Sub Navigation Links

webmaster's News

คสช.ยึดบทเรียนมาบตาพุด-ดันกลไก HIA เข้าอาเซียน



คสช.ยึดบทเรียนมาบตาพุด-ดันกลไก HIA เข้าอาเซียน



               
คสช.ใช้บทเรียนมาบตาพุด-มาตรา 67 ของรธน. ที่กำหนดให้ทำ HIA เพื่อสร้างสมดุลระหว่างพัฒนาอุตฯกับชุมชน

คสช.ใช้บทเรียนมาบตาพุด-มาตรา 67   ของรธน. ที่กำหนดให้ทำ HIA เพื่อสร้างสมดุลระหว่างพัฒนาอุตฯกับชุมชน   ผลักดันเข้าสู่เวทีอาเซียนเป็นข้อตกลงระดับภูมิภาคของประเทศสมาชิก   “หมออำพล”เผยหลักเกณฑ์วิธี HIA   ตามอำนาจในม.25(5)ของสช.คืบหน้าไปแล้ว        เตรียมส่งให้ คสช.   ส่วนข้อเสนอของกรรมการสุขภาพแห่งชาติกรณีมาบตาพุดก็รุดหน้า

       
       


          เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.52 ที่ทำเนียบรัฐบาล    มีการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)  โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ   นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน      มีวาระรายงานความคืบหน้ากรณีข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผลกระทบจาก  อุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดและจังหวัดระยอง   และผลสรุปจากการจัดประชุมนานาชาติการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพภาคพื้นเอเชีย  แปซิฟิค 2008 ที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาจนเกิด   “ปฎิญญาเชียงใหม่” ร่วมกัน   โดยเป็นการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ หรือ   HIA (Health Impact Assessment)   ในฐานะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาประเทศอย่างเป็นธรรมและไม่ละเลยต่อสุข  ภาวะของประชาชน ดังนั้น สช.เห็นว่าบทเรียนจากมาบตาพุด ตลอดจนมาตรา 67   ของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ทำรายงาน HIA   จึงเห็นควรนำปฎิญญาเชียงใหม่เข้าสู่ข้อตกลงระดับอาเซียน
         
      นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า   หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาค  ตะวันออก ที่มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน   เข้ามาพิจารณากรณีมีข้อเสนอการชะลอการขยายก่อสร้างอุตสาหกรรมในพื้นที่เพื่อ  ปฏิบัติตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ   ที่บัญญัติว่าโครงการที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง   ต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA)   รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและต้องมีองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้  ความเห็นด้วย
      ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก   ได้มีมติเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ที่ผ่านมาให้กระทรวงสาธารณสุข   และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือ สช.   รับเรื่องการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA)   ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าหน่วยงานใดรับผิดชอบเรื่องดังกล่าว   ไปเร่งดำเนินการแนวทางออกระเบียบหรือกำหนดวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม   จากนั้นนำเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 2 สัปดาห์
      ขณะเดียวกัน   สช.มีหน้าที่และอำนาจ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ  มาตรา 25(5)   ให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบสุขภาพ  แห่งชาติ   และผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะทั้งระดับนโยบายและระดับ  ปฏิบัติการ ดังนั้น   สช.และหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายได้หารือจนได้แนวทางข้อสรุปโดยเสนอแนวทางไว้   ได้แก่
      1. เสนอให้รวมกระบวนการเรื่อง HIA   ไว้กับกระบวนการจัดทำและพิจารณารายงาน EIA   2.ควรใช้แนวทางตามที่   สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)   กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯพัฒนาขึ้น   แต่ควรเพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพร่วมคณะผู้ชำนาญการ   กระบวนการกำหนดขอบเขตผลการประเมินผลกระทบ (Public scoping)    และการตรวจสอบร่างรายงานโดยสาธารณะ  (Public   Review)รวมทั้งให้มีการปฎิรูประบบ EIA ไปพร้อมกัน  3.ควรเร่งการออก   พ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และ  4. สช.   จัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการ HIA   ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมจัดเวทีรับฟังความเห็นในวงกว้างด้วย   ซึ่งข้อสรุปเหล่านี้จะจัดส่งให้รัฐบาลต่อไป
      ส่วนความคืบหน้าการแก้ปัญหา  มาบตาพุด เลขาธิการ คสช. เปิดเผยว่า ข้อเสนอ 5 ข้อของ   คสช.มีความคืบหน้าไปหลายเรื่อง เช่น   การให้รัฐบาลทบทวนและปรับแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง   โดยตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน   ทางครม.ได้มอบให้คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ไปพิจารณา   และคณะกรรมการฯมีกรอบการพัฒนาให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนายั่งยืนและจัดทำผัง  เมืองรวมที่ทุกฝ่ายยอมรับ และในเรื่องระบบบริการขั้นพื้นฐาน   ได้กำชับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯและกระทรวงเกษตรฯแก้ไขการจัดสรรน้ำให้ครอบ  คลุมทั้งภาคอุตสาหกรรม  ภาคเกษตร  ภาคชุมชน   นอกจากนี้ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำแผนยกระดับการบริการสาธารณสุข
      ด้านการ  จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ   ได้ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม   ตลอดจนหน่วยเกี่ยวข้อง   พัฒนาศักยภาพศูนย์เฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม   ส่วนการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรมและ  สารเคมีในระดับจังหวัด ซึ่งทาง   สช.ได้ประชุมหารือกับผู้ประกอบการรายใหญ่ในพื้นที่มีความคืบหน้าพอสมควรแล้ว
      นพ.อำพล กล่าวด้วยว่า การใช้กลไก HIA   เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศไม่ให้ละเลยต่อเรื่องสุขภาวะของประชาชน   ไม่สำคัญเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น     ในการจัดประชุมนานาชาติการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค   2008   เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา    ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากนานาประเทศ  จนได้มาซึ่ง “ปฏิญญาเชียงใหม่”     ที่เป็นพันธะสัญญาจะช่วยกันผลักดันให้หน่วยงานเกี่ยวข้องของแต่ละประเทศนำ  กลไก HIA ไปใช้ และมีการพัฒนากลไกนี้ด้วย   โดยประเทศสมาชิกต่างเห็นพ้องว่าควรผลักดันเรื่อง HIA   เข้าสู่ที่ประชุมอาเซียน   ซึ่งวันนี้ คสช.ได้มอบหมายให้ สช.   ประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน   และหน่วยงานอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันการพัฒนากลไก HIA   สำหรับเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาภูมิภาคนี้ต่อไป
      ----------------------------------------------
    ทีมข่าว สข.นิวส์ รายงาน

   

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  7th May 12

จำนวนผู้ชม:  36158

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง