Sub Navigation Links

webmaster's News

แกะรอย 6 ยักษ์ใหญ่ ค้าสารเคมีข้ามชาติ



แกะรอย 6 ยักษ์ใหญ่ ค้าสารเคมีข้ามชาติ



คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554 หน่วย งาน รัฐพยายามโปรโมทไทยเป็น “ครัวอาหารโลก” หรือเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกสินค้าทางการเกษตรยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น แต่อีกมุมหนึ่ง “ไทย” เป็นผู้นำใช้สารเคมีกำจัดแมลงและวัชพืชติดอันดับโลกเช่นกัน ข้อมูล ธนาคารโลกปี 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว ไทยใช้สารเคมีติดอันดับ 5 ของโลก คือ 0.86 กิโลกรัมต่อเฮกเตอร์ (1 เฮกเตอร์เท่ากับ 6.25 ไร่)
อันดับ 1 คือฝรั่งเศส 1.48, อันดับ 2 เวียดนาม 1.45, อันดับ 3 สเปน 1.11 และอันดับ 4 บราซิล 0.87 ยิ่งไปกว่านั้นหากเปรียบตัวเลขเมื่อ 10 ปีที่แล้วไทยเพิ่มปริมาณการใช้ “ยาฆ่าแมลง” ขึ้น 3 เท่าตัว “พุทธิณา นันทะวรการ” นักวิจัยมูลนิธินโยบายสุขภาวะ ให้ข้อมูลว่า
เครือข่าวเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีหลักฐานเป็นผลงานวิจัยชี้ชัดว่า 10 ปี ที่ผ่านมา เกษตรกรไทยใช้สารพิษเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ตัวเลขนำเข้าในปี 2542 ประมาณ 6,000 ล้านบาทและเมื่อปี 2553 เพิ่มสูงถึง 1.8 หมื่นล้านบาท สอด คล้องกับข้อมูลล่าสุดจากมูลนิธิชีววิถี ที่ระบุว่า 4 สิงหาคม 2554 สหภาพยุโรปได้รับรายงานจาก “อาร์เอเอสเอฟเอฟ” หรือระบบการแจ้งข้อมูลสินค้าอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ด้วยระบบเตือนภัยเร่ง ด่วน (Rapid Alert System for Food and Feed : RASFF) ว่า
ในการสุ่มตรวจผักส่งออกของไทยไปอียูนั้น เจอสารเคมีตกค้าง 15 รายการ เป็นสารพิษร้ายแรงที่ทั่วโลกห้ามใช้แล้วถึง 6 รายการ หรือร้อยละ 40 ได้แก่ “คาร์โบฟูราน” และ “เมโทมิล” เช่น ผักกระเฉดพบสูงเกิน 18 เท่า มาตรฐานกำหนดไม่เกิน 0.02 มล./กก. แต่พบในผักกระเฉด 0.36 มล./กก. หากดูภาพรวมทั้ง 70 ประเทศที่ส่งออกผักไปขายอียูแล้ว ปรากฏว่าตรวจพบสารพิษจากผักไทยมากที่สุด เป็นอันดับ 1 ส่วนอันดับ 2 คือตุรกี และอินเดียเป็นอันดับ 3 คำถาม คือ ทำไมประเทศไทยกลายเป็นผู้ส่งออก “ผักอาบยาพิษ” อันดับ 1 ของโลก? ย้อน อดีตไป 60 กว่าปีที่แล้ว พ.ศ. 2491 คนไทยรู้จักยาฆ่าแมลงตัวแรกในชื่อ “ดีดีที” (DDT)
หลังจากนั้นสารเคมีเหล่านั้นก็ทะลักเข้ามาเรื่อยๆ จึนถึงปี 2553 มีสารเคมีเกษตรขึ้นทะเบียนไม่ต่ำกว่า 700 ชนิด มีชื่อการค้าหรือยี่ห้อต่างๆ อีก 2 หมื่นรายการ เฉพาะปี 2553 มีการสั่งนำเข้าปริมาณเกือบ 118 ล้านกิโลกรัม มูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท งาน วิจัยหัวข้อ “สถานการณ์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช” เมื่อปีแล้วของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใหรายละเอียดว่า ประเทศไทยมีบริษัทค้าสารเคมีเกษตรขนาดใหญ่ประมาณ 100 แห่ง และมีกลุ่มผู้ค้าส่ง 500 กว่าราย รวมถึงร้านค้าย่อนอีก 4,500 ราย แต่ส่วนแบ่งของตลาดซื้อขายเกือบทั้งหมดอยู่ภายใต้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เพียง 6 ราย กลุ่มนี้ทั้งผลิตเองและแบ่งขายด้วย สัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของตลาดสารเคมีเกษตรโลกอยู่ในมือ 6 บริษัทน้ ได้แก่ 1. “บริษัทไบเออร์” ของเยอรมัน 2. “บริษัทซินเจนทา” ของสวิตเซอร์แลนด์ 3. “บริษัทบีเอเอสเอฟ” ของเยอรมัน 4. “บริษัท ดาว อะโกรไซแอนส์” ของอเมริกา 5. “บริษัท มอนซานโต้” ของอเมริกา และ 6. “บริษัทดูปองท์” ของอเมริกา “วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ” ผอ.มูลนิธิชีววิถี เปิดเผยถึง 5 กลยุทธ์ของ “กลุ่มธุรกิจค้าสารเคมีเกษตรข้ามชาติ” ที่ทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งพ่นยาพิษติดอันดับโลก กลยุทธ์ที่ 1 คือการชักจูงหรือจ้างวานให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หว่านล้อมชาวบ้านให้ซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทใหญ่ๆ
โดยเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะไม่มีภูมิต้านทานแมลงหรือโรคที่เกิดจากแมลง ถือว่ายิงทีเดียวได้นก 2 ตัว เพราะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์และซื้อยาฆ่าแมลงด้วย ยังไม่รวมถึงปุ๋ยและยาฆ่าหญ้า ฯลฯ เพราะบริษัทใหญ่เหล่านี้มีสินค้าขายแบบครบวงจรอยู่แล้ว 2. ชักจูงให้เกษตรกรไทยปลูกพืชต่างถิ่น เช่น ผักคะน้า ผักกะหล่ำ สตรอเบอรี่ ฯลฯ ซึ่งการปลูกต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงจำนวนมาก เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดินและป้องกันแมลงไม่ให้มากัดกิน ขั้นตอนต่อไปคือ 3.ส่งตัวแทนไปกดดันรัฐบาลไม่ให้เสียภาษี อ้างว่าเป็นสารเคมีเพื่อการเกษตร หากเก็บภาษีจะทำให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มต้องขายราคาแพง พี่น้องเกษตรกรจะเดือดร้อน ทำให้ยกเว้นภาษีนำเข้าตั้งแต่ พ.ศ.2534 4. บริษัทยักษ์ใหญ่จะนำเข้าสารเคมีเหล่านี้มาจากประเทศแม่ แล้วแบ่งขายให้บริษัทเล็กๆ ในไทย แม้ว่าสารเคมีพิษรายบางตัวจะห้ามใช้แล้วประเทศตัวเอง
 เช่น “คาร์โบฟูราน” ที่อเมริการห้ามใช้ในประเทศตัวเอง แต่อนุญาติให้ผลิตและส่งขายประเทศอื่นๆ ได้ เช่นเดียวกับ “เมโทมิล” ซึ่งอินเดียห้ามใช้แต่ผลิตขายประเทศอื่นได้ 5.ใช้กลยุทธ์แข่งขันด้านการตลาดสูง เพื่อสร้างความต้องการให้เกษตรกรยาฆ่าแมลงหลายยี่ห้อเป็นสารเคมีตัวเดียวกัน แต่พอลูกค้าใช้ไม่ได้ผล ก็นำไปปรับสูตรนิดหน่อยหรือใช้สูตรเดิมแล้วตั้งยี่ห้อใหม่ เหลี่ยนขวดใหม่ปรับชื่อฉลากสร้างความสับสนให้ผู้ซื้อ “กลยุทธ์ การขายเป็นตัวทำแต้ม กลุ่มธุรกิจสารเคมียักษ์ใหญ่ชอบใช้ เพื่อให้ลูกค้าซื่อสัตย์กับยี่ห้อตัวเอง ทั้งลดราคาแจกของแถม ชิงโชค สะสมแต้ม ผ่อนจ่ายค่าสินค้า
สำหรับตัวแทนการขายหรือร้านค้าจะจูงใจโดยแจกทอง แจกรถยนต์ หากร้านไหนขายได้มากอาจโชคดีไปทัวร์ท่องเที่ยต่างประเทศด้วย แต่ที่น่าเป็นห่วงสุดตอนนี้คือ การใช้วิทยุชุมชนโฆษณาเกินจริง วันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ได้ยื่นข้อเรียกร้องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ให้มีการควบคุมการโฆษณาและกลยุทธ์ส่งเสริมการขายสารเคมีเกษตรอย่างเข้มงวด หลังจากนี้เราจะพูดกันว่า ถึงเรื่องภาษี ว่ายังสมควรให้ยกเว้นต่อไปหรือไม่ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร” วิฑูรย์ตั้งคำถามทิ้งท้าย
หน้า: 1(ล่างซ้าย),Ad Value: 171,675 PRValue (x3): 515,025 20110908_1361_HA_Khom Chad Luek

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  36036

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง