป็นภัยต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย ความนิยมบริโภคอาหารทอดเพิ่มขึ้นทำให้ในแต่ละปีมีการใช้น้ำมันทอดอาหารมากถึง ๘ แสนตัน และในการทอดอาหารก็มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำไม่น้อย แต่นโยบายและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุม ส่งผลให้เกิดความสูญเสียในหลายๆ ด้าน ดังนั้นจึงมีมติให้กระทรวงพลังงานกำหนดทิศทางให้มีการจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพสู่การผลิตไบโอดีเซลพลังงานทดแทนตามแนวทางพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงและมีแรงจูงใจให้ผู้ประกอบก ารไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ สนับสนุนให้ภาคประชาสังคมตระหนักรู้ ตรวจสอบปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ผ่านการรณรงค์ให้การศึกษาและสื่อสารประชาสัมพันธ์จากองค์กรที่เกี่ยวข้อง และให้มีจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพภายในระยะเวลา 1 ปี เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

          2. การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย (สุขใจ...ไม่คิดสั้น) สถานการณ์การเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งเกิดขึ้นเฉลี่ย ๑๐ คนต่อวัน ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว และชุมชนอย่างรุนแรง สมาชิกสมัชชาสุขภาพเสนอให้กรมสุขภาพจิต องค์กรสื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหามาตรการควบคุมการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายระหว่างสื่อมวลชนกันเองโดยใช้หลักจรรยาบรรณวิชาชีพ ส่งเสริมกระบวนการชื่นชมและเชิดชูเกียรติการทางานของสื่อมวลชนที่ดี

          3. การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง สถานการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติมีแนวโน้มเกิดบ่อยขึ้นในประเทศไทย ได้แก่ อุทกภัย-ดินโคลนถล่ม พายุหมุนเขตร้อน แผ่นดินไหว สึนามิ มหาอุทกภัย ภัยแล้ง และ ไฟป่า-หมอกควัน ซึ่งจะสร้างความสูญเสียทั้งต่อชีวิตทรัพย์สิน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี สมัชชาสุขภาพมีมติให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง โดยการสนับสนุนของกระทรวงมหาดไทย จัดทำ แผนเตรียมความพร้อมเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นเพื่อรับมือภัยพิบัติธรรมชาติ เสนอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนระดับชาติ และคณะกรรมการบริหารกองทุนที่มาจากหลายภาคส่วน และทบทวนโครงสร้างการจัดการภัยพิบัติ โดยให้มีศูนย์อำนวยการที่มีลักษณะเป็นหน่วยงานรัฐที่เป็นอิสระ ทำงานเป็นเอกภาพขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดสรรคลื่นความถี่อย่างพอเพียงในการรับมือภัยพิบัติธรรมชาติเป็นการเฉพาะ

         4. การบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีทุกภาคส่วน ทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กเป็นสมบัติร่วมของสังคมที่มีค่า กลุ่มหรือองค์กร ชุมชน และเครือข่ายผู้ใช้น้ำ ล้วนมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกัน มีสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการตัดสินใจ การกำหนดแผนแม่บทและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็ก มีข้อเสนอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันสร้าง “ข้อตกลงร่วม” ในการบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็ก อันจะนำไปสู่การจัดทำธรรมนูญลุ่มน้ำ และร่วมกันทบทวน พัฒนานโยบายและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

         5. การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เนื่องจากสถานการณ์ที่เลวร้ายของการโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในปัจจุบันที่อวดอ้างสรรพคุณทางสุขภาพเกินจริง ผ่านทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ตเนื่องจากเป็นการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค และมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว สมัชชาสุขภาพจึงเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมเพิ่มบทลงโทษและการกำกับดูแลให้ปฏิบัติตาม รวมถึงการพัฒนาช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนที่ประชาชนเข้าถึงได้ และให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประกาศและบังคับใช้หลักเกณฑ์การประกอบกิจการที่เกี่ยวข้อง พร้อมกำหนดกลไกการกำกับดูแลและบทลงโทษให้ชัดเจน เช่นเดียวกับองค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน โฆษณาและการตลาด ผู้ประกอบการและองค์กรทางสังคม ที่ได้รับการขอให้กำหนดมาตรการและแนวทางการกำกับดูแลจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อ ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
 
           6. การเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมและการบริการโดยไม่คำนึงถึงผลเสียต่อสุขภาพและความปลอ ดภัยของคนทำงาน ส่งผลให้คนทำงานต้องบาดเจ็บ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ พิการ หรือเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงมีมติเสนอให้กระทรวงแรงงานร่วมกับเครือข่ายแรงงาน องค์กรนายจ้างและลูกจ้าง สร้าง “วัฒนธรรมความปลอดภัย” ในการทำงาน และร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข พัฒนาแนวทางและมาตรฐานด้านอาชีวอนามัย พร้อมจัดสรรเงินกองทุนสนับสนุน และปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพในสถานประกอบการให้มีคุณภาพ บังคับใช้ได้จริง เสนอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดสรรงบประมาณในการดูแลสุขภาพให้กับคนทำงานเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงการบริการทางสุขภาพจากกองทุนอื่น

       ;    ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อสรุปจากข้อเสนอในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายทั่วประเทศได้จัดกระบวนการรับฟังความเห็นมาตลอดทั้งปี ผู้สนใจสามารถติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ฉบับสมบูรณ์ ทาง www.samatcha.org และติดตามรับชมบรรยากาศตลอดทั้งงานและ download ภาพและเสียงได้ทาง www.healthstation.in.th

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  35059

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง