Sub Navigation Links

webmaster's News

เปิดโฉม 12 กรรมการยุทธศาสตร์ชาติ



เปิดโฉม 12 กรรมการยุทธศาสตร์ชาติ




เปิดโฉม 12 กรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามพ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 2560 โดยในส่วนของกรรมการยุทธศาสตร์ชาติจะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ และมีกรรมการสองส่วนคือ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สามารถแต่งตั้งได้ไม่เกิน 17 คน

ทั้งนี้กรรมการที่แต่งตั้งในวันนี้มี 12 คน ประกอบด้วย

1. วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ดูแลงานด้านกฎหมายของรัฐบาล เป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายลำดับต้นๆ ของประเทศไทย  เคยเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอยู่ 9 ปี ก่อนที่จะก้าวเข้ามาสู่การเมืองในตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ขณะที่การรัฐประหาร 2557 "วิษณุ" มีบทบาทอย่างมาก โดยเป็นหัวหน้าคณะร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 เป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทั้งนี้เขายังมีความสัมพันธ์ อันแนบแน่นกับสองปรมาจารย์ด้านกฎหมายอย่าง "มีชัย ฤชุพันธุ์" และ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ"

2.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  เป็นที่รู้กันว่า เขาเป็นหนึ่งใน "สามพี่น้องบูรพาพยัคฆ์" ในนาม "3 ป." "ประยุทธ์ - ป้อม - ป๊อก" (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ - พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา) "อนุพงษ์" ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ ทหารบกตั้งแต่ปี 2550-2553  เป็น นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียว กับ "ทักษิณ ชินวัตร" แต่เขาก็มีบทบาท อย่างสูงในการรัฐประหารปี 2549 และ 2557

3. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์  รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล เขามีชื่อเสียงตั้งแต่การร่วมเป็นหนึ่งในทีมเศรษฐกิจของ "ทักษิณ ชินวัตร" โดยเคยดำรงตำแหน่งทั้งรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนโยบายประชานิยมส่วนหนึ่งก็มาจากแนวคิดของเขานี่เอง หลังรัฐประหารปี 2549 ก็ได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทย และได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างชาติโดยเฉพาะไทยกับญี่ปุ่น แต่เป็นได้เพียงไม่กี่วันก็ลาออก ต่อมาเมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบเขาก็ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี และหลังการรัฐประหาร 2557 ก็มาเป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดูแลรับผิดชอบเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ต่อมาเกิดข่าวความขัดแย้งกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ดร.สมคิด จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ

4.พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง  รองนายกรัฐมนตรี  เป็นหนึ่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยในการรัฐประหารปี 2557 เขาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ และรับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจของ คสช. ทั้งนี้ พล.อ.อ.ประจิน เป็นนายทหารที่จบถึงระดับ "ดอกเตอร์" โดยสำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต จากสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต่อมา ในปี 2558 ได้ปรับมาเป็นรองนายกรัฐมนตรี

5. อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  เป็นหนึ่งในทีมเศรษฐกิจของ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยที่ "สมคิด" ดำรงตำแหน่งในรัฐบาล "ทักษิณ ชินวัตร"  ต่อมาในปี 2558 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร แต่ก็ได้ยื่นหนังสือลาออกเพื่อให้มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็น กระทรวงที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ ภายหลังจากการยื่นลาออกได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในวันที่ 15 กันยายน 2559 และในเดือนธันวาคมปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

6. สุวิทย์ เมษินทรีย์ ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และยังเป็น เลขานุการคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูป ประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ปยป.)อีกด้วย เขาเป็นหนึ่งในทีมงานของ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์"อีกคนหนึ่ง โดยเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เมื่อปี 2558 และถูกปรับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ โดยมีภารกิจหลักคือการเรื่องการปฏิรูปและความปรองดอง

7. ศุภชัย พานิชภักดิ์ หรือ "ดร.ซุป"ชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันดี  เพราะเขาเคยทำงานร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์โดยลงสมัคร ส.ส. เมื่อปี 2529 และได้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ในช่วงรัฐบาลชวน หลีกภัย เขาก็ได้เป็นรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต่อมาในปี 2545 ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งสำคัญในระดับโลกนั่นคือ  ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก หรือ WTO จนถึงปี 2548 เคยเป็นเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด  ทำให้ชื่อเสียงของเขาได้รับการยอมรับเสมอมา และถูกคาดหมายว่าจะเข้าชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ทุกครั้งที่มีกระแสข่าวการเตรียมเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรค

8. ชาติศิริ โสภณพนิช  กรรมการผู้จัดการใหญ่ และกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทายาทรุ่นที่สามของตระกูล "โสภณพนิช" ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพ นอกจากนี้เขายังดำรงตำแหน่ง ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการในคณะกรรมการระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งกรรมการ บมจ.โพสต์ พับลิชชิ่ง  ซึ่งหลังการรัฐประหารเขาก็มาร่วมใน

9. บัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ที่ริเริ่มนำการ reengineering มาใช้กับธนาคารกสิกรไทย จนได้รับเสียงชื่นชม ภายหลังการรัฐประหาร 2557 เขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการในคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ หรือ "ซูเปอร์บอร์ด" นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ และเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน อีกด้วย

10.กานต์ ตระกูลฮุน ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริษัท แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เขามีประวัติเป็นนักบริหาร โดย เป็นกรรมการผู้จัดการของ เครือเอสซีจี หรือปูนซิเมนต์ไทยมาถึง 10 ปี นอกจากนี้ภายใต้รัฐบาลปัจจุบันเขายังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสานพลังประชารัฐอีกด้วย

11. เทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช.  เคยเป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และหลังจากพ้นตำแหน่งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติก็ถูกทาบทามให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ และเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

12. นพ.พลเดช ปิ่นประทีป อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์  ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มตัวแทนเครือข่ายสุขภาพ หรือ "ตระกูล ส." เข้ามาร่วมกับรัฐบาลปัจจุบัน โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และขับเคลื่อนงานมวลชนร่วมกับรัฐบาล

ที่มา: คม ชัด ลึก

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  8th Sep 17

จำนวนผู้ชม:  35664

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง