Sub Navigation Links

webmaster's News

มหานคร : กับการพัฒนา 4PW



มหานคร : กับการพัฒนา 4PW



เรื่องเล่าจากพื้นที่โดย ศูนย์ กทม. มหานคร : กับการพัฒนา 4PW

ศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมม เขตพื้นที่กรุงทพมหานคร (ศ.กทม.) ร่วมกับ
เครือข่ายภาคประชาสังคมกรุงเทพมหานคร แกนประสานงานระดับโซนและระดับเขต ได้จัดเวที
“การจัดตั้งกลไกการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้น ฐานทางปัญญา”
หรือ Participatory Public Policy Process based on Wisdom (4PW) ทั้ง ๖ โซน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมีประชากรตามทะเบียนราษฎรประมาณ ๕ ล้าน
คนเศษ แต่หากนับประชากรแฝง คาดการณ์ว่าจะมีประชากรราว ๑๐ ล้านคน ประกอบด้วย เขตพื้นที่ ๕๐
เขต ๑๖๙ แขวง ๒,๐๖๙ ชุมชน (การจัดตั้งชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยชุมชนและกรรมการ
ชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ ) กรุงเทพมหานครจึงนับเป็นเมืองหลวงที่มีความหลากหลาย ซับซ้อน และมีวิถีวัฒนธรรมที่ผสมผสาน

กรุงเทพมหานคร มีรูปแบบการปกครองพิเศษที่มีอำนาจการบริหารอิสระเป็นของตนเอง เป็นการปกครอง
ส่วนท้องถ่นิ รูปแบบพิเศษ มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจากประชาชนโดยตรง การจัดเก็บและเบิกจ่ายงบประมาณ มีสภากรุงเทพฯ ที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ

สำหรับการจัดตั้ง “กลไกการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบน
พื้นฐานทางปัญญา” ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งออกเป็น ๖ โซน มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ

พัฒนากลไกคณะทำงาน 4PW ระดับโซน และค้นหาประเด็นนโยบายสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนร่วมกันในพื้นที่ โซนละ ๓ ประเด็น ซึ่งคนที่เข้ามาร่วมเป็นภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานจริงในพื้นที่ในประเด็นต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ยาเสพติด ผู้สูงอายุ เป็นต้นเวทีเช็คอินภาคีเครือข่ายในกรุงเทพฯ ทั้ง ๖ โซน
เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม มีการประมวลผลประเด็นนโยบายสาธารณะทั้งหมด จาก ๖ โซน ๑๘ ประเด็น
มีประเด็นที่ร่วมกันทั้งสิ้น ๖ ประเด็น ซึ่งเป็นการสะท้อนปัญหาภาพใหญ่ของกรุงเทพมหานครคือ ที่อยู่อาศัย ผู้สูงอายุ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม สุขภาพและเศรษฐกิจโดยมี ๓ กลุ่มใหญ่ ที่จะมาหนุนเสริมกระบวนการ นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” ได้แก่

๑. ขบวนชุมชนฐานราก กรุงเทพฯ มีจำนวนชุมชนมากกว่า ๒,๐๐๐ ชุมชน ซึ่งมีกลุ่มองค์กรชุมชน
ที่หลากหลาย เช่น กลุ่มสวัสดิการออมทรัพย์ กลุ่มสิ่งแวดล้อม กลุ่มสตรี กลุ่มรักษาศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

๒. ขบวนชุมชนสหภาพแรงงาน เป็นชุมชนที่มีลักษณะพิเศษ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทั้ง ๖๔ แห่ง
ล้วนตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งสิ้น อาทิ การประปาการท่าเรือ การรถไฟ เป็นต้น นับเป็นฐานกำลังที่
แข็งแรงมานานและมีอำนาจต่อรองทางการเมือง

๓. ขบวนประชาสังคมและจิตอาสา กลุ่มเหล่านี้มักเป็นคนรุ่นใหม่ที่ชอบทำงานด้านสังคม ทำงานเพื่อ
ประโยชน์ส่วนรวม และช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมหลังจากนี้ จะมีการพัฒนากลไกคณะทำงาน

กรุงเทพฯ ทั้ง ๖ โซน และพัฒนาประเด็นนโยบายที่ได้รับฟังจากเวทีต่อไป ซึ่งน่าติดตามเป็นอย่างยิ่งว่า
กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม จะขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมได้มากน้อยเพียงใด กับพื้นที่
ที่เรียกว่า “มหานครของประเทศไทย”

เนื้อหาส่วนหนึ่งของ นิตยสารสานพลัง
ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๘๑ เดือน เมษายน ๒๕๖๐ www.nationalhealth.or.th

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  5th May 17

จำนวนผู้ชม:  35421

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   นิตยสารสานพลัง

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง