Sub Navigation Links

webmaster's News

“โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ”ประสบผลสำเร็จ ต้นแบบการจัดการอาหารในโรงเรียน



“โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ”ประสบผลสำเร็จ ต้นแบบการจัดการอาหารในโรงเรียน



       

เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายนที่ผ่านมา ที่โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ ตำบลตานี อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต ๓ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นำคณะกรรมการและสื่อมวลชน ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการขับเคลื่อนพื้นที่ต้นแบบการจัดการอาหารในโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนดังกล่าว เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับการจัดการอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน ซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งใน ๑๒ พื้นที่นำร่อง และลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการร่วมมือด้านการขับเคลื่อนสนับสนุน ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียนและชุมชนจังหวัดสุรินทร์ระหว่างคณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสถานศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและผู้นำชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาทางโรงเรียนมีการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งเพื่อการจัดการอาหารในโรงเรียนสำหรับเด็กนักเรียนทั้ง ๒๓๕ คน โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของคณะครู นักเรียน และผู้ปกครองช่วยกันจัดหาและผลิตวัตถุดิบพืชผักผลไม้นำมาทำอาหารให้เด็กๆ ได้รับประทานอย่างถูกต้องตามโปรแกรม

ทั้งนี้ พื้นที่ ๔๕ ไร่ ของโรงเรียนบ้านโคกจำเริญ ส่วนหนึ่งถูกจัดสรรให้เป็นแปลงผักขนาดใหญ่จำนวน ๔ แปลง ผักที่ปลูก เช่น คะน้า ผักบุ้ง ตะไคร้ พริก ฟักทอง และอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีนักเรียนเป็นผู้ดูแลตั้งแต่การเตรียมดินหว่านเมล็ดรดน้ำเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ยังมีบ่อปลา โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งผลิตผลทั้งหมดจะถูกส่งเข้าสหกรณ์โรงเรียนเพื่อขายให้กับโครงการอาหารกลางวันนอกจากสร้างรายได้ให้กับนักเรียนทุกระดับชั้นสร้างประสบการณ์ชีวิตยังช่วยสร้างความมั่นคงทางแหล่งอาหารให้กับโรง เรียนอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ โรงอาหารและโรงครัวมีการปรับปรุงพัฒนาให้ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลสร้างบรรยากาศที่ดีในการรับประทานอาหาร โดยเมื่อถึงช่วงเที่ยงนักเรียนชั้นป.๔-๖ จะมาช่วยกันจัดเตรียมภาชนะและช่วยกันตักอาหา รให้น้องๆ ซึ่งการตักอาหารจะถูกสอนมาเป็นอย่างดี โดยการตักอาหารให้ได้ปริมาณตามความต้องการของเด็กแต่ละคน โดยเฉพาะที่มีภาวะทุพโภชนาการ เด็กอ้วนและเด็กผอมจะมีการแยกออกมานั่งต่างหาก และที่ขาดไม่ได้คือผลไม้ตามฤดูกาลที่ต้องมีให้เด็กๆ ได้รับประทานทุกวัน ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพที่ดี และอยู่ในเกณฑ์ที่มีการกำหนดไว้ จึงเป็นการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่ง

นายถวิล บุญเจียม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกจำเริญ ที่พยายามอย่างสูงเพื่อให้ลูกศิษย์ของตนเองได้รับประทานอาหารที่ดี โดยมีจุดเริ่มต้นจากเดิมที่ทางโรงเรียนบ้านโคกจำเริญ ให้นักเรียนเตรียมมื้อเที่ยงมาจากที่บ้านส่วนหนึ่ง และทางโรงเรียนจะทำอาหารเสริมให้อีกส่วนหนึ่ง แต่พบปัญหาว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย เพราะพ่อแม่ต้องไปทำงานต่างจังหวัด ทำให้นักเรียนไม่ได้รับการใส่ใจเรื่องอาหารที่เหมาะกับช่วงวัยมากนัก ทางคณะครูและผู้ปกครองจึงได้ระดมความคิดกันว่าทำอย่างไรให้เด็กได้รับประทานอาหารที่ดี และได้ข้อสรุปในการประชุมผู้ปกครองว่า โรงเรียนจะเป็นเจ้าภาพจัดทำอาหารแบบครบวงจรเอง กระทั่งนำไปสู่การทำแปลงผักภายในโรงเรียน และการมีส่วนร่วมจากชุมชน ไม่เพียงแค่ว่า ทำอย่างไรให้เด็กได้มีแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัย แต่ในเวลาต่อมาพบว่า แปลงผักช่วยให้นักเรียนได้ฝึกประสบการณ์เรียนรู้ด้วยตนเอง ปลูกเองขายเอง ส่วนงบประมาณจากโครงการอาหารกลางวันก็เป็นเสมือนต้นทุนที่ทางโรงเรียนนำมาต่อยอดจัดทำแปลงเรียนรู้ต่างๆ ส่งผลให้เงินหมุนเวียนในชุมชน และโรงเรียนมีแหล่งผลิตที่มีคุณภาพสำหรับเด็กนักเรียน

ขณะเดียวกันทางโรงเรียนบ้านโคกจำเริญยังส่งผ่านความรู้เรื่องการจัดการอาหารให้พ่อแม่ ผู้ปกครองนำไปใช้ที่บ้าน เช่น การให้ความสำคัญกับอาหารมื้อเช้า การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ อันส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคของเด็กนักเรียนไปในทางที่ดียิ่งขึ้น

นายถวิล บุญเจียม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกเจริญ กล่าวว่า โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จะดูแล ๑๐ องค์ประกอบ ซึ่งในนั้นก็รวมทั้งสุขภาพของเด็กด้วย ซึ่งจุดนี้เองทำให้โรงเรียนได้ดูแลสุขภาพของเด็กนักเรียน มีการวัดส่วนสูง แยกเด็กกลุ่มปกติ อ้วน เตี้ย ผอม ทำให้เราได้ดูแลเขาอย่างเต็มที่ แค่อ้วนหนึ่งคนก็เป็นปัญหา ซึ่งเราจะทิ้งเขาไม่ได้ ส่วนเด็กที่โรงเรียนแห่งนี้จะเตี้ยและผอมค่อนข้างมาก เพราะว่าพื้นฐานครอบครัวจะได้รับการดูแลน้อย เนื่องจากเด็กจะอยู่กับคุณตาคุณยายเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นเราจึงได้มีโอกาสดูแลเขาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอาหารกลางวันของเด็ก ในบางวันทางโรงเรียนก็ได้ มีโอกาสดูแลอาหารเช้าให้กับเด็กด้วย เนื่องจากต้องรีบมาโรงเรียนแต่เช้า ดังนั้น เรื่องของการดูแลสุขภาพของเด็ก ในเรื่องอ้วน เตี้ย ผอม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด รวมไปถึงการออกกำลังกาย ซึ่งโรงเรียนมีการดำเนินการมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๕ ปีผลที่เปลี่ยนแปลงเห็นได้ชัดเจน เช่น เรื่องของภาวะโภชนาการดีขึ้น ค่อนข้างจะเป็นรูปธรรมชัดเจนมาก และก็เรื่องพฤติกรรมการกินก็เปลี่ยนไปในทางที่ดี

“ส่วนเรื่องของการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน  ทางโรงเรียนได้จัดทำมานานแล้ว จะเห็นได้ว่า มีการปลูกพืชผักและเลี้ยงปลาอย่างเป็นสัดส่วน ซึ่งช่วงหลังมาก็จะเปลี่ยนเป็นลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในช่วง ๑๕ นาฬิกาของทุกวัน ก็จะปล่อยเด็กให้ลงทำการเกษตรและการออกกำลังกาย ลำพังเด็กเรียน ๓ ชั่วโมงในเช้า ๒ ชั่วโมงในตอนบ่าย ก็หนักอยู่แล้ว ภาคบ่ายจึงทำให้ได้ลงสู่ทักษะชีวิต ก็คือการทำการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และเราสามารถเชื่อมโยงสู่ครอบครัวได้ โดยพืชผักที่ปลูกไว้ ก็จะเป็นปัจจัยหลักในการนำมาประกอบอาหารกลางวันให้กับเด็กๆ ซึ่งช่วงนี้กำลังเริ่ม หากเป็นฤดูหนาวโรงเรียนจะสามารถผลิตได้เต็มร้อยเลย ไม่ต้องซื้อจากท้องตลาด ยกเว้นเรื่องของโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เนื่องจากเราไม่สามารถผลิตเองได้ ล่าสุดรับไก่เนื้อมาเลี้ยง ปลาที่เลี้ยงไว้ ต่อไปก็เป็นแหล่งโปรตีนหมุนเวียนมาให้เด็กๆ ได้รับประทานต่อไป ที่สำคัญตั้งแต่ทางโรงเรียนได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เกษตรในโรงเรียน เราให้ความสำคัญต่อสุขภาพของเด็กๆ นักเรียน ทำให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในทางที่จะร่วมกันดำเนินโครงการเป็นอย่างมาก” นายถวิล กล่าวท้ายสุด

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  6th Jul 17

จำนวนผู้ชม:  34940

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง