Sub Navigation Links

webmaster's News

จัดการขยะยุคThailand 4.0



จัดการขยะยุคThailand 4.0



จัดการขยะยุคThailand 4.0

เชื่อหรือไม่ว่า ปัญหาขยะในเมืองไทยเข้าขั้นวิกฤตแล้ว เพราะไม่เพียงกลิ่นเหม็น ยังสร้างปัญหาที่ใครๆ อาจคาดไม่ถึง อย่างกรณีการเกิดเหตุไฟไหม้บ่อขยะ ทั่วประเทศ 10-15 ครั้งต่อปี ข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากคนทำงานสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว
          ผศ.ดร.บุญส่ง ไข่เกษ นายกสมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวในงานเสวนา 'การลดปริมาณขยะยุค Thailand 4.0' สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ว่า สถานการณ์ขยะมูลฝอยเวลานี้ คือ 1 คน ทิ้งขยะวันละ 1.11 กิโลกรัม เฉลี่ยปีละ  27 ล้านตัน แต่สามารถกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะได้เพียง 8 ล้านตัน ที่เหลือ กลายเป็นขยะตกค้าง
          จากการวิเคราะห์พบว่า ปัญหาขยะไม่ใช่เรื่องแก้ไขง่ายๆ เนื่องจากปริมาณขยะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่พื้นที่จัดเก็บขยะยังมีอยู่เท่าเดิม รวมไปงบประมาณในการจัดการ ปัจจุบันสูงถึง 25,000 ล้านบาทต่อปี
          "สิ่งที่จะทำให้เรื่องนี้ขับเคลื่อนไปได้ก็คือ คน แทนที่เราจะใช้หลักการ 3R  ก็ต้องเปลี่ยนเป็น '3R+1' โดย R อีกตัว คือ Re-Think ถ้าคนไม่คิด ก็ขับเคลื่อน ไม่ได้" ผศ.ดร.บุญส่ง กล่าว
          แน่นอนเมื่อการจัดการของภาครัฐสามารถแก้ปัญหาได้เพียงส่วนเดียวเท่านั้น ทางออกอีกหนึ่งที่นานาชาติยอมรับว่า ได้ผลที่ยั่งยืนและคุ้มค่า ก็คือ 'การกำจัดขยะมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิด' ซึ่งการสร้างแนวปฏิบัตินี้ขึ้นมา จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบริบทบางอย่างในสังคมให้เป็นทิศทางเดียวเสียก่อน
          ตั้งแต่นโยบายการลดปริมาณขยะมูลฝอย ซึ่งต้องยอมรับว่า ยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก ส่วนใหญ่มักกำหนดความรับผิดชอบไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก แต่หลังจากการพูดคุยภาคประชาชนบางส่วน เห็นว่า ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่กระบวนการผลิตสินค้า ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องทำร่วมกันตั้งแต่ผู้ผลิตสินค้า  ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และชุมชน
          ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องใส่ใจ ก็คือ วิธีบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการจัดการงบประมาณเรื่องขยะมูลฝอย ต้องยอมรับว่า ฝ่ายท้องถิ่นมีภารกิจงานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่งบประมาณส่วนกลางก็มีจำกัด ดังนั้นควรใช้มาตรการบางอย่างเข้ามาเสริม โดยยึดหลักว่า ใครสร้างขยะเยอะ ก็ต้อง จ่ายค่าจัดการขยะเยอะ เพื่อให้ทุกครัวเรือนกลับไปจัดการขยะในบ้านก่อนที่จะ ทิ้งขยะให้เป็นภาระของส่วนกลาง
       &n bsp;  นอกจากนี้กฎหมายก็เป็นอีกเครื่องมือที่จะช่วยให้จัดการขยะมูลฝอย ตั้งแต่แหล่งกำเนิดให้สามารถลุล่วงไปได้เร็วขึ้น โดยเวลานี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยฉบับใหม่แล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรต่อยอดด้วยการจัดทำกฎหมายหรือข้อบัญญัติ ท ี่เป็นประโยชน์ต่อการลดปริมาณขยะ
          อย่างไรก็ตาม ในอนาคตฝ่ายนิติบัญญัติ ควรมีการขับเคลื่อนกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม อาทิ กฎหมายที่เกี่ยวกับการรับคืนบรรจุภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะ โดยเฉพาะมาตรการทางภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะ กฎหมายที่ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าที่คำนึงถึงการแปรสภาพของสินค้าเป็นขยะด้วย

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  13th Jan 17

จำนวนผู้ชม:  38401

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9 พ.ศ.2559

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง