Sub Navigation Links

webmaster's News

สร้างพื้นที่เรียนรู้...เล่นอย่างมีสุขภาวะ จุดประกายเด็กน้อยสู่พลังของชาติ



สร้างพื้นที่เรียนรู้...เล่นอย่างมีสุขภาวะ จุดประกายเด็กน้อยสู่พลังของชาติ



บทความพิเศษ: สร้างพื้นที่เรียนรู้...เล่นอย่างมีสุขภาวะ จุดประกายเด็กน้อยสู่พลังของชาติ
กลุ่มงานสื่อสารสังคม
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

ถ้า "เด็กคืออนาคตของชาติ" คำถามก็คือ ช่วงที่ผ่านมา ผู้ใหญ่ได้ใส่ใจและส่งเสริม ให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างถูกทิศทางหรือไม่? ขณะที่ทุกภาคส่วนกำลังตั้งหลักและหันกลับมา ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ โดยเฉพาะเด็ก ในช่วงปฐมวัยหรืออนุบาลและวัยประถมศึกษา ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาสำคัญสุดในชีวิต
          
"การพัฒนาพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษา" เป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 พ.ศ.2560  ที่ทุกภาคส่วนร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ในการพัฒนากลไก เครื่องมือ และพื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ นับเป็นของขวัญปีใหม่ที่ดี ชิ้นหนึ่งสำหรับเยาวชนตัวน้อยๆ
          
นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ รองประธานคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุมคณะที่ 1 ชี้ว่า มตินี้จะส่งเสริมให้เด็กไทยมีพื้นที่เรียนรู้อยู่ในทุกลมหายใจ และเกิด "ทักษะชีวิต" ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่สาธารณะหรือสวนสนุกเพียง อย่างเดียว แต่ทุกๆ แห่งสามารถเป็นพื้นที่เล่นได้ โดยมุ่งให้ทุกภาคส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแผนงานระดับชาติไปจนถึงระดับพื้นที่
          
รวมถึงมีข้อเสนอให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น ร่วมกับสถาบันการศึกษา และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จัดทำมาตรฐานความปลอดภัยของพื้นที่เล่นของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
          
ประเด็น "ความปลอดภัยและ การบาดเจ็บในเด็ก" รวมถึง โรคติดต่อ ที่อาจเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่เล่นของเด็ก เป็นหนึ่งปัญหาหนักใจของผู้ปกครอง จึงมอบให้ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ ฯลฯ ร่วมกันจัดทำ ระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยทาง สุขภาวะ ทั้งระดับพื้นที่และระดับประเทศ
          
"หัวใจสำคัญ อยู่ที่การปรับทัศนคติของพ่อแม่ ครู และท้องถิ่นต่างๆ ให้เข้าใจถึงความสำคัญของพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะ ทางกาย จิต ปัญญา และสังคม เพื่อให้เกิดมองมุมใหม่ว่า พื้นที่เล่นไม่ใช่ สนามเด็กเล่น แต่เป็นพื้นที่เล่นที่ ทำได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ปรับเปลี่ยนได้ตามบริบท บำรุงรักษาได้เองในชุมชน เฝ้าระวังได้ง่าย ที่สำคัญเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เล่นอย่างสร้างสรรค์
          
เมื่อทุกฝ่ายเห็นภาพตรงกันแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการหารือร่วมกันของ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพทั้ง 77 จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวาง "มาตรฐานกลาง" ของพื้นที่เล่นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อให้แต่ละชุมชนหรือจังหวัด นำไปปรับใช้ตามบริบทจริงๆ ซึ่งพื้นที่เล่น แต่ละแห่งอาจไม่จำเป็นต้องมีหน้าตาเหมือนกัน
         
"มาตรฐานกลาง ไม่ได้หมายถึงโครงสร้างที่กำหนดวัสดุตายตัว แต่มีทางเลือกของวัสดุที่หาได้จากท้องถิ่น อาทิ หากพื้นเป็นทราย ก็ต้องมีความหนาไม่ต่ำกว่า 1 ฟุต ไม้ที่ใช้ประกอบต้องเป็นไม้ที่มีตาน้อย มีเนื้อไม้แข็งแรง เพื่อให้ทนแดดทนฝน เพราะต้องตั้งอยู่กลางแจ้ง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเหล็ก หรือเป็นพลาสติกเนื้อแข็งที่ต้องสั่งซื้อ ราคาแพงจากต่างประเทศเสมอไป"
          
ข้อสังเกตและความห่วงใยของ อาจารย์ชฎาพร สุขสิริวรรณนักวิจัยจากศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กโรงพยาบาลรามาธิบดี คือ การขับเคลื่อนเรื่องนี้ ไม่ควรเป็นเพียงการทุ่มงบประมาณสร้างสนามเด็กเล่น หรือซื้อเครื่องเล่นในพื้นที่ เพราะการเล่นของเด็กคือการเรียนรู้ แม้แต่ใบไม้ใบเดียวก็ทำให้เด็กเข้าใจเรื่องราวต่างๆ มากมาย
          
ดังนั้น พื้นที่เล่นคือพื้นที่สร้างการเรียนรู้ อย่างแท้จริง ทำให้เด็กมีวินัย รู้จักกฎกติกาอยู่ร่วมกับคนอื่น
          
"หากเล่นในบ้าน พ่อแม่ผู้ปกครองต้องสละเวลาอยู่กับลูก เพื่อคอยเฝ้ามองและสอนให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งนั้นๆ ในโรงเรียนต้องมีครูคอยดูแล ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ลำพัง ไม่เช่นนั้นการเรียนรู้ของเด็กอาจไม่เกิดขึ้น เพราะบางเรื่องผู้ใหญ่ต้องคอยช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ด้วย จึงจะได้ผล"
          
ความสุขของเด็กๆ คือช่วงเวลาสำคัญ ที่ผู้ใหญ่จะช่วยกันรังสรรค์ให้เกิด สิ่งดีๆ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10 "การพัฒนาพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษา" เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยในการบรรลุถึง เป้าหมาย แต่สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่การ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนมตินี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่พื้นที่ๆ ทำอย่างเล่นๆ อีกต่อไป

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  2nd Feb 18

จำนวนผู้ชม:  35226

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง