Sub Navigation Links

webmaster's News

สธ.ชี้ 9 อาการป่วยโรคซึมเศร้า



สธ.ชี้ 9 อาการป่วยโรคซึมเศร้า



เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ในปี 2020 หรือ พ.ศ.2563 โรคซึมเศร้าจะเป็นสาเหตุการสูญเสียปีสุขภาวะสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจหลอดเลือด โดยวัดจากปีสุขภาวะที่สูญเสียไปจากโรคและการบาดเจ็บของประชากร (Disability-Adjusted Life Years-DALYs) จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับประเทศไทยถือเป็นปัญหาที่เฝ้าจับตามองอันดับ 4 เป็นเรื่องที่สังคมต้องให้ความสำคัญ เพราะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้หากมีอาการรุนแรงจะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรือมีชีวิตคล้ายคนพิการทางสมอง ไม่สามารถทำงานได้

"สธ.ได้เร่งแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด โดยกรมสุขภาพจิตได้ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคนี้แก่ประชาชน และเพิ่มการเข้าถึงบริการต่างๆ ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถเข้าถึงบริการได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 50" นพ.เจษฎากล่าว

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัด และโฆษก สธ.กล่าวว่า ในผู้ที่เริ่มมีอาการซึมเศร้า จะสามารถสังเกตตนเองได้ แต่หากมีอาการรุนแรง ครอบครัว ผู้ใกล้ชิด จะต้องช่วยกันสังเกตว่า มีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ 1.มีอารณ์ซึมเศร้า 2.ความสนใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก 3.น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก 4.นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป 5.กระวนกระวายอยู่ไม่สุขหรือเชื่องช้าลง 6.อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง 7.รู้สึกตนเองไร้ค่า 8.สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด 9.คิดเรื่องการตายหรือคิดอยากตาย หากพบอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ หรือมีอาการ 5 ข้อหรือมากกว่า เป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และมีอาการตลอดเวลา แทบทุกวัน หมายถึงมีภาวะซึมเศร้า ควรได้รับบริการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือพบแพทย์เพื่อการบำบัดรักษา ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

นายธีร์ ภวังคนันท์ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน (ฉก.ชน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า ในส่วนของ ศธ.ไม่มีข้อมูลเด็กที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะ แต่ ฉก.ชน.ได้ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ สำรวจตัวเลขเด็กที่มีภาวะทางจิตเวช ข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน 2560 พบว่า มีเด็กที่มีภาวะทางจิตเวช อาทิ เด็กสมาธิสั้น โรคออทิสติก รวมถึง โรคซึมเศร้า จำนวน 76,710 ราย มีรายงานเด็กฆ่าตัวตาย 3 ราย แต่ไม่มีการระบุสาเหตุที่ชัดเจน

ที่มา : มติชน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  8th Jan 18

จำนวนผู้ชม:  35013

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง