Sub Navigation Links

webmaster's News

รู้จัก..มูลนิธิรามัญรักษ์ ศูนย์กลางมอญเมืองไทย



รู้จัก..มูลนิธิรามัญรักษ์ ศูนย์กลางมอญเมืองไทย



ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่อย่างหลากหลายด้วยความสงบสุข “มอญ” เป็นหนึ่งในหลายสิบกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารมาหลายร้อยปีจนทำให้อารยธรรมมอญเข้ามาบทบาทกับสังคมไทย ไม่ว่าจะในด้านประวัติศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม อาหารการกิน บ้างก็แสดงอัตลักษณ์เฉพาะ บ้างก็ผสมผสานกับความเป็นไทยจนแยกออกได้ยาก

กลุ่มชาติพันธุ์มอญ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “คนไทยเชื้อสายมอญ” ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีสัญชาติไทย แต่เชื่อว่าตนมีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเมืองมอญ ประเทศเมียนมาร์ ได้กระจายอยู่โดยทั่วไปประมาณ 37 จังหวัด ในพื้นที่ประเทศไทย และอีกกลุ่ม คือ กลุ่มคนมอญที่ถูกภาครัฐไทย เรียกว่า แรงงานข้ามชาติจากประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเป็นกลุ่มคนมอญอีกกลุ่มที่อพยพเข้ามาในเมืองไทย ในยุคปัจจุบัน หรือแม้กระทั้งคนมอญตามจังหวัดติดชายแดนตามภาคตะวันตกที่รัฐไทยได้อนุมัติให้สัญชาติที่เรียกกันว่า “กลุ่มคนไทยใหม่” ที่มีเชื้อสายมอญก็มีอยู่เป็นจำนวนหลายแสนคน

การมีสำนึกร่วมของกลุ่มช าติพันธุ์มอญ ที่แสดงให้เห็นถึงความมีอัตลักษณ์เฉพาะในรูปแบบของตัวอักษร ภาษาพูด ภาษาเขียนประเพณี กิจกรรมทางศาสนา ความเชื่อ อาหารการกิน ที่ยังมีความคล้ายคลึงกัน ของกลุ่มคนมอญทั้งสองเมือง (มอญเมืองไทย และ มอญเมืองพม่า) ทำให้เกิดพลังในการร่วมกลุ่มทางชาติพันธุ์อย่างเข้มแข็ง เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มคนมอญทั้งสองเมือง ภายใต้องค์กรมอญต่างๆ ที่จัดขึ้นในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ ที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่พันธกิจของแต่ละองค์กรนั้น ๆ ทั้งที่จดทะเบียนบ้าง ไม่ได้จดทะเบียนบ้าง

หลายปีที่ผ่านมานี้ในกลุ่มคนชาติพันธุ์มอญน้อยรายไม่รู้จัก “มูลนิธิรามัญรักษ์” ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยนายอุทัย มณี และพระปัญญาวุฒิ วุฑฺฒิโก และถือว่าเป็นองค์กรมอญที่ถูกกฎหมายองค์กรเดียวที่ขับเคลื่อนเรื่อง การอนุรักษ์ ส่งเสริม สนับสนุนวัฒนธรรมประเพณี การช่วยเหลือกลุ่มคนมอญที่ยากไร้โดยไม่เลือกว่าเป็นมอญเมืองไทยหรือมอญในประเทศพม่าอย่างแข็งขัน

ความเป็นมาของมูลนิธิรามัญรักษ์จากคำบอกเล่าของนายอุทัย มณี เลขานุการมูลนิธิรามัญรักษ์ เล่าว่า

“มูลนิธิรามัญรักษ์ ฐานมาจากชมรมส่งเสริมพัฒนาการศึกษาพระสงฆ์ ซึ่งตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2545 สมัยตนยังครองสมณเพศอยู่เพื่อส่งเสริมพระภิกษุสามเณรมอญตามแนวชายแดน โดยระยะแรกได้นำสามเณรมาส่งเรียนตามวัดต่างๆ ประมาณ 20 รูป ซึ่งสมัยนั้นสามเณรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย การฝากเรียนตาม

วัดต่างๆ ยากลำบาก เพราะเจ้าอาวาส หรือคนที่เรานำไปฝากเกรงเจ้าหน้าที่รัฐ ก็อาศัยพระอาจารย์ที่คุ้นเคยหรือไม่ก็เพื่อนพระที่สนิทสนมรับฝากเพื่อไปเรียนนักธรรมบาลี บางรูปเราดูแววแล้วว่าเรียนภาษาบาลีไปไม่รอดก็ฝากไปเรียนปริยัติสามัญก็มี และชมรมส่งเสริมพัฒนาการศึกษาพระสงฆ์นี่เช่นกัน ได้นำพระสงฆ์มอญจากเมืองมอญมาเรียนที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทยเป็นครั้งแรก เนื่องจากสมัยก่อนพระมอญที่เมืองมอญไม่นิยมมาเรียนต่อที่ประเทศไทย เนื่องจากมองว่ามาเรียนที่เมืองไทยแล้วไม่ได้ภาษากลับไป และอีกประการตัวท่านเองก็สื่อสารกับคณะสงฆ์ไทยก็ลำบากเพราะต้องใช้ภาษาไทย และต่อมาเราก็มีการมอบทุนการศึกษาให้พระภิกษุสามเณรเป็นประจำทุกปี

หลังจากจากตนเองลาสิกขาออกมา คณะสงฆ์มอญในไทย ท่านก็ตั้งชมรมพระสงฆ์มอญเมืองไทยขึ้น พระมหาบุญมี ธมฺโม ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งชมรมส่งเสริมพัฒนาการศึกษาพระสงฆ์ด้วยกันมา ท่านก็บอกว่าให้ยุบเสียและมีเงินเหลืออยู่ประมาณ 4 แสนบาท จึงปรึกษากันว่าน่าจะตั้งมูลนิธิขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือพระภิกษุสามเณร รักษาวัฒนธรรมและช่วยเหลือแรงงานมอญที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยต่อไป มูลนิธิรามัญรักษ์จึงเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 และตั้งแต่นั้นมาเราก็มีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสนับสนุนงานศิลปวัฒนธรรม ภาษา การแต่งกาย ประเพณีชุมชน ความเชื่อ รวมทั้งกิจกรรมช่วยเหลือคนด้อยโอกาสต่อเนื่อง..”

ในขณะที่พระปัญญาวุฒิ วุฑฺฒิโก ประธานมูลนิธิรามัญรักษ์ ซึ่งเป็นพระนักเคลื่อนไหวชื่อดังด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีมอญ และกิจกรรมความเชื่อของมอญในชุมชนท้องถิ่น กล่าวว่า

“ประมาณปี 2557 คุณอุทัย ก็มาปรึกษาว่ามีเงินอยู่ก้อนหนึ่ง อยากจะตั้งมูลนิธิ จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นศูนย์กลางของมอญเมืองไทยเพื่อช่วยเหลือส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณรมอญ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภาษา การแต่งกาย รวมทั้งแรงงานมอญที่เข้ามาขายแรงงานอยู่ในประเทศไทยจริงๆ แม้ตอนนั้นมอญเมืองไทยเราจะมีสมาคมไทยรามัญอยู่แล้วก็ตาม แต่คิดว่าหากเรามีมูลนิธิอย่างที่คุณอุทัย ต้องการเราน่าจะทำงานได้สะดวกกว่า เลยสรุปว่า เอาก็เอา และตนเองให้ตั้งชื่อว่า มูลนิธิรามัญรักษ์”

ซึ่งต่อมาเราก็ทำกิจกรรมต่อเนื่องทั้งหาเด็กและเยาวชนมาบวชเรียนหนังสือ ลงพื้นที่ชุมชน แจกอุปกรณ์การศึกษาให้กับลูกหลานแรงงานมอญที่เรียนหนังสือ สนับสนุนสอนภาษามอญให้เด็กและเยาวชนตามชุมชนมอญในฤดูร้อน ถวายทุนการศึกษาให้พระภิกษุสามเณรที่สอบได้ กิจกรรมแจกอุปกรณ์การศึกษาข้าวสารอาหารแห้ง ผ้าห่ม ให้กับเด็กนักเรียนและคนด้อยโอกาสตามแนวชายแดนอันนี้เราทำทุกปี บางปีก็สร้างห้องน้ำให้ และบางโอกาสก็เลยเข้าไปยังเขตรัฐมอญ ประเทศเมียนมาร์ด้วย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพี่น้องมอญเราที่พลัดพรากจากกันมาหลายร้อยปี

นอกจากนี้มูลนิธิรามัญรักษ์ก็มีการสนับสนุนเชิดชู สร้างขวัญกำลังใจให้คนมอญที่ทำงานเรื่องวัฒนธรรม ป ระเพณี การแต่งกายหรือแม้กระทั่งด้านอื่นๆ ที่คณะกรรมการเห็นว่าน่ายกย่องก็จะมอบโล่เชิดชู “คนดีศรีรามัญ” ให้ทุกปี และปีนี้เป็นปีแรกที่มูลนิธิรามัญรักษ์และเครือข่ายจัดงาน “มหาสงกรานต์รามัญสราญรมย์” ที่หอประชุมใหญ่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่งถือว่าเป็นมิติใหม่ของสังคมอญที่จัดงานแบบนี้

ส่วนอีกเรื่องที่มูลนิธิรามัญรักษ์กำลังทำอยู่โดยได้รับการสนับสนุนงบจากสำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติคือ โครงการ “นำผีมอญกลับบ้าน” ลงชุมชนมอญทั่วประเทศ เพื่อรับฟังความคิดเห็น “ร่างธรรมนูญผีมอญ” และหากสำเร็จกลุ่มชาติพันธุ์มอญจะมีหนังสือที่เป็นข้อตกลงร่วมที่ร่างโดยคนมอญ เพื่อคนมอญ และสำหรับคนมอญเล่มแรกในประเทศไทย..”

ส่วนอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 9 -10 ธันวาคม 2560 นี้ คือ “รามัญรักษ์สัมพันธ์ สานฝันให้น้อง” ปีนี้เป็นปีที่ 4 แล้ว ปีนี้เราตกลงร่วมกันว่านอกจากจะแจกของให้โรงเรียนที่ยากจนตามแนวชายแดนแล้ว คณะเราจะเข้าไปยังเขตรัฐมอญด้วย เพราะฝั่งโน้นมีพระสงฆ์มอญมาขอว่า เด็กนักเรียนที่นั้นไม่มีกระเป๋าใช้ ไม่มีสมุดปากกา ขาดแคลนข้าวสาร รวมทั้งผ้าห่มด้วย ก็เลยตั้งใจจะไปที่นั่นกันและได้รับการสนับสนุนด้วยดีทั้งจากมูลนิธิพระศรีสุทธิเวที (ขวัญ ถิรมโน) เครื่อข่ายธรรมะอารมณ์ดี สมาคมไทยรามัญ รวมทั้งเครือข่ายอื่นๆ..”

กลุ่มชาติพันธุ์มอญถือว่าชนชาติเก่าแก่ชนชาติหนึ่งแถบภูมิภาคนี้ และมีความสัมพันธ์ที่ดีงามกับประเทศไทยมาตลอด วันนี้มอญเมืองไทยโชคดีมีมูลนิธิรามัญรักษ์เป็นศูนย์กลางในการเชิญ-ชวน-เชื่อมและช่วยมอญด้วยกันเอง ทั้งในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนต่อชุมชน ทั้งการอนุรักษ์ส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมประเพณี การแต่งกาย ภาษา รวมทั้งความเชื่ออื่นๆ นับว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่น่ายกย่องเพราะเท่าที่ทราบการขับเคลื่อนทุกกิจกรรมของมูลนิธิรามัญรักษ์ ทีมงานทำด้วยความเสียสละ มีจิตอาสา ที่ทุกฝ่ายควรสนับสนุน!!

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  2nd Dec 17

จำนวนผู้ชม:  35553

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว