Sub Navigation Links

webmaster's News

รพ.สารภีสานพลังชุมชนดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง



รพ.สารภีสานพลังชุมชนดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง



รพ.สารภีสานพลังชุมชนดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

การดูแลแบบประคับประคอง หรือ (Palliative care) เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษาโรคตามมาตรฐาน ควบคู่การบรรเทาความทุกข์ทรมานทางกาย จิตใจ จิตวิญญาณตามหลักศาสนา

โดยผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมตัดสินใจในแนวทางการรักษาจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต เพื่อให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบ และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้นำคณะลงพื้นที่ศึกษาดูงานการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม “สานพลังโรงพยาบาล ครอบครัว และชุมชน ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง” ที่โรงพยาบาลสารภี จ.เชียงใหม่

เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนี้คือรากฐานของจิตอาสา เป็นที่กำเนิดอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แห่งแรกของประเทศไทย และต่อยอดมาสู่การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองจนประสบความสำเร็จ

นพ.จรัส สิงห์แก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสารภี กล่าวว่า ขณะนี้สังคมไทยเข้าสู่ยุควัตถุนิยมและการบริโภค พฤติกรรมตรงนี้นำไปสู่โรคเรื้อรัง และการดูแลตนเองของคนไทยน้อยมาก จึงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง หลอด

เลือดหัวใจ จนส่งผลให้เกิดผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด

“ที่โรงพยาบาลสารภีสำรวจล่าสุด พบผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงจำนวน 762 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าสู่ระยะสุดท้ายแล้วจำนวน 200 ราย ถือว่าเป็นภาระงานที่หนักมาก ภายใต้บริบทที่ต้องดูแลทั้งส่งเสริมการป้องกันโรคและการดูแลรักษาพยาบาล และต้องรักษา

พยาบาลผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยในที่มีจำนวนมากเช่นกัน ดังนั้นการบริหารจัดการในยุคที่มีผู้รับบริการจำนวนมาก ในขณะที่ผู้บริบาลน้อยจำเป็นที่จะต้องสร้างการมีส่วนร่วมของชุน คือ การสร้างจิตอาสาในชุมชน ทั้ง อสม.และจิตอาสาที่เขามีใจอยากจะมาช่วย

เหลือดูแล รวมทั้งเครือข่ายพระภิกษุสงฆ์ ผู้นำศาสนามาร่วมดูแลด้วย” นพ.จรัส กล่าว

การสร้าง “อาสาสมัครสาธารณะสุข” มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความสนิทสนม โรงพยาบาลสารภีจึงมีมาตรการในการสร้างเครือข่ายทุกตำบล โดยมีพยาบาลที่จะไปคอยดูแลในระดับตำบลเข้าไปอยู่ด้วย นอกจากนี้มีการเพิ่มพูนทักษะ โดยมีหลัก

สูตรที่ได้รับการสนับสนุนทั้งจากส่วนกลาง และที่โรงพยาบาลสารภีจัดทำขึ้นมาเอง รวมทั้งการเอาจารีตประเพณีต่างๆ ที่มีอยู่ดั้งเดิม ซึ่งเป็นความเชื่อสามารถสร้างจิตใจให้ร่มเย็นสงบสุขขึ้นมาควบคู่ ดังนั้นที่โรงพยาบาลสารภีจึงมีการใช้หลักแพทย์พื้นบ้าน

หรือแพทย์แผนไทยมาผสมผสานในการดูแลผู้ป่วยประคับประคองที่บ้านอีกด้วย

ในเรื่องงบประมาณ นพ.จรัส อธิบายว่า งบประมาณที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยประคับประคองรายหนึ่งกว่าจะจบชีวิต จำนวนประมาณ 15,000-20,000 บาท แต่ช่วงหลังที่ใช้การประคับประคองและใช้หลักศาสนาเข้ามา ร่วมทั้งการดูแลด้านจิตใจ ความสนิท

สนม และใช้หลักแพทย์แผนไทยเข้าไปนวดประคับประคอง พบว่ามีการพึ่งพิงวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ลดลงบางรายไม่ได้ใช้ยามอร์ฟีน ส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์มีการหยิบยืม เช่น เตียงหมุน ถังออกซิเจน เบาะลม เป็นต้น ขณะเดียวกันพี่น้อง

ประชาชนร่วมบริจาค เช่น เงิน อุปกรณ์ทางการแพทย์ มีการบริจาครถยนต์1 คัน และการเข้าไปเป็นอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยร่วมด้วย นอกจากนี้มีการตั้งกองทุนโลงศพ และกองทุนอุปกรณ์ ซึ่งสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของญาติได้

ด้านนางปวีณา วารปรีดา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ฝ่ายชุมชน) บอกว่า งานตรวจตรงนี้เริ่มต้นจากการวางแผนจำหน่ายต่อจากแผนกผู้ป่วยใน ซึ่งต้องเข้าไปในตึกผู้ป่วยเพื่อไปทำความรู้จักกับคนไข้ในรายที่มีความจำเป็นจะต้องดูแลต่อเนื่อง และ

ประเมินซ้ำว่าจะสามารถกลับไปดูแลต่อที่บ้านได้ เช่น ดูแลความสะอาดร่างกาย การใช้อุปกรณ์ การให้อาหารทางสายยาง การดูแลสายปัสสาวะ บางรายมีแผลกดทับ ทางหน่วยบริการเยี่ยมบ้านจะต้องไปประเมินซ้ำว่าทางวอร์ดได้สอนการดูแลผู้ป่วย การใช้

อุปกรณ์แล้วหรือยัง ซึ่งถ้าขาดตกบกพร่องตรงไหนงานเยี่ยมบ้านก็จะเข้าไปเพิ่มเติมให้พร้อมหาผู้ดูแลหลัก

“กรณีผู้ป่วยติดเตียง หน่วยบริการเยี่ยมบ้านจะออกเยี่ยมผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาล 1-2 อาทิตย์ ส่วนผู้ป่วยประคับประคอง ติดตามอาการภายใน 7 วัน หรือไปเตรียมความพร้อมที่บ้านของผู้ป่วยก่อนที่จะไปจำหน่าย เช่น จัดเตียงที่นอนลม

ออกซิเจน อุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน จะมีทีมสหวิชาชีพออกไปตามชุมชน ซึ่งขณะนี้มี 4 ทีม ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล กายภาพ เภสัชกร และนักกิจกรรม หรือนักโภชณา โดย 1 วัน จะตรวจเยี่ยมผู้ป่วยจำนวน 6 ราย

ซึ่งหากผู้ป่วยที่มีอาหารคงที่ทางสหวิชาชีพก็จะส่งต่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ดูแลต่อ และถ้าอาการดีขึ้นก็จะส่งต่อให้จิตอาสาติดตามอาการ” นางปวีณา กล่าว

งานที่ทำต้องดูแลประคับประคองผู้ป่วยจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต โดยจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ดูแลและผู้ป่วยเพื่อที่จะส่งผ่านการเดินทางต่อของชีวิต คือ ดูแลทางด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยดึงพระสงฆ์เข้ามามีบทบาท เยี่ยมผู้ป่วย

และสวดมนต์ให้กับผู้ป่วยที่อาการยังดี หากเป็นผู้ป่วยระยะท้ายใกล้เสียชีวิตพระสงฆ์จะเทศมหาบาก ซึ่งเชื่อว่าผู้ป่วยจะพ้นกรรมและจากไปอย่างสงบ

ขณะที่ พระครูกิตติปริยัติวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดท่าต้นกวาว เล่าว่า ไปเยี่ยมญาติโยมที่ไม่สบายอยู่โรงพยาบาลและบริเวณหมู่บ้าน-ตำบล เนื่องจากโยมที่ป่วยหนักต้องการพระให้ไปพูดปะโลมปลอบใจหรือไปให้พร บางครั้งก็ไปเทศ นาธรรมเป็นภาษาพื้นเมืองให้

โยมผู้ป่วย ให้สัจธรรม โดยต้องดูลักษณะของโยมว่าเขาเข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างไร ถ้าคนที่เขาเคยไปปฏิบัติมาเขาก็พูดถึงเรื่องการปฏิบัติ ถ้าโยมชอบเรื่องการสวดมนต์ก็จะนำสวดมนต์ให้ หรือเทศนาธรรมให้ฟังและอธิบายควา มเป็นอนิจังของสังขาร

เพื่อให้ทำจิตทำใจไม่ทุกข์ทรมาน

“หลังจากที่ได้ไปเยี่ยมบางรายอยู่ได้นาน ทั้งที่หมอที่โรงพยาบาลบอกว่าอยู่ได้ไม่เกิน 1 เดือน หรือ ไม่เกิน 2 อาทิตย์บ้าง บางรายอยู่มาหลายเดือน และเป็นปี ซึ่งคงจะมีหลายอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคสูงอายุอาการดีขึ้นอย่างเห็น

ได้ชัด” พระครูกิตติปริยัติวัฒน์ กล่าว

ที่มา  สยามรัฐออนไลน์
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  10th Nov 16

จำนวนผู้ชม:  35124

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   มาตรา12

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง