Sub Navigation Links

webmaster's News

โชว์17หมู่บ้านอีสานน่าอยู่แก้ปัญหาผ่านรูปแบบสภาผู้นำชุมชน/ยกเป็นต้นแบบพัฒนาหมู่บ้านอื่น



โชว์17หมู่บ้านอีสานน่าอยู่แก้ปัญหาผ่านรูปแบบสภาผู้นำชุมชน/ยกเป็นต้นแบบพัฒนาหมู่บ้านอื่น



 โชว์17หมู่บ้านอีสานน่าอยู่แก้ปัญหาผ่านรูปแบบสภาผู้นำชุมชน/ยกเป็นต้นแบบพัฒนาหมู่บ้านอื่น

ขอนแก่น: ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)เป็นประธาน เปิดมหกรรม "ฮักแพงแบ่งปันอีสานสร้างสุข" เพื่อนำเสนอผลสำเร็จของการทำงานร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการขยะ ลดเหล้า ลดสารเคมีทางการเกษตรและปัญหาเด็กเยาวชน โดยเป็นการนำเสนอผ่านนิทรรศการและงานเสวนา
          นายสุปรีดา กล่าวว่า โครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบันของภาคอีสานได้เกิดการขยายเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ จำนวน 464 หมู่บ้าน 630 โครงการ ทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงประเด็นที่ประสบผลสำเร็จอย่างชุมชนน่าอยู่ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน การจัดทำแผนที่ชุมชนเพื่อแสดงตำแหน่งครัวเรือนที่ปลูกผัก ลดการใช้สารเคมีในการทำนา ลดต้นทุนทางการเกษตรชุมชนลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น หมู่บ้านลดละเลิกเหล้าในงานบุญประเพณี ร้านค้าบุหรี่ประกาศเป็นร้านค้าสีขาว รถเร่เลิกเหล้า กลยุทธ์ในการเข้าถึงพื้นที่ปลอดแอลกอฮอล์ของชุมชน ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนมีแนวโน้มลดลง
          นายสุปรีดา กล่าวต่อว่า การทำงานที่ผ่านมาทำให้เกิดผลลัพธ์ตามประเด็นต่างๆ ที่สามารถแก้ปัญหารวมถึงทางออกให้กับชุมชนที่ได้รับทุนสนับสนุนโครงการ ทั้งประเด็น เกษตรอินทรีย์ลดใช้สารเคมี มี 157 ชุมชน ที่ทำโครงการนี้ สามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืชได้จำนวน 18,219,827 บาท กลุ่มงานลดเหล้าและงานศพปลอดเหล้า เกิดกติกาในชุมชนและกติการ้านค้าในชุมชน จากการดำเนินงานของ 90 ชุมชน พบว่า เกิดบุคคลต้นแบบเลิกเหล้าจำนวน 677 คน มีงานบุญงานประเพณีปลอดเหล้าจำนวน 271 งานสามารถลดค่าใช้จ่ายจากค่าเหล้าลงได้จำนวน4,479,100 บาท คิดเฉลี่ยลดค่าใช้จ่ายค่าเหล้าได้งานละ 16,500 บาท
          "การจัดการขยะ/สิ่งแวดล้อม มีชุมชนดำเนินงาน 182 ชุมชน เกิดสภาผู้นำชุมชนมีการประชุมกันทุกเดือน เกิดกติกาข้อบังคับการทิ้งขยะในชุมชนและร่วมกันพัฒนาภูมิทัศน์รอบหมู่บ้านและพื้นที่สาธารณะทุกเดือนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ เกิดครัวเรือนคัดแยกขยะ 18,323 ครัวเรือน ในที่สุดมีปริมาณขยะลดลงเฉลี่ย 350,827 กิโลกรัมต่อเดือน ด้านการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนมีจำนวน 28 ชุมชน เกิดกลุ่มสภาเยาวชนจำนวน507 คน ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เด็กเยาวชนลดการเล่นเกมได้จำนวน 65 คน และลดปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชนลงได้ทั้ง 28 หมู่บ้าน เยาวชนเลิกเหล้า 176 คน เลิกบุหรี่ 28 คน และที่สำคัญไม่พบปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 1 ชุมชน" นายสุปรีดา กล่าว และว่า
          จากการสรุปบทเรียน พบว่าหัวใจความสำเร็จของโครงการชุมชนน่าอยู่ คือ กลไกสภาผู้นำชุมชนสภาผู้นำที่มาจากการคัดเลือกจากประชาคม ร่วมกับผู้นำเชิงโครงสร้างที่มีอยู่เดิมและเพิ่มแกนนำ จิตอาสาที่มีการรวมตัวกัน เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ อย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลไกการจัดการของชุมชนในสภาผู้นำชุมชน จึงนับเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาของชุมชน โดยชุมชนและเพื่อชุมชน เพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามในปี 2560 นี้ได้คัดเลือก17ชุมชนในภาคอีสาน เพื่อยกระดับการทำงานให้สามารถแก้ไขปัญหาในชุมชนได้ทุกปัญหาเพื่อเป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่นๆ ที่รับทุนจาก สสส.เข้ามาเรียนรู้และนำไปพัฒนาหมู่บ้านของตัวเองต่อไป

ที่มา : สยามรัฐ
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  23rd Feb 17

จำนวนผู้ชม:  34799

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว