Sub Navigation Links

webmaster's News

ผังเมืองที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติ



ผังเมืองที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติ



          สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การบุกรุกพี้นที่ต้นน้ำ การขยายตัวของเขตเมืองและอุตสาหกรรม มาตรการการแก้ไข การป้องกัน และการบรรเทา รวมไปถึงระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่เหมาะสมที่ประเทศไทยมีอยู่ในขณะนี้ ล้วนยังไม่ดีพอต่อการจัดการพัฒนา “พื้นที่เสี่ยงภัย” โดยเฉพาะการวาง “ผังเมือง” ของประเทศ ที่หลายพื้นที่มีการกำหนดการใช้ที่ดินทับซ้อนระหว่างพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรม พื้นที่สำหรับการเกษตรกรรม และพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นปัญหาต่อการบริหารจัดการพื้นที่มาเนิ่นนาน ซึ่งท้ายที่สุดก็ก่อเกิดเป็นมหาอุทุกภัยร้ายแรงเป็นอันดับ 4 ของโลก

          ในช่วงปลายปี 2554 ให้เราได้ประจักษ์ กับมูลค่าความสูญเสียรวมนับ 1.44 ล้านล้านบาท ตามที่ธนาคารโลกประเมินในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ซึ่งนั่นเทียบไม่ได้กับความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องมีชีวิตจมอยู่กับ “กระแสน้ำ” นานกว่า 3 เดือน ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมยังไม่ค่อยจะคลี่คลายดีสักเท่าไร แต่หากไปดูโมเดลผังประเทศไทย ผังภาคกลาง และผังนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2600 ก็อาจสร้างปัญหาให้ประชาชนคนไทยได้ตื่นตระหนกและปวดขมับกันอีกระรอก เหตุเนื่องจากผังประเทศและผังเมืองที่ฝ่ายรัฐ โดยนักวิชาการ ข้าราชการ เป็นผู้ค้นหาข้อมูล เรียกประชุม และจัดทำขึ้นมาจนเป็นผังประเทศ พ.ศ. 2600 นั้น ประชาชนในพื้นที่แทบไม่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นใด ๆ และเมื่อพิจารณากรอบประเทศที่มีอายุบังคับใช้ล้ำไปสู่อนาคตถึง 40 กว่าปี ถือว่าอันตรายไม่น้อย เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน อย่างไร? แล้วจะรับมือทันต่อการปรับเปลี่ยนแบบปัจจุบันทันด่วนหรือไม่! แถมเมื่อศึกษาลงรายละเอียดแล้ว

        & nbsp; ผังประเทศและผังเมืองของไทย พ.ศ. 2600 ที่มุ่งพัฒนาเมืองเป็นศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การบริการ การจ้างงาน และรองรับการย้ายถิ่นของประชากรมากกว่าร้อยละ 50 โดยมิได้มองในเรื่องสิ่งแวดล้อมและศักยภาพของพื้นที่เป็นสำคัญนั้น ยังคลุมเคลือ ทับซ้อน และสร้างความขัดแย้งแตกแยก เพราะดันกำหนดเอาพื้นที่ขยายตัวของเขตเมืองและภาคอุตสาหกรรม มาวางทับพื้นที่ทำเกษตรและอยู่อาศัยในเขตที่ราบลุ่ม จนเกิดเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ต่างจากการวางผังเมืองในอดีตที่แล้วมา หากให้ยกตัวอย่างก็เหมือนกับการขยายพื้นที่ผังเมือง กทม.และปริมณฑล ในช่วง พ.ศ. 2503-2549 ที่พื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาเมือง และจากมีผู้อยู่อาศัยเริ่มต้น 4.5 ล้านคน กลายเป็นเกินกว่า 10 ล้านคนในปัจจุบัน ทั้งที่จำนวนประชากรในทะเบียนราษฏร์-เขตปกครองมีเพียง 5.7 ล้านคน เป็นต้น

          ปัญหาที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าการวางผังเมืองและผังประเทศที่เป็นอยู่ ยังไม่ตกผลึกเพียงพอที่จะกำหนดให้พื้นที่หนึ่ง ๆ พัฒนาไปในทิศทางใดกันแน่ อีกทั้ง การวางผังประเทศในลักษณะดังกล่าว ยังกลายเป็นเครื่องมือสนองนโยบายรัฐ แทนที่จะเป็นไปตามบริบทความเหมาะสมของสภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ที่จะทำให้เรารู้ถึงจุดแข็งจุดอ่อนและจุดเสี่ยงภัย ฉะนั้น การวางผังเมืองที่อาจจะยังมองไม่รอบด้าน ขาดการบูรณาการ จึงเสี่ยงต่อการการฉกฉวยไปใช้ประโยชน์ส่วนบุคคลมากกว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

          จนกล่าวได้ว่าวิธีการและกระบวนการวางผังเมืองของประเทศ ณ วันนี้ และที่ก้าวล่วงไปถึงปี พ.ศ. 2600 อยู่ในขั้น “อาการน่าเป็นห่วง” อย่าลืมว่าเราไม่สามารถอยู่บนฟ้าหรือใต้น้ำได้ เพราะฉะนั้นการจัดสรรผืนดินจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่เรามักมองผืนดินเป็นต้นทุนสำหรับใช้ประโยชน์ ไม่ได้มองในมิติของการเป็นทุนสำหรับการใช้ชีวิตร่วมกัน แล้วก็เข้าใจกันไปเองว่ารับมือได้ ป้องกันได้ กับภัยพิบัติที่จะเกิดตามมาจากการผังเมืองแบบเห็นแก่ตัว แต่การวางผังเมืองถึงปี พ.ศ.2600 แม้จะยังมีผังกำหนดพื้นที่พัฒนาที่ขัดแย้ง และเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ แต่ข้อมูลและสาระของผังในหลายด้านก็ถือว่ามีประโยชน์ และเข้าใจว่าเป็นเจตนาที่ดีของการอยากให้ประเทศมีกรอบการพัฒนาที่ชัดเจน

          ภารนี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการอิสระจากเครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม ให้ความเห็นว่า รัฐควรหยิบผังเมืองแห่งอนาคตที่ยังมีช่องโหว่นี้ มาปรับปรุงโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอีกสักครั้ง เมื่อการจัดทำรัฐธรรมนูญยังต้องฟังเสียงของประชาชน แล้วการทำผังประเทศที่เป็นการกำหนดอนาคตในการอยู่อาศัยและทำมาหากินร่วมกันจะรับฟังแบบจำกัดในวงแคบไม่ได้ จึงควรมีการออกแบบระบบการรับฟังและให้ข้อมูลอย่างทั่วถึง และรัฐต้องให้ข้อมูลอย่างชัดเจนว่าพื้นที่ในผัง พ.ศ. 2600 ส่วนใดเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ร้ายแรงระดับไหน ก่อนที่จะนำไปใช้เป็นกรอบในการทำผังเมืองในระดับเมืองและชุมชน และควรทบทวนการที่จะนำผังประเทศและผังภาคมาบังคับใช้ตามกฎหมายให้เหมาะสมกับพื้นที่เป็นเรื่องๆไป แทนที่จะหว่านการบังคับไปหมดโดยไม่มีพื้นที่และมาตรการที่ชัดเจน โดยควรศึกษา กำหนดพื้นที่ที่ชัดเจนที่ควรบังคับตามกฎหมาย เช่น พื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ฟลัดเวย์ พื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นต้น ซึ่งขอบเขตพื้นที่เสี่ยงภัยไม่ได้จำกัดตามเขตปกครอง จึงควรมีการจัดทำแผนและผังที่มีมาตรการชัดเจน ส่วนระยะเวลาการบังคับใช้ก็ไม่ควรให้เนิ่นนานถึง 40 กว่าปี แต่ควรสอดคล้องกับระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่อยู่ราว 5 ปี

          ในบางเรื่องอาจต้องมีการควบคุมบังคับใช้มาตรการระยะยาว หรือตลอดไป เช่น พื้นที่อนุรักษ์ต้นน้ำ ก็ควรมีการศึกษากำหนดให้เหมาะสมเป็นเรื่องๆไป “ที่ผ่านมาการวางผังประเทศและผังเมืองแต่ละครั้ง จะมีการศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยประเภทต่าง ๆ ไว้ ได้แก่ ด้านอุทกภัย ดินถล่ม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง ธรณีพิบัติแผ่นดินยุบ วาตภัย การกัดเซาะชายฝั่ง พร้อมกับจัดลำดับความรุนแรงไว้เพื่อเป็นแนวทางต่อการวางผังระดับพื้นที่ ที่จะกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างเหมาะสม ตลอดจนเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม

          ทว่า ผลวิเคราะห์ดังกล่าวกลับไม่ได้ถูกเผยแพร่หรือเปิดช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ว่าได้ง่าย การนำไปใช้กำหนดมาตรการคุ้มครองก็ทำได้แบบไม่เต็มเต็มหน่วย 100% เมื่อบวกรวมกับการแทรกแซงของกลุ่มผลประโยชน์ และกฎหมายพัฒนาหลายฉบับที่ไม่ได้สอดคล้องกับแผนผังเมือง ย่อมทำให้พื้นที่เสี่ยงภัยกินอาณาเขตเพิ่มมากขึ้น

          ดังกรณีกฎหมายโรงไฟฟ้าอนุญาตให้ก่อตั้งในพื้นที่เกษตรกรรมได้ หรือแม้แต่มหาอุทกภัยอันดับ 4 ของโลก ที่เกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ในแบบพื้นที่เสี่ยงภัย น้ำไม่ไป เอาไม่อยู่ ” ในช่วงการเกิดมหาอุทกภัยและภัยพิบัติที่ผ่านมา

          มีการแลกเปลี่ยนความเห็นและข้อเสนอจากการประชุม สัมมนาในหลายที่ หลายกลุ่มต่อการปรับปรุงและจัดทำผังเมืองที่ป้องกันมิให้เกิดเภทภัยที่คร่าชีวิตประชาชนและสร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติ ได้แก่
          1.แนวทางการจัดการภัยพิบัติในผังประเทศ ผังภาค ควรมีการจัดทำผังพื้นที่เสี่ยงภัยให้ชัดเจน เช่น การกำหนดพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากและมาตรการในการใช้ที่ดินในจุดนี้ การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ต้นน้ำ การกำหนดพื้นที่กันชน การกำหนดระยะร่นถอย การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้างที่เหมาะสมกับพื้นที่เสี่ยงภัย จัดทำระบบพยากรณ์เตือนภัย และระบบฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย
          2.แนวทางการปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 3) โดยปรับให้รองรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ด้วยการส่งเสริมรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และกำหนดมาตรการเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ อาทิ การรักษาและปรับปรุงพื้นที่โล่งตามแนวถนน การปรับปรุงฟื้นฟูแม่น้ำ คูคลอง และมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่น้ำหลาก โดยใช้แนวทางตามพระราชดำริในการระบายน้ำจากทิศเหนือให้ลงสู่ทะเล ด้วยการพัฒนาคลองในแนวทิศเหนือ-ใต้ ส่วนแนวคลองระบายน้ำบางสายที่ยังไม่สามารถเชื่อมต่อถึงกัน จำเป็นต้องมีการดำเนินการสร้างความเชื่อมโยงที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น การขุดคลองระบายน้ำ การสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ หรือแม้แต่การสร้างถนนสำหรับระบายในภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น
           3.แนวทางอื่น ๆ ที่จะช่วยให้ประเทศไทยไม่ต้องพบกับสูญเสียในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างที่แล้วมา อาทิ ให้ความรู้ความเข้าใจในพื้นที่ Flood Plain พื้นที่ Floodway และพื้นที่เสี่ยงภัย ในการวางผังเมืองและการจัดการพื้นที่เสี่ยงภัย หรือมีแผนแม่บทการบริหารจัดการการใช้ที่ดินในพื้นที่น้ำท่วมถึง โดยยึดหลักธรรมาภิบาลให้มีความสมดุลของพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชน และพื้นที่อุตสาหกรรม มีการกำหนดพื้นที่เก็บน้ำชั่วคราวหรือเพิ่มพื้นที่แก้มลิง และควบคุมการขยายตัวของผังเมือง และยังควรมีกรรมาธิการในรัฐสภาที่ทำหน้าที่ด้านผังเมือง และยกฐานองค์กรด้านผังเมืองเพื่อช่วยกันทำงานแบบบูรณาการระหว่างผังเมืองและพื้นที่เสี่ยงภัย วางแผนแม่บทควบคุมการป้องกันน้ำท่วมโดยใช้สิ่งก่อสร้างในลุ่มน้ำต่าง ๆ พร้อมปรับปรุงระบบระบายน้ำท่วมให้มีประสิทธิภาพทั้งระบบ ควบคุมการสร้างระบบถนนในอนาคตที่ปิดกั้นทางน้ำท่วมไหลหลาก และออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการภัยพิบัติทั้งระบบ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการพิบัติภัยของรัฐ

          ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงข้อเสนอแนะ จากหลายฝ่าย ที่ยังไม่มีข้อสรุป ที่ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในวงกว้าง เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงผังเมือง และการกำหนดเพื่อป้องกันภัยพิบัติต่อไป และในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ภายใต้ประเด็นหลัก \"รับมือภัยพิบัติ จัดการภัยสุขภาวะ\" ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ มีการเสนอวาระเรื่อง “การจัดการภัยพิบัติที่ชุมชนเป็นศูนย์กลาง” ที่มีการเสนอร่างมติในเรื่องนี้ด้วย พร้อมร่วม

ติดตามข่าวสารรายละเอียดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ทาง www.samatcha.org.

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  35119

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง