Sub Navigation Links

webmaster's News

สมัชชาสุขภาพ กับ สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา



สมัชชาสุขภาพ กับ สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา



สยามรัฐ ฉบับวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

          ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก พระ ราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2551 ได้กำหนดให้มีสมัชชาสุขภาพไว้3 ประเภท ได้แก่ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ,สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นและสมัชชาสุขภาพพื้นที่ สมัชชา สุขภาพแห่งชาติในปีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 19 – 21 ธันวาคม 2554 ณ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

          มีนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพที่จะนำเสนอ 6 เรื่องได้แก่ การจัดการภัยพิบัติ, การจัดการการฆ่าตัวตาย, น้ำมันทอดซ้ำ, สุขภาพแรงงาน,การโฆษณาเกินจริง และการพัฒนาลุ่มน้ำข้อเสนอทั้งหมดจะผ่านขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่ม เครือข่ายที่เกี่ยวกว่า 200 กลุ่มเครือข่าย จนนำสู่เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

           เมื่อผ่านการรับรองแล้วจะนำเสนอสู่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.)และคณะ รัฐมนตรี เพื่อนำสู่การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ สมัชชาสุขภาพ เฉพาะประเด็นและสมัชชาสุขภาพพื้นที่ มีกลุ่มคนที่มาทำงานสมัชชาสุขภาพ เรียกว่า คณะทำงานสมัชชาสุขภาพ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีจิตอาสามีเป้าประสงค์ร่วมกัน และเข้ามาร่วมกันในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมใน ระดับต่างๆ

          ; โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ภายใต้แนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” มีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ
1) พลังทางการเมือง ได้แก่ ภาครัฐการเมือง มีบทบาทขับเคลื่อนนโยบาย
2) พลังประชาสังคม ได้แก่ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนทางสังคม และ
3) พลังวิชาการ ได้แก่ภาคความรู้ วิชาการ มีบทบาทในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ

          ทั้ง นี้ 3 ส่วนตามแนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่งในภาคส่วนนั้นๆ แต่อาจหมายถึงบุคคลที่สามารถทำบทบาทนี้ได้ เช่น พลังทางการเมือง- คนทำงานด้านนโยบาย พลังประชาสังคม- คนทำงานขับเคลื่อนด้านองค์กร เครือข่าย และ พลังวิชาการ- คนทำงานด้าน ความรู้วิชาการ

          การรวมตัวของกลุ่มบุคคล ในนามสมัชชาสุขภาพที่มีองค์ประกอบจากจาก 3 พลังดังกล่าว เรียกว่า กลไกพหุภาคี ซึ่ง เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วน ร่วมในพื้นที่ซึ่งอาจเป็นกลไกเป็นทางการ กึ่งทางการ หรือไม่เป็นทางการก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ ซึ่งมีการวิเคราะห์ในหมู่ เครือข่ายนักวิชาการสุขภาพว่า คณะทำงานสมัชชาสุขภาพหากมี 5 แกนนำหลัก จะทำให้การทำงานสมัชชาสุขภาพประสบความสำเร็จ ได้แก่

         แกนนำที่ 1 นักวิชาการ มีบทบาท เป็นผู้รวบรวม สังเคราะห์ข้อมูล จัดกระบวนการถอดบทเรียนเพื่อสกัดเป็นองค์ความรู้ และจัดการความรู้ให้เป็นที่ยอมรับ สนับสนุนข้อมูลข้อคิดเพื่อปรับกระบวนการในระหว่างการทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน และวางแผนการติดตามประเมินผลภายใน
   
          แกนนำที่ 2 นักสื่อสารทางสังคม มีบทบาท เป็นผู้ที่วางแผนการใช้สื่อในการเผยแพร่ให้เกิดประสิทธิภาพ สื่อความหมายให้สังคมได้รับรู้และเกิดการมีส่วนร่วมของคนในสังคม นำสถานการณ์ความเคลื่อนไหว Best Practise จากพื้นที่และข้อเสนอเชิงนโยบายและผลการขับเคลื่อนประเด็นสมัชชาสุขภาพออก เผยแพร่สื่อสารให้แก่สาธารณะ ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต ทีวี เข้าถึง กลุ่มเป้าหมาย และประเมินเสียงสะท้อนหลังการสื่อสาร

          แกนนำที่ 3 นักประสานเครือข่าย มีบทบาท เป็นผู้เชื่อมประสานภาคีเครือข่ายได้ทั้งแนวราบและแนวตั้งในทุกระดับ มีความรู้ความเข้าใจสามารถเข้าไปร่วมขับเคลื่อนภาคีเครือข่าย กระตุ้นให้เครือข่ายเห็นความสำคัญและร่วมกิจกรรมต่อเนื่องสนับสนุนการทำงาน ให้ข้อเสนอไปสู่การปฏิบัติ สรุปบทเรียน เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ ด้านสุขภาพในพื้นที่ และติดตามสนับสนุนให้กำลังใจเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรมสม่ำเสมอ

          แกนนำที่ 4 นักนโยบายและยุทธศาสตร์มีบทบาท เป็นผู้เอื้ออำนวย ให้เกิดการคิด ประเมินสถานการณ์ วิเคราะห์หาความเป็นไปได้ในการทำงานสู่การวางแผนสู่ยุทธศาสตร์ หารูปแบบการ เคลื่อน ไหวที่เหมาะสม และบรรลุเป้าได้สูงสุดจัดทำข้อเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ และนำนโยบายยุทธศาสตร์ไปสู่การผลักดันให้เกิดการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          แกนนำที่ 5 นักบริหารจัดการมีบทบาท เป็นผู้บริหารจัดการแผนงานโครงการด้านธุรการ การเงิน บัญชี อย่างมีมีประสิทธิภาพ สรุปรายงานผลการดำเนินงาน ประสานงานภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งระดับองค์กรและรายกิจกรรม รวมทั้งประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อื่นๆ

          สมัชชาสุขภาพเป็นกระบวนการเครื่องมือ เวที โดยมีแกนนำ 5 แกนนำภายใต้ยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา มา รวมตัวกันจัดทำนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ อันเป็นเรื่องยากๆ ที่ต้องอาศัยพลังทางการเมือง พลังทางวิชาการ และพลังประชาสังคม มาร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่ดี นี่เป็นการเมืองภาคประชาชนและประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  40707

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง