Sub Navigation Links

webmaster's News

แพทย์แผนไทยหนุนปลดล็อก“กระท่อม” พ้นบัญชียาเสพติด จับตาต่างชาติวิจัย-จดสิทธิบัตร



แพทย์แผนไทยหนุนปลดล็อก“กระท่อม” พ้นบัญชียาเสพติด จับตาต่างชาติวิจัย-จดสิทธิบัตร



มีเสียงจากหลากคนหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ต่างแสดงความเห็นสอดคล้องและขานรับ ตามที่คณะอนุกรรมการการกฎหมาย ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เห็นชอบผ่อนปรน ให้ปลูกและเคี้ยวใบกระท่อม แบบวิถีชาวบ้านดั้งเดิมได้
          
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เภสัชกรหญิง ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้าโครงการสาธิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี บอกว่า อีถ่าง, ท่อม, กระท่อม เป็นต้นไม้ประจำถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถิ่นที่อยู่หลักๆ คือประเทศไทย มาเลเซีย และมีอยู่บ้างในพม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ แต่ประเทศที่มีการนำใบกระท่อมมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์มากที่สุดคือประเทศไทย ลองลงไปคือมาเลเซีย
          
สมัยก่อนต้นกระท่อมเป็นต้นไม้ที่ปลูกไว้แทบทุกบ้าน เพราะมากด้วยคุณประโยชน์ หยิบนำมาใช้ได้สะดวกยามจำเป็น ชาวไร่ชาวนาในแถบภาคกลางและภาคใต้ส่วนใหญ่จะนิยมนำมาเคี้ยวกินสดๆ และถูกนำมาจัดเรียงใส่ในสำรับหมากของแต่ละบ้าน บ้างก็พกติดตัวไว้เคี้ยวกินยามเหนื่อยล้าอ่อนแรงจากการทำงานใช้กำลัง หรือออกแรงหนักๆ ทนต่อการทำงานกลางแจ้ง ทนร้อน ทนแดด ทำงานได้ยาวนานขึ้น และยังทำให้หลับสบายคลายเครียด บ้างก็นำมารับประทานเมื่อร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย บ้างก็นำใบอ่อนมาเคี้ยวกินเล่นยามว่าง หรือเป็นผักกินกับข้าวช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกายและบำรุงสมรรถภาพทางเพศสำหรับผู้ชายได้ดีอีกด้วย
         ;  
ในยุคก่อนปี 2500 กระท่อมเป็นสมุนไพรที่มีระบุไว้ในตำรับยาหลายขนานที่ใช้แก้ปัญหาสาธารณสุข ได้แก่ โรคบิดท้องเสีย เช่น ยาประสระใบกระท่อม ยาหนุมานจองถนนปิดมหาสมุทร ยาแก้บิดลงเป็นเลือด ยาแก้บิดหัวลูกยาประสระกาฬแดง รักษาเบาหวาน และใช้ภายนอกในการรักษาเริมงูสวัดห้ามเลือด นอกจากนี้ ชาวบ้านยังใช้กระท่อมเป็นยาสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวและมีกำลังกลับคืนมาโดยนำใบมาต้มกับน้ำให้เดือดแล้วนำมาดื่ม แต่เมื่อกระท่อมถูกจัดให้เป็นยาเสพติดตั้งแต่เมื่อ 70 กว่าปีก่อน ความรู้ของชาวบ้านที่เคยกินเคยใช้กระท่อมก็เริ่มเลือนรางหายไป ที่ยังแอบใช้อยู่ก็มีส่วนน้อย ยกเว้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังมีการใช้กันอยู่
          
"ใบกระท่อมมีรสขมเฝื่อนเล็กน้อยไม่ชวนรับประทาน แต่ถ้ารับประทานเพียงเป็นยาอย่าให้ถึงกับติดก็จะมีคุณเป็นอันมาก แต่หากกินเป็นประจำทุกวันก็มีโอกาสติดได้ง่าย ถ้าไม่ได้กินแล้วจะไม่มีแรงทำงาน ขาดไม่ได้ จะเกิดอาการปวดเมื่อยตามกระดูก ตามข้อ ส่วนอาการอื่นๆ ก็มีบ้างเล็กน้อย เช่น หงุดหงิดกระวนกระวาย ง่วงนอนหาว ทั้งวันเป็นต้น ชาวบ้านที่เคยใช้กระท่อมยืนยันว่า เลิกกระท่อมง่ายกว่าเลิกกินหมากและเลิกเหล้าเลิกบุหรี่ยิ่งยากกว่าเลิกกระท่อมหลายเท่าตัว"
 &nbs p;        
ดร.สุภาภรณ์ระบุด้วยว่า การที่กระท่อมทำให้ติดได้ มีโทษได้ หากใช้ในทางที่ผิดนี่เอง ทำให้มีกฎหมายควบคุมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2486 โดยมีการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พืชกระท่อม ห้ามปลูกและครอบครอง รวมทั้งห้ามจำหน่ายและเสพใบกระท่อม ต่อมาพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จัดกระท่อมเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 เช่นเดียวกับกัญชา ผู้ใดครอบครอง ผลิตจำหน่าย นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 150,000 บาท
          
"ในการแบ่งกระท่อมเป็นยาเสพติดประเภท 5 ไม่ได้แบ่งตามธรรมชาติของพืชชนิดนั้นๆ ทำให้การเข้าถึง หรือการนำมาใช้ประโยชน์ค่อนข้างยาก คิดว่าถึงเวลาที่ทุกฝ่ายควรนำกระท่อมมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร-การแพทย์แผนไทย ในทางพื้นบ้านกระท่อมใช้เป็นยาแก้ปวด บำรุงกำลัง ยาลดเบาหวาน ทำให้ง่วงก็ได้ ตื่นก็ได้ เรื่องยาบำรุงกำลังชายก็ได้ เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นวัฒนธรรม การนำกระท่อมมาใช้ประโยชน์ คิดว่ามีความจำเป็นของประเทศ เพราะก่อนวัฒนธรรมการใช้จะถูกลืมโดยสิ้นเชิง ร่องรอยของการใช้ประโยชน์ จะนำไปสู่การวิจัยพัฒนา ปัจจุบัน อังกฤษ ญี่ปุ่น มีการพัฒนาสารออกฤทธิ์จากกระท่อม อาจมีการต่อโครงสร้างนิดหน่อย จดสิทธิบัตรเป็นยาแก้ปวด"
          
เภสัชกรหญิงบอกอีกว่า มียาหลายอย่างที่เราต้องนำเข้า กระท่อมจะมีบทบาทที่จะนำมาใช้เป็นยากระท่อม ควรพัฒนากฎหมายยกมาเป็นสมุนไพรควบคุม ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย 2542 ก็จะทำให้มีการแจ้งว่าใครจะขออนุญาตปลูก ครอบครอง ไม่เกินเท่าไร มีพระราชบัญญัติอยู่ หรือแก้กฎระเบียบต่างๆ เพื่อจะให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ผ่านการแพทย์แผนไทย ผ่านโรงพยาบาลของรัฐนำกระท่อมมาใช้เป็นยาแผนไทย ยาแผนโบราณได้ หรือการปรับให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ก็มียาหลายตัวที่อยู่ในยาประเภทนี้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ แต่ต้องมีการควบคุม
          
"กระท่อมมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นยา ซึ่งอาจเริ่มต้นจากยาตำรับดั้งเดิม ยาที่ใช้ในโรงพยาบาล เป็นยาในขั้นต่อไป เป็นเรื่องที่สังคมไทยควรช่วยกันหาทางออก ในการที่จะนำพืชโลกนี้คนใช้กระท่อมเก่ง มีข้อมูลการใช้มากที่สุดคือคนไทย ทำอย่างไร ใช้ภูมิปัญญาไทย ในอนาคตอาจใช้แทนกาแฟก็ได้ แต่กาเฟอีนเป็นโครงสร้างที่ใกล้เคียงกัน หรือว่าในเครื่องดื่มทั่วไปที่มีส่วนผสมใบโคคา กลายเป็นเครื่องดื่มน้ำดำที่ทั่วโลกรู้จัก ฉะนั้นในอนาคตอาจมีเครื่องดื่มกระท่อม ดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เป็นยาเป็นเครื่องดื่มที่เราขาดโอกาสพัฒนา"
          
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ทิ้งท้ายว่า ควรมีการพิจารณาและจัดกระท่อมให้อยู่ในพืชประเภทใหม่ ว่าเขาควรอยู่ในสถานะไหน ใช้ประโยชน์อย่างไร เป็นยา เป็นเครื่องดื่ม เป็นผักได้ สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในสังคมไทย ต้องไม่ไล่ล่าฆ่าฟัน บริหาร-จัดการ-พัฒนาให้มีความรู้ ไม่ให้สูญหายไปจากสังคมไทย ตราบที่ประเทศเพื่อนบ้านเรายังมีอยู่

โดย มานิตย์ สนับบุญ
ที่มา : มติชน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  8th Sep 17

จำนวนผู้ชม:  36176

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง