Sub Navigation Links

webmaster's News

สช.รับฟังเกณฑ์ HIA ครั้งที่2



สช.รับฟังเกณฑ์ HIA ครั้งที่2



               
สช.เปิดเวทีครั้งที่ 2    รับฟังความเห็นเกณฑ์การทำ HIA   ตามม.25(5)ของพรบ.สุขภาพและม.67แห่งรัฐธรรมนูญ   เผยเปิดช่องประชาชนเข้าชื่อร้องขอศึกษาผลกระทบได้   พร้อมตั้งทีมงานปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ทันสถานการณ์

เมื่อวันที่ 31 ก.ค.52   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)   ได้จัดเวทีร่วมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบ  ด้านสุขภาพ (HIA) ตามมาตรา 25 (5) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ   พ.ศ.2550 โดยมีตัวแทนภาครัฐ และองค์กรต่างๆเข้าร่วมที่โรงแรมเดอะปาร์ค   โฮเทล เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการเปิดเวทีรับฟังความเห็นครั้งที่ 2   หลังจากเปิดเวทีครั้งแรกที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20   ก.ค.ที่ผ่านมา
      สำหรับที่มาของการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นว่า   สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ กำหนดสิทธิและหน้าที่ทางสุขภาพ   ในมาตรา 5   ที่ให้บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ  สุขภาพ และเพื่อให้ปรากฏผลเป็นจริง   ได้กำหรดสิทธิของบุคคลและคณะบุคคลในมาตรา 11   ให้สามารถมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและเข้าร่วมการประเมินผลกระทบด้าน  สุขภาพจากนโยบายสาธารณะได้
 ประกอบกับ รัฐธรรมนูญ 2550   ในหมวดสิทธิชุมชน มาตรา 67 วรรคสอง ระบุว่า   การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง   ทั้งต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพอนามัย จะกระทำมิได้   เว้นแต่จะมีการศึกษาและประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ       
 ดังนั้น   คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) จึงใช้อำนาจและหน้าที่ตามมาตรา   25(5)ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ   ที่ได้ระบุถึงหน้าที่ในเรื่องการทำเกณฑ์และวิธีการด้าน HIA   และเมื่อร่างดังกล่าวเสร็จแล้วจึงนำมาเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน  รวมทั้งหมด 5 เวที ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นเวทีแรก   ส่วนที่เหลือกระจายไปในภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้เวทีสุดท้ายจะมีในวันที่ 17   ส.ค.ที่มหาวิทยาลัยมหิดล       
      ร่างหลักเกณฑ์ในหมวดที่ 2   ได้วางกรอบโครงการและกิจกรรมที่ต้องมีการทำ HIA ไว้ ได้แก่   1.โครงการและกิจกรรมที่มีประเภทและขนาดตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ   ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการกำหนดประเภทอุตสาหกรรมดังกล่าว   2.กิจกรรมการวางแผนพัฒนาที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง เช่น   การจัดทำและปรับปรุงผังเมือง การวางแผนระดับภูมิภาค   อย่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ การจัดทำแผนโครงข่ายคมนาคม   การจัดทำยุทธศาสตร์หรือการพัฒนาแร่/เหมืองแร่ และการทำข้อตกลงการค้าเสรี   (เอฟทีเอ) หรือข้อตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ
 นอกจาก  นี้   ประชาชนที่ห่วงกังวลว่านโยบายหรือโครงการใดที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่นอก  เหนือจากข้างต้นแล้ว สามารถเข้าชื่อร้องขอให้มีการทำ HIA ตามมาตรา 11   ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ โดยผ่านทาง สช.ได้        
 สำหรับขอบเขตและแนว  ทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Scoping)   เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนร่วมนำเสนอประเด็นและแนวทางในการประเมินผล  กระทบทางสุขภาพอย่างรอบด้านมากที่สุด   โดยมีขั้นตอนต้องแจ้งล่วงหน้าให้สช.และสาธารณชนไม่น้อยกว่า 1 เดือน   เพื่อให้หน่วยงานและสาธารณชนที่สนใจเตรียมตัวเข้าร่วมอย่างทั่วถึง   ต้องเปิดเผยเอกสารโครงการและร่างข้อเสนอแนวทางประเมินผลกระทบไม่น้อยกว่า 15   วันก่อนจัดเวที   และในเวทีต้องเปิดโอกาสจัดเวลาให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง   และหลังการจัดเวทีต้องเปิดช่องรับฟังความเห็นอีกไม่น้อยกว่า 15 วัน   จากนั้นจัดทำสรุปความคิดเห็นและแนวทางการประเมินผลกระทบเพื่อทำการประเมิน  ต่อไป       
 อย่างไรก็ตาม   ต้องมีการจัดเวทีทบทวนร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบทางสุขภาพ หรือ   Public Review เพื่อรับฟังความคิดเห็น   รวมทั้งคำชี้แจงจากหน่วยงานเจ้าของโครงการ   หน่วยงานที่ให้ใบอนุมัติอนุญาตและหน่วยบงานเกี่ยวข้อง รวมถึงในหมวดที่ 4   ได้ให้จัดตั้งคณะทำงานให้ข้อเสนอแนะหรือปรับปรุงหลักเกณฑ์ HIA ต่อ สช.   เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว       
  ทั้งนี้   เวทีรับฟังความเห็นในเรื่องหลักเกณฑ์ HIA จะมีทั้งหมด 5 เวที โดยครั้งที่ 3   จัดขึ้นที่ จ.ขอนแก่น ครั้งที่ 4 มีขึ้นที่ จ.สงขลา   และครั้งสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยมหิดล        
   

       
       

ทีมข่าว สช.นิวส์ รายงาน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  7th May 12

จำนวนผู้ชม:  36084

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง