Sub Navigation Links

webmaster's News

กินผักขมเข้าไว้เพื่อเลือดและน้ำดี



กินผักขมเข้าไว้เพื่อเลือดและน้ำดี



กินผักขมเข้าไว้เพื่อเลือดและน้ำดี
คอลัมน์ สมุนไพรแห่งรอยยิ้ม
ตรีสุคนธ์

พระคัมภีร์วรโยคสาร อันเป็นตำราหนึ่งของการรักษาโรคทางการแพทย์แผนไทยมาแต่โบราณ ได้ล่าวถึงการกินอาหารเพื่อเป็นยาและปรับธาตุในกายเพื่อสร้างสุขภาพดี พระคัมภีร์นี้กล่าวถึงรสอาหารไว้ 6 ประการ ดังนี้

มธุระรสหวานหนึ่ง : รสหวานชอบกับตา เจริญรสธาตุ

อัมพิละรสเปรี้ยวหนึ่ง : ทำให้ลม ดี (น้ำดี) เสลด อนุโลม ตาซึ่งตน เจริญรสอาหาร บำรุงไฟ

วรณะรสเค็มหนึ่ง : เผาโทษะ (ความเจ็บป่วย) เผาเขฬะ (น้ำลายเหนียว น้ำลายย้อย) เจริญไฟธาตุ

กฎกะรสเผ็ดร้อนหนึ่ง : ทำให้กำลังน้อย ระงับความเกียจคร้าน (เกิดความขยัน) ระวังมิให้ไฟธาตุเจริญ (ธาตุไฟมากทำให้ร้อนสูงเป็นบ่อเกิดของโรค) ทำให้อาหารสุก (เผาผลาญ)

กาสาวะรสฝาดหนึ่ง : เจริญไฟธาตุ เจริญผิวเนื้อ แก้กระหายน้ำ

ติดติกะรสขมหนึ่ง : ให้เจริญไฟธาตุ เจริญรสอาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ กระทำซึ่งมลทิน หมายถึงทำให้มูตรคูถบริสุทธิ์

ยาทั้งหกรสนี้ : ถ้าเสพชอบก็เป็นคุณ ถ้าไม่ชอบก็เป็นโทษหมอที่เก่งนั้นถึงประกอบ (ยา) รสหวานเป็นปฐม แล้วจึงประกอบรสเค็มเปรี้ยวเป็นท่ามกลาง และพึงประกอบรสทั้งปวง ตามผู้เสพชอบนั้นเกิด ดังที่ กล่าวว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา นั่นแท้แล้ว

เลือดชอบ(ยา) ขม : ตำราฉันทศาสตร์ไทยในแพทยศาสตร์สงเคราะห์ กล่าวถึงยาทั้งหลายทั้งสิ้นมีด้วยกันเก้ารส จงกำหนดอย่าคลาด ยารสฝาดชอบสมาน ยารสหวานซาบเนื้อ รสเมาเบื่อแก้พิษ-ดี (น้ำดี) เลือด ชอบขม เผ็ดร้อน ลมถอยถด เอ็นชอบรสมันหอมเย็นนั้นชื่นใจ เค็มซาบในผิวหนัง เสมหะยังชอบส้ม(รสเปรี้ยว)

ภาษาไทยจากบรรพบุรุษช่างอ่านได้ไพเราะและความหมายชัดเจน ควรสรรเสริญอย่างยิ่ง และจากภูมิปัญญาแห่งหมอพื้นบ้านก็กำหนดเอาพืชผักต่างชาตินานาพันธุ์ไว้เป็นยา ในที่นี้ขอเสนอ สมุนไพรรสขมที่หากันได้ง่าย รู้จักกันอย่างกว้างขวาง สำหรับใช้บำรุงเลือดและกระตุ้นน้ำดี แก้เลือดพิการ เจริญธาตุอาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำเช่น

เมล็ดกาแฟ : อดีตเมื่อกาแฟยังมีไม่แพร่หลายอย่างทุกวันนี้ หมอกลางบ้านจะใช้เมล็ดกาแฟสุกสีแดงจากต้น เด็ดเอามาสักสิบลูกทุบๆ แช่น้ำอุ่นทิ้งไว้หนึ่งคือ ก็นำมาจิบเป็นยาบำรุงประสาท ชูกำลังช่วยหัวใจเต้นเร็วขึ้น ในรายที่หัวใจเต้นช้า (หัวใจเต้นช้าไม่ใช่โรคแต่เป็นการทำงานของระบบหัวใจที่เต้นช้า หมอบอกไม่มีอันตรายใด)

ขี้เหล็ก : เรียกว่าขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหวาน ใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ใบ ดอก ฝัก รสขมกินได้ทั้งใบสดและต้มสุก ต้มจิบน้ำ เป็นน้ำยาบำรุงเลือด ถ่ายพรรดึกที่นานๆ ขับถ่ายครั้งหนึ่งลักษณะเป็นก้อนขี้แพะโบราณใช้ทั้งใบ และดอกสีเหลือง ดองเหล้าขาวจิบก่อนนอนเป็นยาช่วยนอนหลับที่ดีทั้งเป็นยาถ่ายกระษัยเส้น แก้เส้นเอ็นตึง แก้ไข้เพื่อน้ำดี ขับเลือดลมในแม่ลูกอ่อน

เซียนพนันตามชนบทโบราณ ตัดเอาใบขี้เหล็กหนึ่งยอดพกติดกระเป๋าก่อนเข้าเสี่ยงโชค เชื่อว่าจะแทงน้ำเต้าปูปลาไก่กุ้งตัวใดก็ได้ดั่งใจเสมอ เป็นเคล็ดพ้องเสียงจากขี้เหล็กคือเหล็กกล้าทำอาวุธฟาดฟันได้เฉียบขาด ใบแก่ ต้ม พอเดือดสำหรับสระผม ขจัดขี้รังแค รักษาแผลชันตุ

สะเดาะ : ดอกสะเดาหวาน สะเดาขม สมุนไพรตามฤดูกาผลิดอกออกช่อในหน้าหนาวกินเป็นอาหารกันทั้งประเทศ ประโยชน์มีมากมาย ดอกรสขมกินบำรุงเลือด รักษาอาการมีตุ่มคันในคอ โบราณเรียกโรคริดสีดวงเม็ดยอดคันในลำคอ ใบและยอดอ่อน หาได้ทุกฤดูกาลจะกินเป็นผักสด หรือจะใช้ลวกกินเป็นอาหารหรือจิบน้ำต้มนั้นเป็นยาเพื่อบำบัดอาการต่อมน้ำเหลืองพิการ แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ในกองเสมหะ บำรุงน้ำดี เจริญธาตุทั้งสี่ดินน้ำลมไฟ แก้ร้อนใน

เมล็ดอ่อนเก็บมาตากให้แห้งบดพอแตกกับกล้วยน้ำว้าดิบผสมน้ำผึ้งปั้นเม็ดกินเป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ปวดท้อง ป้องกันน้ำดีพิการ เมล็ดแก่ แช่น้ำสะอาดพอยุ่ยใช้ราดพื้นดิน ป้องกันการเกิดแมลงวัน ยุง เห็บและแมลง

ผักกาดดำ : ผักพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ผักกาดอย่างที่เห็นทั่วไป ไม่ใช่ผักกาดเขียวปลีหรือผักกาดกวางตุ้ง แต่เป็นผักกาดต้นใหญ่สูง ได้ถึงครึ่งเอว ใบบางขนาดใหญ่ ดอกสีเหลืองเหมือนกวางตุ้ง ใช้ทำผักกาดดองได้อร่อยมากๆ แกงคั่วกับหมูให้รสชาติเข้ากันได้ดี เลิศรสของแกงหมูปนรสขมหวานและหอมกลิ่นผักกาดดำ บำรุงร่างกายและจิตใจได้เป็นหนึ่งเดียวกัน

สรรพคุณทางยา : ผักกาดดำจัดเป็นยารสขมหอมเย็น ขับพิษร้อนในกาย ขับพิษไข้หัว ดับพิษเลือดให้เย็น บำรุงเลือด แก้ไอมีเลือด แก้ปากเมื่อย สมดุลธาตุ นำมาทั้งต้นต้มกับมะขามป้อมดื่มแก้หวัดไอเจ็บคอ ขับปัสสาวะ

มะแว้ง : พื้นบ้านภาคเหนือเรียก มะแขว้งขม กินกับตำเตา เตาคือสาหร่ายน้ำจืดชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นใยยาวๆ สีเขียวเข้ม ปรุงอาหารพื้นบ้านช้อนจากน้ำสดๆ ขึ้นจากบ่อเลยทันทีสดรสจืด  ปรุงอาหารก็อาศัยรสชาติจากพริกเกลือข่าหอมกระเทียมน้ำปลาร้า จิ้มด้วยข้าวเหนียวแกล้มกับมะแขว้งขม เมนูโปรดปรานของสมาชิกบ้านท้ายสวนแทบทุกคนยกเว้นอะฮั้นเจ้าค่ะ

มะแว้งหรือมะแขว้งขมมีทั้งชนิดต้นแ ละชนิดเครือหรือเถาเลื้อย เป็นยารสขมขื่นเปรี้ยว บำรุงเลือด แก้ไอเจ็บคอ ป้องกันเกิดเบาหวาน ปัจจุบันมีมะแว้งผงชงน้ำอุ่นกินลดน้ำตาลในเลือด หมอกลางบ้าน ใช้มะแว้งทั้งสองชนิด ตากแห้งตำกับมะขามป้อม มะกอกป่า กล้วยน้ำว้าสุห่าม เกลือทะเลเล็กน้อยปั้นเป็นก้อนกินแก้ไข้หวัด กัดขับเสมหะ

มะระขี้นก : ชื่อพื้นบ้านว่ามะห่อมมะไห่ จัดเป็นยารสขมหวาน หมอกลางบ้านใช้เป็นยากระตุ้นให้อยากกินอาหาร บำรุงเลือด ขับลม แก้เสียดท้อง ขับพยาธิเข็มหมุด ดอกสีเหลืองต้มน้ำกินรักษาคออักเสบกับผู้ป่วยโรคหืดหอบช่วยให้หลับสบายด้วยมะระขี้นกดิบสีเขียว คั้นเอาน้ำผสมดินสอพอง พอกแก้อาการคันผิวหนังและแผลชันตุบนหนังศีรษะ

ทั่วโลกจะรู้จักมะระขี้นกในชื่อมะระอินเดีย แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาอาการไข้หวัด คออักเสบ ไอและไล่เสมหะใช้ปรุงเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น น้ำปั่นมะระ ส่วนประกอบมีดังนี้ มะระ (อินเดีย) หนึ่งลูก ต้มพอสุก ปั่นร่วมกับเนื้อแตงโม และแอปเปิลครึ่งผล เติมน้ำสะอาดพอดีๆ ดื่มวันละแก้วในตอนเช้า เชื่อว่าเป็นอาหารที่ดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

โบราณว่า ถ้าได้กินอาหารรสขมบ้างในแต่ละวันเท่ากับได้รดน้ำพรวนดินแก่ร่างกายและจิตใจให้เจริญเติบโตอย่างงดงาม

ที่มา : สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th Nov 18

จำนวนผู้ชม:  37178

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง