Sub Navigation Links

webmaster's News

ขาเคลื่อน “สมัชชาสุขภาพจังหวัด” โดย จารึก ไชยรักษ์



ขาเคลื่อน “สมัชชาสุขภาพจังหวัด” โดย จารึก ไชยรักษ์



ขาเคลื่อน “สมัชชาสุขภาพจังหวัด” โดย จารึก ไชยรักษ์

ย้อนหลังเมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้อ่านหลายท่านยังคงจำบรรยากาศแห่งการปรึกษาหารือ “ต่อยอดการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพระดับจังหวัด”
กันได้ ถึงวันนี้หลายจังหวัดได้ดำเนินการไปจนถึงการจัดสมัชชาสุขภาพจงัหวัดเพื่อหฉันทมติต่อข้อเสนอเชิงนโยบายกันแล้ว หนึ่งครั้งบ้าง สองครั้งบ้าง
บางจังหวัดจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่สามแล้ว คถามสำคัญคือ ผลสำเร็จของการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดไปถึงไหน ผมขอใช้พื้นที่นี้เพื่อนเสนอ
ภาพรวมการนำมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดไปปฏิบัติ โดยใช้ข้อมูลจากเวทีประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระดับภาค ทั้ง ๔ ภาค ช่วงเดือนสิงหาคม
และกันยายนที่ผ่านมามติสมัชชาสุขภาพจังหวัด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๕๙ มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๔๖ มติ ข้อมูลเบื้องต้นจาก ๔ ภาค พบว่า มีการ
นำมติไปปฏิบัติจนเกิดเป็นรูปธรรมแล้ว ๑๔๐ มติ คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๙๑ และมีนโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้นในระดับต่างๆ ดังนี้
(๑) กิจกรรมของเครือข่ายร้อยละ ๗๘.๕๗ ของจำนวนมติที่ถูกนำไปปฏิบัติ เช่น มติเรื่องคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนจังหวัดลำ มีการจัดตั้ง
ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวนาและเกษตรพื้นบ้านตำบลพิชัย หรือโรงเรียนชาวนา พิชัย เป็นต้น
(๒) นโยบายระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/อำเภอ ร้อยละ ๓๗.๑๔ ของจำนวนมติที่ถูกนำไปปฎิบัติเช่น มติเรื่องอาหารปลอดภัยจังหวัดลพบุรี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนของเทศบาลเมืองร่วมมือกับสาธารณสุขในการรับรองมาตรฐาน เช่น มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ มาตรฐานอาหารสะอาด
รสชาติอร่อย ในร้านอาหารและแผงลอยมาตรฐานโรงอาหารในสถาบันการศึกษาโรงพยาบาล และสถานประกอบการเป็นต้น
(๓) นโยบายระดับจังหวัด ร้อยละ ๔๓.๕๗ ของจำนวนมติที่ถูกนำไปปฏิบัติ เช่น มติเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ว่า
ราชการจังหวัดประกาศเป็นนโยบายของจังหวัด และเป็นวาระระดับท้องถิ่น ให้บรรจุเรื่องนี้ในที่ประชุมส่วนราชการจังหวัดทุกเดือน เป็นต้น
กลไกและช่องทางสำคัญในการขับเคลื่อน กลไกหลักในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพจังหวัด คือเจ้าของประเด็น โดยคณะทำงานสมัชชา
สุขภาพจังหวัดเป็นผู้เอื้ออำนวยให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ส่วนช่องทางการขับเคลื่อนมติ ได้แก่ การนำเสนอมติในที่ประชุมส่วนราชการจังหวัด ที่ประชุม
ภาคีเครือข่าย การส่งเอกสารมติให้กับผู้เกี่ยวข้อง การจัดประชุมวางแผนการขับเคลื่อนมติร่วมกัน และการสื่อสารทางสังคม เป็นต้น
ปัจจัยเงื่อนไขสำคัญ ที่ทำให้การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดสำเร็จ เช่น
(๑) การพัฒนาประเด็น/ร่างมติได้ใช้สถานการณ์/ ข้อมูลในพื้นที่เป็นตัวตั้ง ทั้งขอบเขตของปัญหาและผู้มีส่วนได้เสียและควรคำนึงถึงความสอดคล้อง
กับกระแสนโยบายของประเทศ จังหวัดนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัด
(๒) ควรออกแบบกระบวนการพัฒนาข้อเสนอ เชิงนโยบายให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างเจ้าภาพและเครือข่ายสมัชชาสุขภาพตลอดกระบวนการ
(๓) การพัฒนาประเด็น/ร่างมติ ต้องมีเจ้าภาพ ในการขับเคลื่อน เชื่อมทรัพยากรและ ติดตามความก้าวหน้า เป็นระยะ
(๔) การพัฒนาประเด็น/ร่างมติ ต้องเชิญหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้เสีย มาร่วมเสนอ นโยบายตั้งแต่ต้นเพื่อวางเป้าหมาย ร่วมกัน และต้องกำหนดบทบาทของแต่ละ
หน่วยงาน/องค์กร/เครือข่ายให้ชัดเจน ต้องไม่ฝากความหวังไว้กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ในข้อเสนอต่างเครือข่ายที่มาพัฒนาร่วมกันต้องขับเคลื่อนเองได้ในระดับของตนด้วย
(๕) นโยบายที่ผ่านการรับรองเป็นมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดควรมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องหรือการทำ MOU กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อผลักดันงานเข้าสู่ระบบ
(๖) การสื่อสารประเด็นนโยบายไปยังทุกระดับตั้งแต่ผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชน และหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดำเนินงานเรื่องนั้น ให้เห็นสถานการณ์ร่วมกันตลอดกระบวนการ

ปัจจัยที่ไม่สามารถทำให้เกิดการขับเคลื่อนได้ ได้แก่
(๑) ข้อเสนอต่างๆ ถูกฝากความหวังไว้กับหน่วยงานภาครัฐ ผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กรขับเคลื่อนต่างๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายหน่วยงานหรือบุคลากร อาจจะทำให้มติหยุดชะงักได้
(๒) ทัศนคติความเข้าใจต่อกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมข องกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องว่าไม่สามารถทำได้ หรือมองทุกอย่าง เป็นอุปสรรคหรือติดขัด
ไม่ได้นำไปสู่การหาทางออกร่วมกัน
(๓) คณะทำงานขาดองค์ความรู้เฉพาะประเด็นนั้นๆ ไม่สามารถมองเป้าหมายได้ รวมถึงไม่สามารถย่อยข้อมูลเพื่อสื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่าง ๆ
(๔) ข้อเสนอในมติสมัชชาสุขภาพขาดองค์กรหลักในการขับเคลื่อน หรือสนับสนุนนโยบายที่ชัดเจน
(๕) หน่วยงานขับเคลื่อนไม่ได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของประเด็นตั้งแต่ต้นถึงวันนี้การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมผ่านสมัชชาสุขภาพจังหวัดได้
คืบหน้าไปมาก “สมัชชาสุขภาพจังหวัด”นอกจากจะเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาเชิงนโยบายด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในพื้นที่ ยังเป็นกระบวนการและพื้นที่กลางที่หลายภาคส่วน
ทั้งราชการ ประชาชน นักวิชาการ และเอกชน ได้มา ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามประเมินผล และ ร่วมรับผลประโยชน์ไปด้วยกัน โดยมี
เป้าหมายเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะในพื้นที่เป็นสำคัญต้องขอชื่นชมภาคีเครือข่ายที่ดำเนินงานได้เป็นอย่างดีและเห็นผลเป็นรูปธรรม และขอขอบคุณ
นพ.อำพล  จินดาวัฒนะ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการในจังหวัด มาตลอด รวมทั้งทีมงาน สช. และแกนนำเครือข่าย
ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th Nov 16

จำนวนผู้ชม:  35098

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพจังหวัด

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง