Sub Navigation Links

webmaster's News

หนังสือ หมอไทยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙ พ่อหมอชอย สุขพินิจ



หนังสือ หมอไทยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙ พ่อหมอชอย สุขพินิจ



หนังสือ หมอไทยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙
หมอไทยดีเด่นแห่งชาติ กรูหมอพื้นบ้านชุมชนไทยเขมรแห่งบ้านโคกพยูง ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

สามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ คลิ๊ก

พ่อหมอชอย สุขพินิจ เป็นคนไทยเชื้อสายเขมร เป็นลูกชาวนา เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ปัจจุบันพำนักอยู่ ณ บ้านหมู่ที่ ๖
ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีพี่น้องรวม ๓ คนชีวิตของพ่อหมอชอยก็เหมือนคนชนบททั่วไป เมื่อเด็กก็จะอยู่ตาม
ท้องไร่ท้องนา ช่วยพ่อแม่เลี้ยงควาย ทำไร่ ทำนา การศึกษาในโรงเรียนก็เรียนจบเพียงชั้น ป. ๔ เมื่อเรียนจบก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ๒
พรรษา ต่อมาเมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ ๒ พรรษาและสึกออกมาแต่งงานมีครอบครัว มีบุตรชายหญิงรวม ๖ คน
พ่อหมอชอยเรียนรู้วิชาหมอพื้นบ้านมาตั้งแต่ยังเด็ก กับคุณตาทิมยิ่งชูรส ซึ่งเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงของคนในชุมชน ช่วยคุณตาทิม
ขุด ตัด หาสมุนไพรมารักษาชาวบ้าน พออายุได้ ๑๒ ขวบ ก็ได้รักษาคนไข้คนแรกซึ่งถูกแมงป่องกัด ทำให้รู้สึกภาคภูมิใจมากที่ช่วยเหลือ
แก้ทุกข์ให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้

นอกจากเรียนรู้จากคุณตาทิมแล้ว ต่อมาเมื่อบวช พ่อหมอชอยก็ได้เรียนวิชาจากหลวงพ่อแจ่ม จัณโท ทั้งเรื่องสมุนไพร และวิชาต่อกระดูก
ได้ศึกษาภาษาขอมโดยศึกษาจากคัมภีร์ใบลาน ทำให้ได้เรียนรู้ทั้งภาษาและวิชาจากคัมภีร์เหล่านั้นจนแตกฉาน ต่อมายังได้ศึกษาคาถาอาคม
จากหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดอมรินทราวารี และเรียนวิชารักษาโรคทั่วไปจากหลวงพ่อบอน ภูชิโต ครู หมอ และหลวงพ่อคนอื่นๆ ทำให้มีความรู้
ประกอบกับประสบการณ์ที่ได้ช่วยเหลือเยียวยารักษาคนไข้มาอย่างต่อเนื่องนับถึงปัจจุบันก็เป็นเวลากว่า ๖๕ ปีแล้ว

กิตติศัพท์ของพ่อหมอชอยเลื่องลือไปไกล และนับเป็นโชคดีที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาบเชิงท่านหนึ่ง คือ นายแพทย์เอกชัย ปัญญา-วัฒนานุกูล
แพทย์แผนปัจจุบันที่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งได้ทำความรู้จักคุ้นเคย และน้อมใจเข้าศึกษาเรียนรู้ ตรวจสอบ
พัฒนา และทำงานร่วมกับพ่อหมอชอยอย่างใกล้ชิด โดยต่างเคารพนับถือ และเสริมส่งซึ่งกันและกัน ช่วยกันนำความรู้และประสบการณ์ไป
ขัดเกลาต่อยอด และเจียรไน เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์และปลอดภัยจากภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมามากยิ่งขึ้น

นอกจากเชื่อมโยงกับระบบการรักษาแผนปัจจุบันแล้ว ต่อมาพ่อหมอชอยยังได้ทงานร่วมกับนักวิชาก ารด้านสมุนไพรคนสำคัญคือ
ดร.วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล จากมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีโอกาสออกเดินป่าสำรวจสมุนไพรกับพ่อหมอชอย และทึ่งในความรอบรู้เรื่องสมุนไพร
ของพ่อหมอ ชอยอย่างยิ่ง จนตั้งฉายาพ่อหมอชอยว่า “สารานุกรมเคลื่อนที่เรื่องสมุนไพร” เพราะไม่ว่าจะหยิบจับสมุนไพรต้นไหนขึ้นมา
 ไม่มีต้นไหน ใบไหน ที่พ่อหมอชอยจะไม่รู้จักชื่อและสรรพคุณ ทำให้สารานุกรมสมุนไพรที่มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำขึ้น ประกอบด้วยทั้งความรู้
จากตำรับตำราของสากล อันเป็นความรู้ที่ประจักษ์แจ้ง (ExplicitKnowledge) ผสมผสานกับความรู้แฝงฝัง (Tacit Knowledge) ซึ่ง
ส่วนหนึ่งได้จากพ่อหมอชอย

ความรู้ ประสบการณ์ และวัตรปฏิบัติที่พ่อหมอชอยยึดถือ และดำรงตนเป็นที่พึ่งยามเจ็บไข้ให้แก่ชาวบ้าน และเป็นผู้นำด้านพิธีกรรมต่าง ๆ
ของชุมชน ทำให้พ่อหมอชอย เป็น “กรู” ที่ชาวบ้านเคารพศรัทธาอย่างสูง ชาวบ้านทั้งใกล้ไกลต่างมาพึ่งพา ความรู้และประสบการณ์ของพ่อ
หมอชอยเป็นที่ยอมรับข้ามแดนไปถึงเขมร และวงวิชาการ ทำให้พ่อหมอชอยได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณมากมาย และปีนี้คณะกรรมการ
พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์คัดเลือกพ่อหมอชอย สุขพินิจ “กรู” หมอพื้นบ้านชุมชนไทย-เขมร
แห่งบ้านโคกพยูง ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จ.สุรินทร์ เป็นหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  13th Oct 16

จำนวนผู้ชม:  38027

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   หนังสือ

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง