Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ ส่องสถานการณ์: วิวาทะเรื่องอีเอ็มบอล



คอลัมน์ ส่องสถานการณ์: วิวาทะเรื่องอีเอ็มบอล



โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

          นพ.วิชัย โชควิวัฒน กรรมการสุขภาพแห่งชาติ ขณะ ที่ประชาชนพากันสิ้นหวังกับการแก้ปัญหาน้ำท่วม อีเอ็มบอลกลายเป็นความหวังเล็กๆ กับการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย ทำให้มีการปั้นลูกอีเอ็มบอลกันขนานใหญ่ในศูนย์พักพิงหลายแห่ง และมีการนำไปใช้จนนายกรัฐมนตรีก็เอาไปหย่อนลงน้ำด้วย แต่แล้วกระแสอีเอ็มบอลก็ต้องชะงัก เมื่อ ธงชัย พรรณสวัสดิ์นักรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาเบรกว่าอีเอ็มบอลน่าจะไม่ได้ผล ซ้ำร้ายอาจจะทำให้น้ำเน่าเสียเพิ่มขึ้น

       &nbs p;  คำทักท้วงของนักวิทยา ศาสตร์ระดับดอกเตอร์อย่าง ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ใครๆ ก็ต้องรับฟัง นอกจากเพราะประวัติผลงานที่มีมาต่อเนื่องยาวนานแล้ว เหตุผลก็ฟังดูมีน้ำหนักโดย ธงชัย อธิบายว่า ลูกอีเอ็มบอล ปั้นจากหัวเชื้ออีเอ็มกับรำข้าวและกากน้ำตาล จะไปทำให้น้ำหายเน่าเสียได้อย่างไร ยิ่งกว่านั้นรำข้าวและกากน้ำตาลเป็นอินทรียวัตถุมีแต่จะทำให้น้ำเน่าเสียยิ่งขึ้น ที่สำคัญประเทศที่เจริญแล้วอย่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาก็ไม่เคยแนะนำให้ใช้ อีเอ็มบำบัดน้ำเสีย ฟังแล้วก็งง ไม่รู้จะเชื่อใครดี

          จากการตรวจสอบข้อมูลและได้มีการประชุมอภิปรายเรื่องนี้ ที่ “ศูนย์จัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาภัยพิบัติ” ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 พ.ย.นี้ ได้ข้อสรุปน่าสนใจที่สมควรเล่าสู่กันฟัง อีเอ็ม ย่อมาจาก Effective Microorganism แปลว่า “จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิผล” หรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เมื่อ พูดถึงเชื้อจุลินทรีย์ คนทั่วไปมักตกอยู่ภายใต้ “มายาคติ” (Myth) ของ “ทฤษฎีเชื้อโรค”(Germ Theory)

          ตั้งแต่ยุคหลุยส์ ปาสเตอร์ ที่พบว่า โรคภัยไข้เจ็บเกิดจากเชื้อโรคขนาดเล็กที่เรียกว่าเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้คนทั่วไปเมื่อคิดถึงเชื้อจุลินทรีย์จะคิดถึงเชื้อโรคเสมอ ความ จริงเชื้อจุลินทรีย์ หรือจุลชีวัน คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก มีอยู่ในธรรมชาติมากมาย ส่วนใหญ่มีประโยชน์ต่อมนุษย์และธรรมชาติเช่น ในลำไส้ของเราจะมีเชื้อจุลินทรีย์ทำหน้าที่สร้างวิตามินให้แก่ร่างกายของเรา มีเชื้อจุลินทรีย์ไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ก่อให้เกิดโรค อย่างเชื้อ อีโคไลที่ทำให้ท้องเสียก็เกิดจาก อีโคไล บางสายพันธุ์เท่านั้น อีโคไล หลายชนิดใช้ในกระบวนการผลิตยาและวัคซีน ผู้ที่นำแนวคิดอีเอ็ม เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยกลุ่มแรกๆ คือชาวญี่ปุ่น ซึ่งนำอีเอ็มเข้ามาพร้อมกับการเผยแพร่พุทธศาสนานิกายหนึ่ง กลุ่มนี้มีการพัฒนาอีเอ็มบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มีการใช้อีเอ็มทั้งในการรักษาสุขภาพและในทางการเกษตรรวมทั้งการรักษาสิ่งแวด ล้อมด้วย

          ในเกาหลีมีการพัฒนาอีเอ็มเหมือนกัน แต่เรียกชื่อว่า “จุลินทรีย์ท้องถิ่น”(Indigenious Micro-Organism เรียกย่อๆ ว่าไอโอเอ็ม-IOM) เน้นการพัฒนาเชื้อจุลินทรีย์จากแต่ละท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการพัฒนาอีเอ็มมาใช้อย่างกว้างขวางในหลายรูปแบบ ที่แพร่หลายมากคือ น้ำหมักชีวภาพและลูกอีเอ็ม โดยใช้ทั้งเพื่อการรักษาโรค บำรุงสุขภาพ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ต้านทานศัตรูพืช และรักษาสิ่งแวดล้อม

          ในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมมีการนำอีเอ็มมาใช้อย่างกว้างขวาง คราวเกิดสึนามิคุณหมอพรทิพย์ก็นำไปใช้เพื่อลดกลิ่นเหม็นจากซากศพในวัดที่ใช้ เป็นศูนย์พิสูจน์เอกลักษณ์ศพ เกษตรกรนำอีเอ็มไปใช้ในเล้าหมูจำนวนมาก บ่อเลี้ยงปลาก็นำไปใช้แก้ปัญหาน้ำเสียในบ่อปลาได้ผลดี ผู้ที่พัฒนาลูกอีเอ็มโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแพร่หลายคนหนึ่ง คือ คุณเดชา ศิริภัทร แห่งมูลนิธิข้าวขวัญ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งนำหัวเชื้อมาจากป่าห้วยขาแข้ง

          ประโยชน์ของการนำหัวเชื้อมาจากในป่าเพราะปลอดจากสารเคมี คุณนพ ดล มั่นศักดิ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์ ลูกศิษย์คุณเดชาคนหนึ่ง ใช้ลูกอีเอ็มบำบัดน้ำเสียในบ่อปลามานาน ได้ผลดี น้ำท่วม จ.นครสวรรค์คราวนี้ ก็ใช้ลูกอีเอ็มไปช่วยบำบัดน้ำเสียตามชุมชน และในเมือง ช่วยให้น้ำที่เน่าเหม็น ใสและหายเน่าเหม็นได้เป็นที่ประจักษ์

          ประเด็นสำคัญที่ลูกอีเอ็มจะได้ผลก็คือ
1) ใช้หัวเชื้อถูกต้อง
2) ผลิตลูกอีเอ็มอย่างถูกต้องและ
3) นำไปใช้อย่างถูกต้องเรื่องหัวเชื้อถูกต้อง

          คุณชูเกียรติ โกแมน ผู้ประสานงานโครงการสวนผักในเมือง ซึ่งเรียนมาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ สรุปว่าควรเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายของเสียทั้ง 4 ชนิด นั่นคือสามารถผลิต เอนไซม์ได้ 4 ชนิด ได้แก่
1) อมิเลส (Amylase) ย่อยแป้ง
2)โปรตีเอส (Protease) ย่อยโปรตีน
3) ไลเปส(Lipase) ย่อยไขมัน และ
4) เซลลูเลส(Cellulase) ย่อยเซลลูโลส
          ซึ่งเกิดจากซากพืชต่างๆ หัวเชื้อที่เกษตรกรใช้บำบัดน้ำเสียในบ่อปลา หรือที่คุณนพดลใช้บำบัดน้ำเสียที่จ.นครสวรรค์ ย่อมใช้ใน กทม.ได้ เพราะน้ำเสียส่วนมากเกิดจากขยะและเศษอาหารนั่นเอง

          ผลิตถูกต้อง คือ ต้องบ่มให้นานพอ คือ ปั้นแล้วต้องผึ่งไว้อย่างน้อยสัก 1-2 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านั้นเพื่อให้หัวเชื้อกินอาหารคือ รำข้าวและกากน้ำตาล และแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเต็มที่ ถ้าปั้นแล้วเอาไปโยนน้ำเลย เชื้อจุลินทรีย์จะยังมีปริมาณน้อย และเศษรำข้าวกับกากน้ำตาลก็จะไปทำให้น้ำเสียยิ่งขึ้นอย่างที่ ธงชัยว่า

          ข้อสำคัญ อย่าเอาไปตากแดดหรืออยู่ในที่ร้อนเกินไป เชื้อจุลินทรีย์จะไม่เติบโต หรือตายหมด ใช้ถูกต้องคือ
1) ต้องใช้เพื่อบำบัดน้ำเสีย ใช้ป้องกันน้ำเสียไม่ได้
2) ใช้ในน้ำนิ่ง ไม่ใช่ในน้ำไหล เพราะเชื้อจุลินทรีย์จะไม่มีเวลาย่อยสลายสิ่งสกปรกต่างๆ ได้นานพอ
3) ต้องกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ออกไปให้มากที่สุดเสียก่อน
4) ใช้ในที่น้ำลึกไม่เกิน 2 เมตร ที่ไหนน้ำไหล ที่นั่นมีการบำบัดน้ำเสียตามธรรมชาติ โดยน้ำจะสัมผัสออกซิเจนได้มากขึ้นอยู่แล้ว สรุปแล้ว อีเอ็มบอลใช้บำบัดน้ำเสียได้ แต่ต้องทำจากหัวเชื้อที่เหมาะสม ทำอย่างถูกต้องและใช้อย่างถูกต้อง

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  35183

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง