Sub Navigation Links

webmaster's News

รุกคืบขับเคลื่อนมติตรวจสุขภาพฯ



รุกคืบขับเคลื่อนมติตรวจสุขภาพฯ



สุขภาพที่จำเป็นสำหรับประชาชนอย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในช่วง ๒ ปี ที่ผ่านมามติดังกล่าวมีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน

“แนวทางที่สำคัญที่สุด คือข้อที่ ๑ กระทรวงสาธารณสุขทำได้ไม่เลว โดยเฉพาะกรมการแพทย์ ได้ทำแนวทางขึ้นมา ซึ่งแนวทางนี้ไม่ได้ทำเอง เพราะถ้าทำเองจะไม่มีแนวรับ เขาใช้การสานพลังจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะสภาวิชาชีพทั้งหลายมากำหนดแล้วเผยแพร่จนเป็นรูปธรรม
” นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ประธานคณะทำงานติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน และที่ปรึกษาคณะทำงานติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียม กล่าวถึงความคืบหน้าของมติดังกล่าวกรมการแพทย์ เจ้าภาพหลักกลไกสคัญที่ทำให้มติดังกล่าวคืบหน้าอย่างเป็น
รูปธรรมคือ การมีเจ้าภาพหลักที่ชัดเจน ในที่นี้ก็คือ กรมการแพทย์ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้ง
“คณะกรรมการพัฒนาการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน
” ซึง่ มีนพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธานทั้งนี้กรมการแพทย์ได้เดินหน้าโดยการเชื่อมโยงสภาวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาร่วมกันออกความเห็นเพื่อรวบรวมจัดทำ “หนังสือแนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน” ซึ่งจะใช้เป็น
แนวทางการตรวจสุขภาพของประชาชนใน ๓ กลุ่มวัย คือ กลุ่มเด็กและวัยรุ่น (๐-๑๘ ปี) กลุ่มวัยทำงาน (๑๘- ๖๐ ปี) และกลุ่มผู้สูงอายุ (๖๐ ปีขึ้นไป)

นพ.วิวัฒน์ กล่าวว่า “ได้มีการนำเสนอหนังสือเล่มนี้ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ ปรากฏว่า ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากภาคีเครือข่ายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรในระบบหลักประกัน
สุขภาพทั้ง ๓ กองทุน พร้อมที่จะรับแนวทางดังกล่าวไปปรับใช้กับสิทธิประโยชน์ของประชาชนในแต่ละกองทุน”
ขณะเดียวกันกรมการแพทย์ยังได้นำแนวทางดังกล่าวไปใช้ปฏิบัติกับโรงพยาบาลต่างๆ ในสังกัด โดย
ได้นำร่องที่โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม ผลปรากฏว่า ผู้ให้บริการมีความเข้าใจในหลักการและเห็นความสำคัญของ
หนังสือแนวทางการตรวจสุขภาพฯ สามารถดำเนินการในโรงพยาบาลต่างๆ ที่กล่าวมาได้ในร ะดับหนึ่ง นอกจากนี้กรมการแพทย์ยังมีเป้าหมายที่จะนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในโรงพยาบาลรัฐในทุกจังหวัด
ภายในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ พร้อมกันนั้นก็ได้ร่วมมือ กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
จัดทำแอปพลิเคชันสำหรับประชาชนให้สามารถเข้าถึง คำแนะนำำการตรวจสุขภาพ เพื่อจะได้ทราบว่าควรตรวจ
สุขภาพถี่หรือห่างเพียงใด ตรวจอะไร เมื่อใด และผลการตรวจมีความสำคัญอย่างไร
“การร่วมกับ สสส. เป็นไปตามแนวทางข้อที่ ๕ ขอให้ สสส. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำเครื่องมือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ประชาชนทุกคน สามารถเขา้ ถึง และใช้ประโยชนไ์ด้ซึ่งก็คือแอปพลิเคชั่น ”นพ.วิวัฒน์ กล่าว ภาพรวมไปได้สวย เหลือแค่ความร่วมมือ จากพื้นที่

นพ.วิวัฒน์ ยังได้ให้รายละเอียดถึงความคืบหน้าในแนวทางการขับเคลื่อนมติการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน จากแนวทางทั้ง ๗ ข้อ
ดังนี้

ข้อที่ ๓ ขอให้ทั้ง ๓ กองทุน ใช้แนวทางเดียวกันซึ่งดำเนินไปได้ดี เพราะทั้ง ๓ กองทุน ให้ความสนใจและมีมติตรงกันว่าจะปรับให้มีการใช้แนวทางของกรมการแพทย์

ข้อที่ ๔ ให้สถานบริการทุกแห่งสนับสนุนการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม ซึ่งเจ้าภาพหลักก็คือกรมการแพทย์ สามารถให้โรงพยาบาลรัฐดำเนินการได้

ข้อที่ ๕ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ ซึ่งได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น

ข้อที่ ๖ ให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)ไปศึกษาวิจัยแนวทางที่มีอยู่นั้น มีจุดอ่อนอย่างไรและต้องปรับแก้อย่างไร ซึ่งก็ดำเนินการไปแล้ว

ข้อที่ ๗ รายงานความก้าวหน้าทุก ๒ ปี ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๘

สำหรับข้อที่ ๒ ขอให้ทุกภาคีสมาชิกของสมัชชา สุขภาพแห่งชาติ นำไปเผยแพร่ขับเคลื่อนในระดับท้องถิ่น

นพ.วิวัฒน์ กล่าวว่า “การขับเคลื่อนในแต่ละมติ ไปได้ด้วยดี ยกเว้นข้อที่ ๒ ให้ภาคีทุกเครือข่ายมาร่วมกันซึ่งพบว่าบางจังหวัดก็สนใจ แต่บางจังหวัดก็ไม่สนใจ มันจึงไปได้ช้า แต่เราก็ได้ใช้กลไกของ สช. จากเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปีที่แล้ว จัดเป็นวาระพิเศษประชุมแยกต่างหากให้ภาคีเข้าฟัง ซึ่งก็ต้องช่วยกันขับเคลื่อนต่อไป”

เป็นไปได้ว่า แนวโน้มที่ประชาชนจะให้ความสำคัญมีมากขึ้นตามลำดับ ด้วยผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมจาก
การทำงานในช่วง ๒ ปี ที่ผ่านมา และจะมีผลอย่างอัตโนมัติในการเชื่อมโยงภาคีในพื้นที่ให้กระชับมากยิ่งขึ้น...

ที่มา นิตยสารสานพลัง ฉบับที่ ๗๔ ปีที่ ๘

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  26th Oct 16

จำนวนผู้ชม:  34919

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง