Sub Navigation Links

webmaster's News

ชี้ดูดพิษจากแผลงูกัดเสี่ยงติดเชื้อ



ชี้ดูดพิษจากแผลงูกัดเสี่ยงติดเชื้อ



นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงฤดูฝนประชาชนอาจถูกสัตว์มีพิษกัดต่อยได้ เช่น ตะขาบ แมงป่อง โดยเฉพาะงู ซึ่งในแต่ละปีมีรายงานผู้ป่วยถูกงูพิษกัดประมาณ 7,000-10,000 ราย สธ.ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเตือนประชาชนและให้ความรู้ในการป้องกันตนเองจากอันตรายของสัตว์มีพิษ ทั้งให้โรงพยาบาลในสังกัดเตรียมสำรองเซรุ่มแก้พิษงูที่พบบ่อยในแต่ละภูมิภาค 7 ชนิด ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูแมวเซา งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้เ พื่อให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงที ลดการเสียชีวิต และขอแนะนำประชาชนให้หลีกเลี่ยงการเดินในบริเวณที่รกมีหญ้าสูง หรือเข้าป่าในเวลากลางคืน โดยเฉพาะตอนพลบค่ำ และเวลาที่ฝนตกปรอยๆ ที่ชื้นแฉะ ซึ่งเป็นช่วงที่งูออกหากิน หากจำเป็นควรมีไฟฉายส่องทางและใช้ไม้แกว่งไปมาให้มีเสียงดัง เพื่อให้งูหนีไปที่อื่น

นพ.ไพศาลกล่าวต่อว่า ประชาชนยังเข้าใจผิดว่า หากถูกงูกัดให้กรีดแผลใช้ไฟจี้แผล ใช้ปากดูดพิษงูออกจากแผลหรือพอกยา ซึ่งไม่มีประโยชน์ในการลดพิษและอาจทำให้ติดเชื้อได้ และไม่ควรทำการขันชะเนาะ เพราะเพิ่มความเสี่ยงเกิดเนื้อเน่าตาย รวมทั้งหากเป็นงูที่มีพิษต่อระบบประสาทผู้ป่วยอาจอาการแย่ลง จนเกิดภาวะหัวใจวายทันทีหลังคลายการขันชะเนาะได้ วิธีที่ถูกต้องคือ ขอให้ตั้งสติและสังเกตลักษณะของงู รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด หรือโทร.แจ้ง 1669 และล้างบริเวณที่ถูกงูกัดด้วยน้ำสะอาด เคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด ยกให้อยู่ในระดับต่ำกว่าหัวใจ อาจดามด้วยแผ่นไม้หรือวัสดุแข็งแล้วใช้ผ้าพันแผลยางยืดรัดให้แน่นและไม่จำเป็นต้องรอจับงูที่กัดมาด้วยเพราะเสียเวลา ซึ่งแพทย์สามารถให้การรักษาได้จากอาการและการสอบถามลักษณะง ูที่กัดจากผู้ป่วย.


ที่มา : ไทยรัฐ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  28th May 19

จำนวนผู้ชม:  35592

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง