Sub Navigation Links

webmaster's News

ผู้ป่วยเอดส์-วัณโรค โลกรู้สิทธิบัตรทอง



ผู้ป่วยเอดส์-วัณโรค โลกรู้สิทธิบัตรทอง



การประชุมภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่า ด้วยเรื่อง "โรคเอดส์ วัณโรค ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : ประสบการณ์ ความท้าทาย และทางออก" ที่โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ เมื่อเร็วๆนี้

ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ จาก UNAIDS, ไจก้า, องค์การอนามัยโลก, กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพ และ...ผู้เชี่ยวชาญจากทุกประเทศในอาเซียนเข้าร่วมหารือถึงแนวทางที่จะสร้าง "หลักประกันสุขภาพ" ให้คนในอาเซียนได้ครอบคลุมเช่นประเทศไทย เพื่อต่อต้านการติดเชื้อ "วัณโรค" และ "เอชไอวี" ที่เป็นภัยคุกคามข้ามพรมแดน โดยเฉพาะมีผู้ป่วยด้วยโรควัณโรคและเอชไอวีในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

กาญจนา ภัทรโชค ตัวแทนกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศบอกว่า เป้าหมายการหารือในวันนี้จะนำไปสู่การมีปฏิญญาสากลในการต่อต้าน "วัณโรค" และ "เอชไอวี" ขณะที่ในวันที่ 12 ธันวาคมทุกปี...วันหลักประกันสุขภาพโลกจะนำผลหารือครั้งนี้ ไปกำหนดแนวทางสร้างเสริมสุขภาพซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพที่จะไม่เน้น "การรักษา" แต่จะเน้น "การป้องกัน" แทน

เอียมอน เมอร์ฟีร์ ผู้อำนวยการระดับเอเชียแปซิฟิก โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) เสริมว่า ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยเป็นที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถลดข้อจำกัดของการรักษาโรค โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางของสังคมแม้แต่นักโทษในเรือนจำก็ได้รับการรักษาโรคที่เหมาะสม แม้ว่าผู้ติดเชื้อวัณโรคจะยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่...น่ายินดีที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

ความต่อเนื่องที่ผ่านมา ทำให้ "บัตรทอง" ไม่ได้เป็นของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งเท่านั้น แต่เกิดจากการส่งไม้ต่อความร่วมมือเป็นระยะเวลานานกว่า 17 ปี จนทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ และทั่วโลกก็ให้การชื่นชม...นอกจากนี้ความสำเร็จอีกข้อก็คือการเริ่มกำหนดนโยบายจาก "รากหญ้า" ขึ้นสู่ด้านบน

ไม่ใช่นโยบายแบบบนลงล่างหรือจากส่วนกลางสั่งลงมาเหมือนกับนโยบายอื่น ทำให้ "หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" เป็นของประชาชนจริงๆ...มีหลายข้อที่นานาชาติสามารถเรียนรู้จากประเทศไทย

"ไทย...ถือว่าเริ่มต้นจากศูนย์ แต่สามารถขยายสิทธิประโยชน์และพัฒนาให้ดีขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งไทยเคยมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงเป็นลำดับต้นๆของโลก แต่เมื่อทุกฝ่ายนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาปรับใช้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็ทำให้ผู้ป่วยลดลงอย่างเห็นได้ชัด"

นี่คือ "การลงทุน" ที่คุ้มค่าซึ่ง...นานาชาติควรเรียนรู้จากประเทศไทย

นพ.พีระมน นิงสานนท์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการฯ สปสช. หนึ่งในวิทยากร บอกว่า การดูแลผู้ป่วยเอดส์...วัณโรคภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพหลังจากที่เรานำโครงการยาต้านไวรัสเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพเมื่อกว่าสิบปีก่อน พบว่าจำนวนของคนไข้ที่เข้าถึงบริการสูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนเข้าสู่ระบบหลักประกัน

น่าสนใจว่า...คุณภาพการรักษาพยาบาลที่เราควบคุมโดยใช้ระบบใหญ่เช่นการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ.. .แพทย์ผู้ให้บริการ ทำให้คุณภาพการรักษาพยาบาลดีขึ้นด้วย สิ่งสำคัญที่สุดเราได้งบประมาณแยกจากเหมาจ่ายรายหัวมาโดยตลอดสำหรับผู้ป่วยเอดส์และวัณโรค จึงไม่เบียดบังจากงบเหมาจ่ายรายหัว

ทว่า...ก็ยังมีช่องว่างอยู่คิดว่าเราต้องพัฒนาโดยเฉพาะเรื่องของการเข้าถึงยา ผู้ป่วยต้องรับยาอย่างต่อเนื่องในระยะยาว บางครั้งผู้ป่วยก็อาจจะละเลยการกินยาไป ทำให้เกิดการดื้อยาในอนาคต เราจึงต้องร่วมมือกับหลายภาคส่วนทั้งกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขเครือข่ายผู้ติดเชื้อในแง่การกำกับการกินยาเพื่อลดการดื้อยา

ไฮไลต์สำคัญในวันนี้ก็คือเรื่องของ "วัณโรค" ยังคงเป็นปัญหาหลักของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นคนติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ จะเป็นวาระสำคัญต่อไปในการดูแล มีบทบาทจะทำอย่างไรให้ภาพรวมลดลง

"ปีหน้ามีกระบวนการเข้าไปคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น ผู้ต้องขังพุ่งเป้าไปที่กลุ่มเ ป้าหมายกลุ่มหลักที่มีการติดเชื้อวัณโรคอย่างเข้มข้นมากขึ้น"

ท่ามกลางกระแสวิพากษ์ "หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" เป็นโครงการที่สิ้นเปลืองงบประมาณ อภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย มองว่า ระบบสุขภาพในประเทศไทยเราต้องมุ่งไปในทิศทางเดียวเพื่อ "ลดความเหลื่อมล้ำ"...และ... "สร้างความเป็นธรรม"

ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนสำคัญถึงแม้ว่ามี 3 กองทุนรองรับแต่ก็อยากเห็นระบบสุขภาพที่เป็นระบบเดียวมาตรฐานเดียว และกองทุนเดียวเพราะทั้งหมดมาจากเม็ดเงินภาษีประชาชน การที่มีระบบเดียวจะช่วยประหยัดทรัพยากร ทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้รัฐเองได้ใช้เม็ดเงินอย่างสมเหตุสมผล

ไม่ทำให้ถูกบริหารงบแบบบานปลาย โดยใช้หลักการ "เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข" ขณะเดียวกันระบบสุขภาพระบบเดียวมาตรฐานเดียวยังเป็นเรื่องหนึ่งที่รัฐเองก็ต้องเปลี่ยนมุมคิดว่านี่ไม่ใช่ภาระ "งบประมาณ" หากแต่รัฐมีหน้าที่จัดบริการให้เกิด "สิทธิ" นั้น...อย่าคิดว่า "ประชาชน" เป็นภาระ

"การลงทุนเรื่องสุขภาพเป็นการลงทุนที่สมเหตุสมผลและคุ้มค่าอย่ามองว่าระบบหลักประกันเป็นภาระของประเทศแต่เรื่องสิทธิประชาชนกำลังช่วยกันสร้าง สร้างแล้วรัฐมีหน้าที่บริหารจัดการให้เกิดสิทธินั้น...ประชาชนต้องบอกว่ารัฐโปรดพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง"

เดินหน้าตามนโยบายประเทศไทย... "ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง"

สถานการณ์ "เอดส์" ประเทศไทยวันนี้เราตั้งเป้าหมายที่จะยุติปัญหาด้วยกันทั้งหมด 3 ด้าน หนึ่ง...ภายในปี 2573 ต้องทำให้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่ำกว่า 1,000 รายให้ได้ ซึ่งปัจจุบันนี้เรายังอยู่ที่ 6,000-7,000 กว่าราย

การยุติปัญหาแปลว่า...เราต้องทำให้การติดเชื้อรายใหม่ต่ำกว่าเป้าเป็นสิ่งที่ประเทศเรากำลังท้าทายในเรื่องที่หนึ่งเรื่องที่สอง...เรามีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีที่รู้สถานะแล้วอยู่ในประเทศ 5 แสนกว่าคน และเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้าน...ระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุน ข้าราชการ ประกันสังคม บัตรทอง อยู่ที่ 3 แสนนิดๆ

สิ่งที่ท้าทายลำดับต่อมาก็คือว่า...ผู้ติดเชื้อที่เหลืออยู่ที่ไหน?เราต้องช่วยกันสื่อสารว่าให้รีบมารักษาไม่ต้องรอให้ป่วยเป็นโรคเอดส์ติดเชื้อทันทีรักษาทันทีคุณจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือน กับตอนที่ไม่มีเอชไอวี

โจทย์ท้าทายถัดมาก็คือเรื่องของ "ทัศนคติ" เราจะต้องลดเรื่องการตีตราและการถูกเลือกปฏิบัติ...พูดง่ายๆว่า "ตราบาป" หรือการตีตราจากภายนอกยังเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากสำหรับประเทศเรา

"คนที่ติดเชื้อเอชไอวีแล้วก็อาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะเดินเข้ามารับการบริการ กังวลว่าจะกระทบกับงานไหม ความลับจะเป็นความลับไหมแล้วฉันจะได้รับบริการแบบไหนยังไง...ยังอยู่ในวังวนแบบนี้ค่อนข้างเยอะ ฉะนั้นเราต้องช่วยกันสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เรื่องเอดส์เป็นเรื่องธรรมดาจริงๆ...ติดเชื้อก็เดินมารักษา"

ระบบรองรับ สิทธิประโยชน์สำหรับคนไข้มีพร้อมแต่ไม่ใช่เรื่องง่าย...จากเงื่อนปัญหาทางสังคมข้างต้นที่กล่าวไปแล้วเป้าหมายในปี 2573 ต้องเดินไปให้ถึงให้ได้อย่างที่ตั้งหวังแปลว่าเราจะไปถึงทั้งสามด้านได้ เรื่อง "เอดส์" จะไม่ใช่เรื่องของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การมีส่วนร่วมของผู้ติดเชื้อในการที่จะแก้ไขปัญหานี้ ยุติปัญหานี้ด้วยกัน อภิวัฒน์ ฝากไว้ว่า..."ต้องมีบทบาทในการมีส่วนร่วมร่วมกันเดินหน้าไปด้วยกัน อย่าหวังให้เพียงแต่ระบบทำหน้าที่เพียงลำพัง...อาจจะยังไปได้ไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้"

ความสำเร็จโครงการ "บัตรทอง" มาจากพลัง "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"...ขับเคลื่อนเรื่องที่ยากและซับซ้อนให้เกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะต้องผ่านร้อนผ่านหนาวทางการเมืองมาหลายรัฐบาลแต่นโยบายนี้ก็ยังคงอยู่โดยที่คุณภาพไม่ได้ด้อยไปกว่าเดิม.

"คนที่ติดเชื้อเอชไอวีแล้วก็อาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะเดินเข้ามารับการบริการ กังวลว่าจะกระทบกับงานไหม ความลับจะเป็นความลับไหม แล้วฉันจะได้รับบริการแบบไหนยังไง...ยังอยู่ในวังวนแบบนี้ค่อนข้างเยอะ ฉะนั้นเราต้องช่วยกันสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เรื่องเอดส์เป็นเรื่องธรรมดาจริงๆ...ติดเชื้อก็เดินมารักษา"

ที่มา : ไทยรัฐ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  10th Sep 18

จำนวนผู้ชม:  35208

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง