Sub Navigation Links

webmaster's News

สมุนไพรสู้ฝุ่น



สมุนไพรสู้ฝุ่น



วันนี้ สุขภาพในมลภาวะทางอากาศกลายเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ทุกคนเริ่มให้ความสำคัญ และเอาใจใส่มากขึ้น เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับ  โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร  จัดเสวนาวิชาการ "สมุนไพร ทางออกประเทศไทย คลี่คลายมลพิษ" โดยมีวิทยากรผู้ร่วมเสวนา อาทิ รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ  ภญ.ดร.อัญชลี จูฑะพุทธิ ผู้อำนวยการ กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์ไทยฯ และ ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ หัวหน้าฝ่ายข้อมูลศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ดำเนินรายการโดย ภญ.ผกากรอง  ขวัญข้าว จากโรงพยาบาลเจ้าพระยา อภัยภูเบศร

นพ.สุทัศน์ เกริ่นถึงปัญหาฝุ่นจิ๋ว PM2.5 นั้นมีมานานแล้วเพียงแต่มา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง ทำให้มีการพูดถึงอย่างกว้างขวางใน ระยะหลัง อย่างไรก็ตาม แม้ในขณะนี้ปริมาณฝุ่นจะลดลง แต่ก็ไม่อาจวางใจได้ ตราบใดที่ยังไม่สามารถควบคุมปริมาณการใช้เครื่องยนต์ ทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ยานพาหนะ ตลอดจนถึงจำนวนผู้สูบบุหรี่ 10.9 ล้านคน

โดยมีผลวิจัยจากประเทศอิตาลี ที่ระบุว่า มีการสตาร์ทรถเครื่องยนต์ดีเซลทิ้งไว้ 30 นาที ปริมาณ ฝุ่นพิษที่มาจากท่อไอเสีย  เขม่ารถยนต์ น้อยกว่า ปริมาณควันที่มาจากการจุดบุหรี่ต่อเนื่องกัน 3 มวน ซึ่งปัจจุบันคนไทยสูบบุหรี่เฉลี่ยวันละ 10 มวน ต่อคนต่อวัน นั่นเท่ากับว่า บ้านเรามีจำนวนผู้สูบบุหรี่ถึง 100 ล้านมวนต่อวัน ปริมาณมลพิษจึงกระจายไปทั่ว และหากส่งผลต่อเด็ก สตรี คนชรา ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน มะเร็ง หัวใจ อัมพฤกษ์ หากได้รับมลพิษเป็นจำนวนมากอาจจะส่งผลเฉียบพลัน ถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ อาจถึงขั้นแท้งบุตร หรือเกิดมาในลักษณะผิดปกติ

"เคยมีการศึกษาประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะหากวันใดมีการเดินเครื่อง แม้จะมีการแจ้งประชาชนล่วงหน้าเพื่อใส่หน้ากากป้องกันก็ตาม แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ มีผู้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยโรคภูมิแพ้ หืด หวัด ปอดบวม ปอดติดเชื้อ สูงกว่าช่วงที่ไม่เดินเครื่อง ถึง 3 เท่า"

นอกจากนั้น นพ.สุทัศน์ กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่รัฐบาลประกาศให้ปัญหา ฝุ่นพิษ เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าแม้จะแก้ไขอย่างเต็มกำลังก็ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี เลวร้ายที่สุดอาจยาวนานถึง 20 ปี สำหรับมาตรการระยะสั้นที่อยากฝากไว้เป็นสูตร 4 ข้อคือ 1. รู้ไว คือ ตรวจเช็คปริมาณ ฝุ่นพิษจากแอพลิเคชันที่มีหลากหลายโดยตลอด เพื่อเตรียมรับมือหากค่าฝุ่นเกิน 100 2. ไม่เผา คือ ไม่เผาไร่ หญ้า ขยะ ตลอดจนถึงสูบบุหรี่ในที่ชุมชน ซึ่งจะก่อให้เกิดมลภาวะต่อส่วนรวม 3. เอาหน้า หมายถึงใส่หน้ากากป้องกันมลพิษ  ในวันที่มีปริมาณสูงเกินปกติ และ 4. รักษาสุขภาพ ออกกำลังกายในบ้านแทนกลางแจ้ง รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

ด้าน ภญ.อาสาฬา บอกว่า ในส่วนของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ขอแนะนำสมุนไพรเพื่อช่วยดูแลปอด ในตัวแรกคือ หญ้าดอกขาว เป็นยาล้างปอด ที่ใช้ต่อเนื่องกันมายาวนาน มีงานวิจัยระบุว่าสามารถลดการแพร่กระจายของ มะเร็งปอด สอดคล้องกับหมอยาพื้นบ้านที่ใช้ล้างมลพิษที่ค้างในปอด สามารถ ชงดื่มครั้งละไม่เกิน 2 กรัม 3 เวลา

ตัวที่สองที่แนะนำคือ ขมิ้นชัน ช่วยเพิ่มสมรรถภาพให้กับปอด และระบบทางเดินหายใจ โดยรับประทานครั้งละ 3 เม็ด 3 เวลา และควรรับประทานต่อเนื่องไม่เกิน 3 เดือน และให้หยุดพัก 1 เดือน ก่อนที่จะมาใช้ใหม่อีกครั้ง ตัวที่ 3.รางจืด ที่ใช้ล้างสารพิษ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเกิน 5 วันในหนึ่งเดือน ตัวสุดท้ายคือ มะขามป้อม สามารถรับประทานทั้งรักษาอาการไอ และเพื่อดูแลสุขภาพ มะขามป้อมจะเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง

ด้าน ดร. อัญชลี แนะนำเพิ่มเติม  ในส่วนของกรมการแพทย์นแผนไทยฯ  ก็มีทุนสนับสนุนการวิจัยสมุนไพรอีกเป็นจำนวนมาก จึงอยากให้ผู้สนใจสามารถเขียน โครงการเข้ามาขอได้ ซึ่งทางสำนักก็พร้อมให้การสนับสนุน เพื่อให้สมุนไพรไทย มีงานวิจัยรองรับ สามารถอ้างอิงได้ในอนาคต

ที่สุดนั้น การหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองเป็นลำดับแรกของแต่ละคนจึงมีความสำคัญ เพื่อทำให้เราลดความเสี่ยงในการที่จะใช้ชีวิตอยู่กับมลภาวะทางอากาศอย่างทุกวันนี้




ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  26th Feb 19

จำนวนผู้ชม:  35130

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง