Sub Navigation Links

webmaster's News

“โมเดลชาวนาภาคกลาง” ให้ใช้พื้นที่นารับน้ำ 3 เดือน



“โมเดลชาวนาภาคกลาง” ให้ใช้พื้นที่นารับน้ำ 3 เดือน



เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

          ฝน ฟ้าที่ตกผิดฤดูในยามนี้ ทำเอาคนภาคกลาง โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ขวัญผวา เพราะไม่แน่ใจว่าปีนี้น้ำจะมากเท่ากับปีก่อนหรือไม่ ทั้งมาตรการป้องกันของรัฐบาลก็ยังไม่มีให้เห็นเป็นรูปธรรมชาว บ้านแถบบางเลน นครชัยศรี เพิ่งจบภารกิจช่วยเหลือตัวเอง ด้วยการผันน้ำออกจากพื้นที่และเริ่มทำนาเมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ครั้น เห็นว่าปีนี้น้ำคงมาแน่ และเรือกสวนที่นาของพวกเขาจะต้องเป็นพื้นที่รับน้ำอีกครั้ง

          หน่วยงานท้องถิ่นและภาคประชาชนจึงหารือกันว่า หากยอมเป็นพื้นที่แก้มลิงให้ รัฐบาลควรจ่ายชดเชยค่าเสียหายกรณีที่เขาไม่ได้ทำนา ไม่ใช่พอมวลน้ำหายไปจากเมืองหลวง ก็ทอดทิ้งพวกเขาให้เผชิญปัญหาเพียงลำพัง! คนที่ติดตามข่าวการกู้สวนส้มโอนครชัยศรี และปฏิบัติการผันน้ำของจังหวัดสมุทรสาครเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีแคมเปญว่า ‘แหล่งอาหารของเรา ต้องเอาให้อยู่’

          อาจคุ้นหน้าคุ้นตากับเครือข่ายภาคประชาชนลุ่มน้ำท่าจีนนครปฐม ซึ่งมี 3 กลุ่มประกอบด้วยชมรมเรารักแม่น้ำ ท่าจีนนครปฐม-เน้นการปฏิบัติ, มูลนิธิแม่น้ำท่าจีนนครปฐม-เน้นหาทุนทรัพย์, สภาลุ่มน้ำท่าจีนนครปฐม-ทำงานเชิงนโยบาย สำหรับคนทำงาน หนึ่งในนั้นคือ ประเชิญ คนเทศ ที่ปรึกษาฝ่ายวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ชมรมเรารักแม่น้ำ ท่าจีน ผู้นิยามตนเองว่าเป็น ‘นักปฏิบัติการในพื้นที่’ เพราะชอบขับรถไปดูทิศทางของน้ำ สำรวจแนวน้ำท่วม ทั้งก่อนระหว่าง และหลังน้ำท่วม ประเชิญ เพิ่งเออร์ลีรีไทร์เมื่อเดือนกันยายน และใช้ชีวิตสู้กับน้ำในเดือนถัดมา ร่วมกับภาคประชาชนส่วนอื่นๆ

          โดยทำหน้าที่ประเมินสถานการณ์ (น้ำ) จนแทบจะกลายเป็นเอ็นไซโคพีเดียเคลื่อนที่ไปแล้ว เพราะไปไหนต้องมีแผนที่แสดงทิศทางน้ำติดตัวไปด้วย “เราไม่ใช่ คนเก่ง แต่มีเครือข่ายที่ผมเรียกว่า ตาฟ้า-ดูดาวเทียม ตาดิน-ขับรถ ไปดูเอง เมื่อได้ข้อมูลมา ส่วนตาท้องถิ่น- คือเครือข่ายเราที่ถูกน้ำท่วมกระจายในพื้นที่ คนเหล่านี้เขาเห็นน้ำมาตั้งแต่เกิด และข้อมูลทางราชการจาก ท่าน ผอ. สุวรรณ นันทศรุต ผอ.สิ่งแวดล้อมภาค 5 ป้อนข้อมูลทางเน็ตให้ทุกวัน เราก็ประมวลเข้าด้วยกัน ทำให้ได้เปรียบ หน้าที่ผมคือประเมินสถานการณ์โดยใช้ข้อมูลรอบด้าน” คราวที่เขา ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในงาน ‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 4′ ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) บนเวทีเสวนา ประเชิญบอกว่า ชาวบ้านได้มีการหารือกันบ้างแล้วว่า ปีนี้อาจยอมเป็นพื้นที่รับน้ำ (ท่วม) ให้ 3 เดือน แต่รัฐบาลต้องชดเชยค่าเสียโอกาสในการทำนา ในอัตราที่เป็นธรรม

          ขณะที่คนเมืองหลวงยังฝากชีวิตไว้กับรัฐบาล หวังว่าจะแก้ปัญหาให้ แต่คนต่างจังหวัดกลับคิดการใหญ่ล่วงหน้าไปแล้ว! จากการสำรวจในพื้นที่และข้อมูลที่มี คาดว่าปีนี้มวลน้ำมาอีกแน่ มา แน่ เราประเมินเป็นกรณีที่แย่ที่สุด แต่พอมีเวลาครับ เราพยายามผ่อนหนักเป็นเบา เมื่อดร.อานนท์ สนิทวงศ์ณ อยุธยา ประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า บางบัวทองโดนแน่ นั่นหมายความว่าเรา ก็โดนด้วย เพราะพื้นที่ใกล้เคียงกัน (ชี้ให้ดูแผนที่) ที่ผมมองว่าเป็นตัวแปรสำคัญคือ วังน้อย-สระบุรี.เจ้าพระยาโดยกำลังรับได้ 3 พันกว่าล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เกิดมีน้ำมาเสริม ทำให้ประตูระบายน้ำ 16 แห่งพัง..จะควบคุมน้ำไม่ได้ ไหลเข้าบางบัวทอง บางใหญ่ และกระเพาะหมูบ้านเรา ถ้า เขาบอกบางบัวทองท่วมแน่ พื้นที่มันระนาบเดียวกับบางเลน นครชัยศรี พุทธมณฑล แล้วเราจะอยู่เฉยรอหรือ ทั้งที่ธรรมชาติน้ำก็มา ปีนี้ถ้าสุพรรณบุรีถูกกดดัน น้ำไหลจากข้างบนต้องเปิดประตูระบายน้ำพลเทพประตูบ้านโบสถ์ โพธิ์พระยา น้ำจะไหลเข้ามาฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนตรงนี้ต้องระวังด้วย หลังกรุงเทพฯ พ้นน้ำท่วมแล้ว รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการต่อในนครปฐม เข้าใจคำว่าถูกทิ้งไหม เราประเมินก่อนจะพ้นด้วย พอเราทำงานมากพอ รู้จักคนกรุงเทพฯ รู้จักภาครัฐ ทำให้คิดถึงกรณีเลวร้ายสุดว่าถูกทิ้งแน่ น้ำยังค้างอยู่ 365 ล้านลูกบาศก์เมตร ณ วันที่เราประเมินกัน ถ้าเอาออกแม่น้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนวันละ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร คำนวณออกมาแล้วว่าหลังวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถึงทำนาได้

           ดังนั้น กลุ่มนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี อำเภอพุทธมณฑล ที่เราทำงานเป็นเครือข่ายกัน ก็นั่งวางแผนคุยกันว่า ถ้าปล่อย (ตามชะตากรรม) จะส่งผลกระทบมาก วางแผนกันว่าเราต้องทำอะไรบ้าง หากจะเร่งสูงน้ำออกจากพื้นที่เกษตรลงแม่น้ำท่าจีน ส่วนแรก เป็นพื้นที่บางเลนตอนบน ทุ่งพระยาบรรลือ ส่วนหนึ่งและทุ่งพระพิมลราชาส่วนหนึ่ง เป็นเขตติดต่อทุ่งสองพี่น้อง ส่วนต่อมาเป็นนครชัยศรี และพุทธมณฑล เราวางแผนแต่ละส่วนว่าจะสูบน้ำจากแปลงไหนบ้าง เป้าหมายคือลงแม่น้ำท่าจีนก่อน จากแปลงลงคลอง จากคลองลงแม่น้ำท่าจีน แปลงไหนแห้งก่อน ทำนาก่อน ตอนล่าง อำเภอสามพราน ตลิ่งแม่น้ำท่าจีนโผล่แล้ว เราระดมสูบ มีสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสช่วยออกข่าว สื่อมาช่วยเรา บริษัทบางจาก บริจาคน้ำมัน ชาวบ้านนำเครื่องสูบน้ำมาช่วย ทั้งหมดทำหลังการกู้สวนส้มโอเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ใช่ หลังจากส้มโอหวานแล้ว เราจะ ‘กู้ข้าวสารขาว’ เมื่อเราแบ่งพื้นที่สูบออก กรมชลประทานส่งเครื่องสูบ เครื่องพร่องน้ำ มาช่วย กทม.ส่งเครื่องสูบมาช่วย กองทัพเรือส่งเครื่องพร่องน้ำมาช่วยตั้งเป้าไว้

           วันที่ 15 มกราคม 2555 เขตบัวหวั่น (ตำบลบัวปากท่า อำเภอบางเลน) ติดกับวัดไผ่โรงวัว ติดต่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำนาได้ตลอด แต่บางหลวง บางปลา ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำ อยู่ติดกับแม่น้ำ เพิ่งเริ่มทำนาได้ไม่กี่วัน น้ำมันที่เหลือจากใช้ในการกู้สวนส้มโอ เราเอาไปช่วยพี่น้องเรา เพราะแถบโน้นเป็นพื้นที่ต่ำมาก.คาดว่าบางปลา อำเภอบางเลน ศิลามูล อำเภอบางหลวง เพิ่งเริ่มทำนาได้ไม่กี่วัน ทั้งหมดภาคประชาชนดำเนินการด้วยตนเอง บริษัท น้ำมันบางจากกับเอสซีจีสนับสนุน ระยะหลังกรมชลประทาน ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ มาช่วยด้วย เมื่อเราออกสื่อก็มีผู้มาช่วยหลายหน่วยงาน มีน้ำมัน เครื่องสูบน้ำ แม้ไม่มากนักแต่ดีกว่าไม่มีอะไร พอคันนาพ้นน้ำชาวบ้านก็สูบเองด้วย หลักๆ คือ 3/4 เราช่วยตนเอง

           เมื่อเราเริ่มต้นเข้มแข็ง มีแผนงานชัดเจน ภาคเอกชนมาช่วยเยอะ เรา คุยกันว่าถ้าปีหน้าน้ำท่วม กลุ่มนายก อบต.บางเลน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ (พื้นที่ที่ต่ำสุดประกอบด้วย บางเลน นครชัยศรี พุทธมณฑล) ประเมินว่าหากปีนี้น้ำมาอย่างปี 2554 เพื่อป้องกันคนกรุงเทพฯ เอาน้ำมาไว้ที่เรา จะดูแลเราอย่างไร ชดเชยไหม ถ้าเราปล่อยน้ำเข้าทุ่ง หยุดการทำนา 3 เดือน คุณจะชดเชยอะไรให้เราอยู่ได้ และคุณไม่เดือดร้อน ถ้าเกิดว่าเราทำนาได้ก็มีรายได้ แต่การตั้งค่าชดเชยเป็นพื้นที่รับน้ำ ยังไม่ได้พูดกัน แต่หลักง่ายๆ คือ ให้เราอยู่ได้ ไม่มีหนี้สิน ให้มีค่าใช้จ่ายพอสมควร ยุติธรรม

          โดยวันที่ 13 กุมภาพันธ์ จะมีการประชุมกันที่ อบต.บางระกำ เพื่อกำหนดแนวทางตั้งรับเชิงรุกน้ำท่วมปี 2555 โดยสภาลุ่มน้ำท่าจีน มูลนิธิฯ สภาฯ ร่วมกับเครือข่าย อบต. และพี่น้องเรา ในเขตตะวันออกแม่น้ำท่าจีน มีบางเลน นครชัยศรี พุทธมณฑล และฝั่งตะวันตกของเจ้าพระยา ตามที่ได้พูดคุยกันมีพื้นที่ไหน บ้างจะเป็นพื้นที่รับน้ำ โดยรัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยให้ มีแนวคิดกันว่าบางเลนตอนบนเกือบทั้งหมดที่ติดแม่น้ำท่าจีน นครชัยศรีฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำ ส่วนที่ติดกับลาดบัวหลวง (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ไทรน้อย บางบัวทอง ในส่วนบางใหญ่กับพุทธมณฑลยังไม่คุยกัน แถวนั้นเป็นพื้นที่เกษตร ทำนาเป็นอาชีพ พื้นที่เป็นแสนไร่ นายก อบต.และเครือข่ายในพื้นที่ ประมาณสิบกว่า อบต. และเทศบาลคุยกัน ถ้ามีค่าชดเชยหรือดูแลอย่างยุติธรรม เที่ยงธรรม เราก็ไม่ทำต้องทำนาไง แต่เราต้องอยู่ได้ด้วยนะ ถ้าเราทำนาแล้วคุณผันน้ำเข้าหาเรา ที่ผ่านมาผันน้ำเข้าเราตลอด ถ้าท่วมธรรมชาติไม่นานอย่างนี้ (เน้นเสียง) คิดจากสมมติฐานว่าปีนี้น้ำมามากอีกแน่ และรัฐบาลต้องป้องกันกรุงเทพฯ หาก คุณจะผันน้ำหาเรา ต้องคุยกัน นี่เป็นดำริของนายก อบต. ไม่ใช่ดำริของผม เพียงแต่ผมอยู่ในเหตุการณ์ และชาวบ้านชาวนาหลายคนเห็นว่า ถ้ามีการจ่ายอย่างยุติธรรมก็ยินดี เขาจะเว้นการทำนาไปเลย แต่เขาต้องอยู่ได้ เพราะพื้นที่แถวนั้นปลูกข้าวได้ผลดีมาก ถ้าบางเลนตกลงว่าเป็นแก้มลิงให้ ใช่น้ำจะขังที่นี่ คนกรุงเทพฯ ไม่ต้องเครียด ถ้าพุทธมณฑลจะเอาด้วย บริเวณนั้นมีพื้นที่ทำนา คุณจะดูแลเขา จ่ายเงินให้เขาไหมช่วง 3 เดือน โซนนี้มีนาทำเยอะ ส่วนสวนกล้วยไม้ยังไม่ได้พูดว่าจะเอา ไม่เอานะ โซน บางเลน และนครชัยศรีบางส่วนพร้อมแล้ว ให้เอาน้ำมาไว้ที่เขา

           หลักการง่ายๆ คือ ถนน 346 ยกคันกั้นไว้เลย เอาน้ำล้อมไว้ แต่คุณต้องจ่ายค่าชดเชยนะ เพราะเขาต้องทำมาหากิน มีครอบครัว มีหนี้สิน คาดว่าจะเสนอต่อภาครัฐเมื่อไร น่า จะหลังคุยกันวันที่ 13 กุมภาพันธ์ นี่เป็นแค่ดำรินะและชาวบ้านเห็นดีด้วย เพราะในเมื่อน้ำจะมา เราไม่ต้องไปเกร็งเรื่องการทำนา เพราะที่อื่นทำได้ ฉันก็ทำได้ ปกติเราไม่เดือดร้อน แต่คุณผัน (น้ำ) มาหาฉันน่ะ.. ตามที่บอกว่าชาวบ้านลงพื้นที่สำรวจ และเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมปีนี้ ได้ทำอะไรกันบ้าง เรา ประเมินว่าน้ำจะท่วมอีก เจออย่างปีที่แล้ว แต่ ณ ขณะนี้หลัง 10 มกราคม เขาทำนากันแล้ว ที่ไหนเราสูบน้ำออกได้ก่อนก็ทำ..

          ทางรถไฟสายศาลายา-มหาสวัสดิ์ เป็นเส้นแบ่งระหว่างน้ำขังตอนบนทุ่งพระพิมลราชากับน้ำขังตอนล่าง ผมใช้ว่าเมืองพุทธมณฑล กระทุ่มแบน อ้อมน้อย น้ำจะขังสองพื้นที่ หลังจากประเมินว่าเราถูกทิ้งแน่ๆ จะต้องเร่งเอาน้ำออกจากพื้นที่ 2.5 แสนไร่ เพื่อให้ชาวนาปลูกข้าวได้ทันวันที่ 15 มกราคม ถ้าเราไม่ทำ อะไรเลยกว่าจะทำนาได้ต้อง หลัง 14 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งไม่ทันเก็บเกี่ยว และไม่ทันเข้า

          โครงการรับจำนำข้าว จะส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจของพี่น้องเกษตรกร ซึ่งผูกพันกับหนี้สินเยอะแยะ พื้นที่ตั้งรับเชิงรุกที่มีการเตรียมภัย ล่วงหน้า อยู่ ที่ อบต.บางระกำ มีการวางแผนพื้นที่หลบภัยเสี่ยงภัย รองรับน้ำได้ขนาดไหน แต่งวดนี้ (หมายถึงปี 2554) วางแผนมากกว่าปี 2549 แต่น้ำจากบางบัวทอง ไทรน้อย ตีเข้ามา ทำให้แนวป้องกัน worst case ของเขายังไม่พอ ถ้าน้ำเท่ากับปี 2549 หรือมากกว่านิดหน่อยก็เอาอยู่..แต่น้ำที่เข้ามาทำให้พื้นที่แถวนี้นาล่มหมด การตั้งรับมีศูนย์หลบภัยเป็นหย่อมๆ เขารู้ว่าที่ไหนเป็นศูนย์หลบภัย

          โดยยุทธศาสตร์รักษาถนนในหมู่บ้านเพื่อลำเลียงอาหารได้ ตั้งโรงครัว ศูนย์ปฏิบัติการทางอาหาร ศูนย์จัดการความช่วยเหลือ บริหารจัดการน้ำ เวลาน้ำโจมตี เขาจะมีแผน 1-2-3. ส่วนที่คลองจินดา ตำบลงิ้วราย ตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี ตรงนี้เป็นกระเพาะหมู อำเภอสามพราน ใกล้กับกระทุ่มแบน บ้านแพ้ว เป็นฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน เป็นโซนความอุดมสมบูรณ์ของผลไม้ มีการทำนาอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นสวนกล้วยไม้ สวนผลไม้ พื้นที่ตรงนี้ได้มีการทำ งานร่วมกับมูลนิธิสุขภาวะและ สสส.สำนัก 6 คาดการณ์ว่าเมื่อน้ำทะเลหนุนสูง คลองจินดาจะหายไปเพราะน้ำท่วมหมด จึงได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ ถ้าเราจะอยู่กับน้ำ อยู่อย่างไร เราประเมินว่าน้ำมาเต็ม วันที่ 26-28 ตุลาคม 2554 กลางพฤศจิกายน วันลอยกระทง มีน้ำทะเลหนุนสูงสุด คาดว่าจะมาบรรจบบริเวณสามพราน ดังนั้นเขาเร่งพร่องน้ำออกจากพื้นที่ ชาว บ้านลงขันกัน ศึกษาทำพื้นที่เสี่ยงภัย วัดระดับความสูง ตรงไหนสูงสุด เขาจะมีธนาคารพันธุ์พืชไปรวมกันเก็บไว้ ส่วนที่หลบภัยของชาวบ้านเป็นวัดปรีดาราม ที่นี่มีเรืออยู่แล้ว จะเชื่อมโยงกับอำเภอเมืองอย่างไร ก็วางแผนระดมเรือหางยาวมาพร่องน้ำ ดันน้ำออกจากแม่น้ำท่าจีน ไม่ให้น้ำที่ไหลจากข้างบนล้น. ปีที่ แล้วคลองจินดาโดนน้ำท่วมน้อยกว่าปี 2549 เพราะดึงน้ำออก และชาวบ้านลงขันกันร่วมกับชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเราเอาเรือมาผูกทุกสะพานและดันน้ำลงทะเล ค่าน้ำมันหมดไปเฉียดล้านบาท แต่ทำให้พืชสวนอยู่ พืชสวนใช้เวลา 5-6 ปีจึงเก็บเกี่ยวได้ ถ้าตาย ต้องใช้เวลามากกว่านี้

            ฉะนั้นการลงทุนขนาดนี้ถือว่าพอรับได้. โมเดลข้างต้นยังใช้สำหรับรับมือน้ำท่วมปีนี้ สิ่ง ที่เขาได้เรียนรู้มาก็ใช้เลย แทนที่จะเจอปัญหาน้ำท่วมหนักอย่างปี 2549 เขาเตรียมป้องกันลวงหน้าเป็นเดือนกว่าน้ำจะถึง และเตรียมการกับสภาลุ่มน้ำท่าจีน ทำงานเป็นระบบ ชาวบ้านปรึกษากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เอาเรือมาวางเป็นจุดดันน้ำ เป็นระยะ ผลของการกู้สวนส้มโอเป็นอย่างไร สวน ส้มโออยู่บริเวณ อบต.บางเตย ทรงคนอง ท่าตลาด หอมเกร็ด น้ำโจมตีล้นคลองมหาสวัสดิ์มา ตลาดน้ำดอนหวายจม สวนส้มโอที่ทรงคนองก็จม มีอยู่ไม่กี่ขนัดที่ป้องกันตัวเองได้. เราตกลงกันว่าช่วยกันกู้ หากสวนไหนรอดจะตอนกิ่งแจกเพื่อนด้วยกัน เพื่อดำรงความเป็นส้มโอนครชัยศรีให้คงอยู่ ส้มโอ 5,000 ไร่ ตายไป 60-70 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้กำลังบำรุงต้นขั้นตอนต่อไปต้องฟื้นฟูกัน เราไม่ตอนหน้าหนาวกับหน้าแล้ง จะตอนต้นในหน้าฝน สวนที่เขาปลูกแบบเกษตรอินทรีย์รอดเยอะ เกษตรเคมีเหมือนคนไม่แข็งแรง นี่ คือที่มาที่ไปของคนลุ่มน้ำท่าจีนที่ ลุกขึ้นมาจัดการตนเอง แต่การจัดการ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐภายหลัง มี ศปภ. กระทรวงเกษตรฯ ทหารบก ทหารเรือ ตำรวจ ทหารในสังกัดของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นการช่วยแบบสหเครือข่าย ปตท.เอาน้ำมันมาช่วย น้ำมันส่วนหนึ่งเราไปใช้ใส่เรือสำหรับพื้นที่อื่นด้วย คือส้มโอรอดแล้ว ข้าวสารขาวก็ต้องรอดด้วย มันเป็นความรักความผูกพันของคนในลุ่มน้ำท่าจีน การ พร่องน้ำต้องให้เครดิต มูลนิธิฯ และชมรม ฯ ส่วนกู้สวนส้มโอ-บริหารจัดการภาพรวม ให้เครดิตกับสภาฯ การกู้น้ำออกจากนา โดยเครือข่ายนายก อบต. และเทศบาลบางเลน เป็นแกนนำ ทุกคนลงมาช่วย มันเป็นภาพที่งดงาม อย่างนี้สังคมไทยเราไปรอด.

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  35346

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง