Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ บันทึกนอกห้องเรียน : 'อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า' ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข



คอลัมน์ บันทึกนอกห้องเรียน : 'อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า' ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข



          อินทิรา วิทยสมบูรณ์
          โครงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ : Media for all project
          Mediaforall.project@gmail.com
          http://www.chumchonthai.com
          
          เป้าหมายและทิศทางข้างหน้า
          -การขับเคลื่อน ตำบลจัดการตนเอง
          -งานบุญปลอดเหล้า ที่ขับเคลื่อนโดยชาวบ้าน และโดยกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำ และตัวเจ้าภาพเอง
          -การปรับกระบวนทัศน์อย่างยั่งยืน เช่น การขับเคลื่อนสร้างการเรียนรู้เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่
          -สร้างต้นแบบหลายระดับ เช่น คนต้นแบบ ครัวเรือนต้นแบบ หมู่บ้านต้นแบบ
          -จัดเวทีทุกปี ค้นหาผู้เลิกมีกี่คน เชิดชูคนเลิก เสริมกำลังใจคนที่คิดจะเลิก
          -ความยั่งยืนจะต้องมีธรรมนูญสุขภาพตำบล ธรรมนูญอำเภอ
          -การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้สอดส่องดูแลเพื่อจะนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมาย
          -มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ อำเภออย่างเข้มข้น จริงจังเป็นระบบ
          -หลักสูตร หรือการอบรมเติม/เสริมศักยภาพคนทำงาน
          จากอำเภอสู่จังหวัด "ศรีสะเกษโมเดล"

คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 หมวด 2 คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรา 19 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการรอง ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสรรพสามิตพื้นที่ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งหนึ่งคน ประชาสัมพันธ์จังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่รับผิดชอบในเขตจังหวัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในเขตจังหวัดที่ผู้ว่าราชการแต่งตั้งจังหวัดละไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านสังคมสงเคราะห์ การแพทย์ จิตวิทยา และกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน

ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดจะแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้

มาตรา 22 คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือในเขตจังหวัด แล้วแต่ในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) เสนอความเห็นเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อคณะกรรมการควบคุม (2) ให้คำปรึกษาแนะนำ และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนเกี่ยวกับการควบคุมการผลิต การนำเข้า การขาย การโฆษณา และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้ง การเสนอมาตรการในการป้องกันผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดจนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (3) กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนไปเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (4) กำหนดแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับ

นโยบายของคณะกรรมการในการลดและ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (5) ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลด และการอุปโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แล้วรายงานผลต่อคณะกรรมการควบคุม (6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการควบคุมมอบหมาย ศรีสะเกษโมเดล งานบุญประเพณีปลอดเหล้า

จากความร่วมมือของภาคประชาชน ที่มีการขับเคลื่อนโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา โดยความร่วมมือกันระหว่าง สสส.กับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้ขยายผลจัดโครงการกฐินปลอดเหล้าและโครงการวัดปลอดเหล้า จนนำไปสู่การผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 จากพระราชบัญญัติดังกล่าว นำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดที่มีผู้ว่าราชการเป็นประธานและมีสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เป็นกรรมการและเลขานุการ

ทั้งนี้จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพื้นที่ปฏิบัติการระดับชุมชน/ตำบล ที่มีการขับเคลื่อนเรื่องปลอดเหล้าในงานศพ งานบุญ มาอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะตำบลเสียว อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ที่มีการขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ที่ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 มีการยกระดับเกิดเครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ที่เคลื่อนร่วมกันทุกตำบลในอำเภอ

จากต้นทุนขบวนการเคลื่อนไหวของตำบล เข้มแข็ง อำเภอเข้มแข็งเช่นนี้เอง การขับเคลื่อนงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือปลอดเหล้านั้นในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษนั้นจึงมีโครงสร้างการดำเนินงานทั้งเป็นทางการตามพระราชบัญญัติ และไม่เป็นทางการ ที่เป็นเครือข่ายนภาคประชาชน

การขับเคลื่อนระดับจังหวัดของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างกลไกทางการและขบวนเครือข่ายภาคประชาชน หรือศรีสะเกษโมเดลนั้น เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสมัยผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ (ในขณะนั้น) นายสมศักดิ์ สุวรรณจริต ที่มีการขับเคลื่อนสมัครหมู่บ้านงานศพและงานบุญปลอดเหล้า เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการฯ ที่มีสาธารณสุขจังหวัดเป็นกองเลขานุการสาธารณสุขอำเภอที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบ บ เกิดการประชุมกลไกระดับจังหวัดทุกๆเดือน และเกิดการประชาคมอย่างสม่ำเสมอในระดับหมู่บ้าน/ตำบล

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  9th Aug 17

จำนวนผู้ชม:  35789

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง