Sub Navigation Links

webmaster's News

ขยายเวลาใช้ทุนผลิตแพทย์เพื่อชนบท



ขยายเวลาใช้ทุนผลิตแพทย์เพื่อชนบท



มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

          นงลักษณ์ พะไกยะ ผู้จัดการสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย (สพท.)โดย นศพ.ธวัชสภณ ธรรมบำรุงได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ที่เสนอให้ขยายโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า CPIRD ต่อไปอีก 5 ปี จากเดิมที่กำลังจะหมดวาระโครงการในปี 2556 ในประเด็นการเพิ่มเงื่อนไขการทำสัญญาปฏิบัติการใช้ทุนของผู้สำเร็จการศึกษา ตามโครงการ CPIRD จาก 3 ปี เป็น 6 ปีและในกรณีผิดสัญญาการปฏิบัติงานชดใช้ทุน และการเพิ่มค่าปรับจากข้อกำหนดเดิม 4 แสนบาท เป็น 1 ล้านบาท โดย สพท.ให้เหตุผลว่าการเพิ่มระยะเวลาการใช้ทุนนั้นแทนที่จะดึงแพทย์ไว้ในชนบท กลับจะเป็นการผลักแพทย์ออกจากระบบก่อนเวลาอันควร เพราะเหตุผล หลักของแพทย์จบใหม่ที่ลาออกจากราชการและต้องฉีกสัญญาใช้ทุนเป็นเพราะต้องการ เรียนต่อเฉพาะทางการยิ่งเพิ่มระยะเวลาการใช้ทุนจะยิ่งทำให้แพทย์ต้องทำงานนอกราชการเพื่อหาเงินชดใช้ค่าปรับให้มากขึ้น

           ความเห็นของ สพท. แสดงให้เห็นว่าในหมู่ของนักศึกษาแพทย์มีความเข้าใจที่ผิดพลาดต่อหลักการและ เหตุผลของโครงการ CPIRD เป็นอย่างมาก รวมทั้งมองไม่เห็นความแตกต่างระหว่างการเป็นนักศึกษาแพทย์ที่สอบเข้าสู่ระบบ การศึกษาด้วยวิธีการเรียนการสอบปกติ และการสอบเข้าตามโครงการ CPIRD CPIRD เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบทเป็นการเฉพาะ เนื่องจากระบบการรับนักศึกษาแพทย์ตามปกติที่แม้จะมีข้อกำหนดให้แพทย์จบใหม่ ใช้ทุนด้วยการทำงานในชนบทเป็นเวลา 3 ปี แต่เมื่อถึงเวลาจริงกลับพบว่ามีแพทย์ลาออกจากระบบเป็นจำนวนมากโดย

          ล่าสุดในปี 2553 มีแพทย์ลาออกจากโรงพยาบาลชุมชนในชนบทถึง 544 คน จึงเกิดปรากฏการณ์ว่าหลายโรงพยาบาลไม่มีแพทย์ประจำ และบางโรงพยาบาลไม่มีแพทย์จบใหม่ลงไปใช้ทุนเลย ข้อวิเคราะห์ หนึ่งที่มองเห็นกันและมีงานวิจัยสนับสนุนคือ เด็กที่เข้าเรียนแพทยศาสตร์ศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นเด็กในเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีกว่าเด็กจากต่างจังหวัด

          การเปิดโอกาสให้เด็กจากชนบทมีโอกาสเข้ามาสู่โรงเรียนแพทย์ได้ จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่กระทรวงสาธารณสุขมองว่าน่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการขาด แพทย์ในชนบทได้ โดยยืนอยู่บนสมมติฐานว่าเด็กชนบทย่อมสามารถ ปฏิบัติงานในชนบทได้นานกว่าเด็กในเมืองเพราะไม่ต้องจากภูมิลำเนา จึงจัดโครงการ CPIRD ขึ้นให้เด็กจากชนบทมีช่องทางในการสอบเข้าสู่โรงเรียนแพทย์ช่องทางใหม่ ไม่ต้องแข่งขันระดับประเทศที่โอกาสมักจะตกเป็นของเด็กในเมือง แต่มีการแข่งขันในสนามเล็กของตนเอง โดยกระจายโควตาสำหรับ CPIRD ให้รายจังหวัด เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก และกระจายโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ให้กับประชาชนในทุกพื้นที่ทั่ว ประเทศ เมื่อเข้าสู่ระบบแพทยศาสตร์ศึกษาได้ เด็กกลุ่มนี้จะเรียนระดับ pre-clinic ในโรงเรียนแพทย์ 3 ปี และระดับ clinic ในโรงพยาบาลศูนย์ที่เป็นศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขอีก 3 ปี หลังจากนั้นก็อยู่ใช้ทุนในภูมิลำเนาของตนต่ออีก 3 ปี

           ดังนั้น CPIRD จึงเปรียบเหมือนช่องทางพิเศษของระบบแพทยศาสตร์ศึกษาให้เด็กดักลุ่มหนึ่ง แน่นอนว่าช่องทางพิเศษก็ย่อมต้องมีเงื่อนไขพิเศษ เพราะช่องทางนี้ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบทเป็นการ เฉพาะ เงื่อนไขทุกอย่างจึงต้องมุ่งสู่การทำให้มีแพทย์ในชนบทให้ได้ ผู้ ที่คิดว่าไม่สามารถรับเงื่อนไขของโควตาพิเศษนี้ได้ ทางเลือกคือการสอบเข้าตามระบบปกติ ซึ่งเงื่อนไขของ CPIRD มิได้ก้าวล่วงไปครอบคลุม

          งานวิจัยของ พญ.ลลิตยา กองคำที่ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโครงการ CPIRD โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ พบว่าแพทย์ที่จบการศึกษาตามโครงการนี้สามารถอยู่ปฏิบัติงานในชนบทได้นานกว่า แพทย์ที่จบแพทยศาสตร์ศึกษาตาม track ปกติ แต่ก็ยังพบว่ามีการลาออกของแพทย์ก่อนครบกำหนดการใช้ทุนมาก และในช่วง 2-3 ปีหลังสุดพบว่า แพทย์ CPIRD และ track ปกติมีการคงอยู่ในชนบทไม่ต่างกันมากนัก งานวิจัยนี้เองที่เป็น ที่มาของการขยายโครงการ CPIRD รวมทั้งปรับเงื่อนไขการใช้ทุน เพื่อให้แพทย์ CPIRD อยู่ในชนบทได้นานขึ้นโครงการ CPIRD ที่กำลังจะจบเฟสลง แม้จะเป็นช่องทางพิเศษในการเข้าสู่โรงเรียนแพทย์ แต่เงื่อนไขการใช้ทุนกลับไม่ต่างจากการสอบเข้าตามระบบปกติ

          การขยายเงื่อนไขการใช้ทุนตามข้อเสนอของคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ จึงเป็นการสร้างความแตกต่างในการใช้ทุนระหว่างแพทย์ track ปกติกับ CPIRD ดังนั้นแทนที่ สพท.จะออกมาขับเคลื่อนคัดค้านการขยายระยะเวลาการใช้ทุนของCPIRD สู้ออกมาสนับสนุนน่าจะเป็นการดีกว่า เพราะ ระบบที่เป็นอยู่เท่ากับไม่เป็นธรรมต่อแพทย์ที่เข้าสู่ระบบการสอบปกติ ส่วนกลุ่มนักศึกษาแพทย์ตามโครงการ CPIRD ยิ่งไม่ควรออกมาคัดค้านเพราะผู้เขียนเชื่อว่าเป็นเงื่อนไขที่ทุกคนที่อยาก ใช้ช่องทางนี้ต้องรับทราบตั้งแต่แรก นอกจากนี้ยังควรอย่างยิ่งที่จะยอมรับความจริงว่า CPIRD เป็นระบบที่เอื้อให้ตนเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนแพทย์อย่างทุก วันนี้ก็ได้ ในฐานะของผู้ที่กำลังจะก้าวเข้ามาเป็นแพทย์ อย่ามองแต่ว่าระบบแพทยศาสตร์ศึกษาและระบบบริการทางการแพทย์ให้อะไรกับเรา ลองมองว่าเราได้อะไรจากระบบบ้างและเราจะตอบแทนระบบบริการสุขภาพของประเทศนี้ ให้เพียงพอได้อย่างไร จะไม่ดีกว่าหรือ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  35401

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง