Sub Navigation Links

webmaster's News

ทางรอดจากยาฆ่าหญ้า



ทางรอดจากยาฆ่าหญ้า



ว่ากันว่า พาราควอต หรือ ที่คนไทยเรียกว่า ยาฆ่าหญ้า ซึ่งมีชื่อทาง การค้าว่า กรัมม็อกโซน มีการใช้ทางการเกษตรมาหลายสิบปี ทั้งๆ ที่รู้ว่า เป็นสารเคมีที่มีพิษต่อร่างกายและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีผลเสียมากกว่าผลดี  รัฐก็ยังไม่ประกาศยุติการใช้ รวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรก็พยายามผลักดันให้มีการใช้อย่างต่อเนื่อง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศประกาศห้ามใช้สารเคมีชนิดนี้ และอีกหลายประเทศควบคุมการใช้ รวมถึงประเทศ ที่ไม่สนับสนุนการใช้ ยกตัวอย่าง อังกฤษเป็นประเทศที่ริเริ่มการผลิตพาราควอต เมื่อ50 ที่แล้ว  ต่อมาบริษัท Syngenta ในสวิส ซึ่งเป็น ผู้ผลิตและจำหน่ายรายใหญ่ของโลก ทั้งสองประเทศประกาศเลิกใช้พาราควอตแล้ว ปัจจุบันผู้ส่งออกรายใหญ่ที่ส่งไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก ก็คือ จีน  ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุข เกษตรฯ และอุตสาหกรรม เห็นควรให้ระงับการใช้สารพาราควอต ภายใน 2 ปี พร้อมกับให้มีการหาสารตัวอื่นมาทดแทน แต่ต้องส่งข้อสรุปนี้ไปยัง "คณะกรรมการวัตถุอันตราย" ผู้มีอำนาจตัดสินใจชี้ขาด และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2560 ทะเบียนพาราควอตหมดอายุลง ทำให้มีความเคลื่อนไหวของ ผู้เสียประโยชน์เพื่อที่จะต่ออายุทะเบียนและไม่ให้มีการแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้  ดังนั้นเครือข่ายประชาชนด้านเกษตร คุ้มครองสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม จึงได้ รวมตัวกันในนาม "เครือข่ายสนับสนุน การแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง" เพื่อแสดงเจตนารมณ์และสนับสนุนมติของกระทรวงสาธารณสุข ยื่นหนังสือให้รัฐพิจารณาแบน "พาราควอต" สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตรายที่เลิกใช้แล้วใน 48 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศที่เป็นผู้ผลิตพัฒนา เหตุพบมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ระบบประสาท มีการตกค้างปนเปื้อนในแหล่งน้ำ และส่งผลต่อเกษตรกรที่ใช้สารโดยตรง นอกจากนี้ทาง Change.org ยังร่วม รณรงค์ เรื่องหยุดต่อทะเบียนสารเคมีอันตรายพาราควอต-คลอร์ไพริฟอส และจำกัดใช้ไกลโฟเซต เพื่ออาหารปลอดภัย  เนื่องจากพาราควอตมีความเป็นพิษสูง และปัจจุบันยังไม่มียาถอนพิษ โดยสารพิษชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว หากคนๆ นั้นมีแผลบนผิวหนังเวลาฉีดพ่นสารชนิดนี้ หรือแผลจากการเผาไหม้ที่เกิดจากพาราควอต

ในงานวิจัยที่มีการสังเคราะห์ข้อมูลจากงานศึกษา 104 ชิ้น ของ Gianni Pezzoli และ Emauele ยืนยันว่า พาราครอตมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน และยังเป็นสาเหตุให้เกิดอาการหนังเน่าในเกษตรกร โดยมีตัวอย่างมากมายในพื้นที่เกษตร ณ ปัจจุบัน จากรายการสหภาพยุโรป คนที่สัมผัสพาราควอตจากการเครื่องพ่นแบบสะพายหลังว่า สูงมากกว่าระดับมาตรฐาน (AOEL) 3 ถึง 60 เท่า กรณีสวมอุปกรณ์ป้องกัน และเกิน 100 เท่า หากไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกัน หากถามว่า มีทางเลือกอื่นในการใช้สารทดแทนพาราควอตไหม งานวิจัยของคณะเกษตรและสถาบันวิจัยและพัฒนา ม. เกษตรฯ กำแพงแสนในปี 2555 พบว่า มีวิธีการควบคุมวัชพืชที่มีต้นทุนต่ำที่สุด คือ  การใช้จอบหมุนติดท้ายรถแทรกเตอร์  24 แรงม้าในการกำจัดวัชพืชระหว่าง แถวอ้อย และใช้วิธีนี้ร่วมกับการใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้อ้อยมีผลผลิตที่ดี รวมทั้งการปลูกถั่วพุ่มแซมระหว่างแถวอ้อย  ช่วยควบคุมวัชพืชทดแทนการใช้สารเคมี กำจัดวัชพืชได้ สำหรับเกษตรกรที่ยังจำเป็นต้องใช้ สารเคมีกาจัดวัชพืช กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ สารกลูโฟซิเนต-แอมโมเนียมแทน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ UPM (Universiti Putra Malaysia) ในมาเลเซียที่พบว่า สารเคมีชนิดอื่น มีประสิทธิภาพ ในการกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มดีกว่า พาราควอต แม้ว่ากลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม จะมีราคาแพงกว่าพาราควอตประมาณ 4-5เท่า แต่ปริมาณการใช้น้อยกว่าหลายเท่า

นี่เป็นเหตุผลบางส่วนที่ควรเลิกใช้ พาราควอต

หมายเหตุ : ขูอมูลส่วนหนึ่งจากเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

พิจารณาแบน "พาราควอต" สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตราย ที่เลิกใช้แล้วใน 48 ประเทศ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  25th Apr 18

จำนวนผู้ชม:  35482

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง