Sub Navigation Links

webmaster's News

แผนพัฒนาปักษ์ใต้ใต้เงาความขัดแย้ง



แผนพัฒนาปักษ์ใต้ใต้เงาความขัดแย้ง



แผนพัฒนาปักษ์ใต้ใต้เงาความขัดแย้ง ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 ราก ปัญหาประท้วง กฟผ.ที่อำเภอทับสะแกจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และที่อำเภอหัวไทรกับอำเภอท่าศาลา
 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความเป็นมาอย่างไร ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกว่ามาจากแผนพัฒนาประเทศ โดยใช้ภาคใต้เป็นฐานอย่างน้อย 2 ประการคือ ฐานผลิตด้านอุตสาหกรรม และการขนส่ง
จินตนาการเรื่องนี้ อาจารย์นิธิบอกว่า เกิดจากรัฐบาลสมัยก่อนๆ ด้วยการช่วยกันคิดว่า ถึงปี พ.ศ. 2600 จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปอย่างไร แน่นอน “คงไม่ได้หมายความว่า จะเริ่มต้นที่ปี พ.ศ. 2600 แต่เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป” ราย ละเอียดในจินตนาการนั้น ประการที่หนึ่ง ต้องการให้ภาคใต้มีหน้าที่หลักคือ เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดียกับทะเลจีนตอนใต้ ประการที่สอง ใช้เป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ไปจนถึงนราธิวาส รายละเอียดของแผนพัฒนาภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ แจกแจงรายละเอียดไว้ในหนังสือชื่อ แผนพัฒนาภาคใต้ภายใต้เงาอุตสาหกรรม
โดย มีเดชรัต สุขกำเนิด และ เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์ ศึกษาค้นคว้าเขียนไว้เมื่อปี พ.ศ.2552 อธิบายว่า แผนพัฒนาภาคใต้อยู่ในจินตนาการของรัฐบาลสมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณโดยในปี พ.ศ.2532 คณะรัฐมนตรี เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ ภายในชื่อโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ หรือเซาเทิร์นซีบอร์ด พื้นที่เป้าหมายคือ สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช แต่สมัยของ พล.อ.ชาติชาย ยังเป็นเพียงภาพในจินตนาการ ค่อยมา ก่อรูปเกิดร่างเมื่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จ้างบริษัททั้งไทยและต่างชาติ จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ จนเสร็จสิ้น หลังจากนั้นคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ได้ให้ความเห็นชอบในปี พ.ศ. 2536
ทำให้กลายเป็นแผนแม่บท เพื่อใช้แตกหน่อต่อยอด กำเนิดโครงการต่างๆ สืบมา สาระ สำคัญของแผนแม่บทฉบับนี้ มีการระบุถึงอุตสาหกรรมแกนนำขนาดใหญ่ ว่าจะเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมีเป็นหลัก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ด้วย แผนพัฒนาภาคใต้ที่เป็นรูปธรรมนี้ นำมาซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อรองรับโครงการยักษ์ที่จะเกิดขึ้นตลอดแนวทะเลอ่าวไทย โดยเริ่มต้นสตาร์ตตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แล่นทะยานไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส ตามที่ ศ.ดร.นิธิกล่าวไว้ข้างต้น เพื่อ สอดรับแผนพัฒนาภาคใต้ จักมีอะไรที่น่าเกรงขาม ผุดขึ้นมาเตะตาบาดใจนักอนุรักษ์ และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้าง กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคตได้ศึกษา และทำข้อมูลเอาไว้อย่างละเอียด
พบว่ามีทั้งท่าเรือน้ำลึก โรงถลุงเหล็ก สะพานเศรษฐกิจการค้าชายแดน หรือที่นิยมเรียกกันว่า แลนด์บริดจ์ และที่ขาดไม่ได้คือไฟฟ้า เพื่อจ่ายให้กับภาคอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นมา เฉพาะโรงไฟฟ้า ถ่านหินและนิวเคลียร์ ที่จะเกิดขึ้นตามแผนพัฒนา คือโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปะทิว จังหวัดชุมพร โรงไฟฟ้าถ่านหินปะทิว จังหวัดชุมพร โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ท่าชนะ, ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนอม, สิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และโรงไฟฟ้าลิกไนต์ที่ปัตตานี เป็นต้น โรงไฟฟ้าเหล่านี้ ผุดขึ้นมาควบคู่กับนิคมอุตสาหกรรม หรือไม่ก็โรงถลุงเหล็ก เป็นต้นว่า ที่ประจวบคีรีขันธ์ มีโรงถลุงเหล็กที่บางสะพาน ที่จังหวัดชุมพร มีโรงถลุงเหล็กที่อ่าวช่องพระ ปะทิว และที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีโรงถลุงเหล็กที่ดอนสัก เป็นต้น สาเหตุที่เลือกภาคใต้เป็นฐาน การผลิตไฟฟ้า ป้อนอุตสาหกรรมหนัก อาจารย์นิธิบอกว่า
เพราะภาคใต้มีความสำคัญในการเป็นเส้นทางคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการส่งท่อ สะพานเชื่อมทางบก และท่าเรือน้ำลึก ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเอื้อให้ภาคใต้ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้อย่างสมบูรณ์ และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เหล่านั้น ก็ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมหาศาล เป็นเหตุให้ต้องสร้างโรงงานไฟฟ้า “ภาค ใต้มีข้อได้เปรียบที่ติดทะเล พื้นที่ขนานไปกับทะเลยาวมาก มันตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมหนัก เพราะไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน หรือเหล็กก็ต้องการขนส่งทางทะเล” ช่วงนี้จะเห็นว่า กฟผ.มีความพยายามสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือ โรงงานไฟฟ้าถ่านหินและเกิดปัญหาตามมาคือชาวบ้านรวมกันต่อต้าน ไม่ว่าจะเป็นที่อำเภอหัวไทร และอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การต่อสู้ของชาวบ้าน จะทานต่ออำนาจของ กฟผ.ได้หรือไม่นั้น อาจารย์นิธิบอกว่า “ผมว่าชาวบ้านชนะ” เพราะว่า ชาวบ้านมีความเข้มแข็งพอ และโครงการเหล่านี้ จะเกิดขึ้นและสร้างได้ก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลที่เป็นเผด็จการ รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น และโอกาสที่รัฐบาลไม่ชอบธรรมหนุนหลังอยู่จะเกิดขึ้นมาได้ ก็เป็นแต่เพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น ไม่สามารถทำได้ทัน กรณีที่ทับสะแก ถ้า กฟผ.หักดิบสร้างจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด “ผม ว่าไม่มีทาง ถ้าชาวบ้านสามัคคีกันแบบนี้ ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่ขนวัสดุเข้ามา ชาวบ้านเขาก็เห็นแล้ว ไม่มีทางที่จะทำได้สำเร็จ” ดัง นั้น ทางออกของ กฟผ.ที่จะอยู่ร่วมกับชาวบ้าน ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ และมีสิทธิ์มีเสียงเต็มที่ในท้องถิ่นของตน ควรเปลี่ยนท่าทีเสียใหม่ ควรนำคำแนะนำของชาวบ้านไปพิจารณา “ผมว่าเดี๋ยวนี้ชาวบ้านเขาเปลี่ยนไปแล้ว ไม่ได้ค้านอย่างเดียว อย่างชาวทับสะแก เขามีข้อเสนอให้กับ กฟผ.ด้วย คือให้ใช้พื้นที่เป็นอุทยานการเรียนรู้ด้านพลังงาน และให้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติ จะเห็นว่าเขามีทางเลือกให้” กรณี ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ทับสะแกยืนยันว่า กฟผ.หลบหน้า ไม่ยอมเจรจากับชาวบ้าน อาจารย์นิธิบอกว่า น่าจะมาจากผู้บริหารใหญ่ๆ มากกว่า
 แต่การกระทำอย่างนั้นไม่ได้เป็นผลดี ความจริงน่าจะมาพูดคุยกับชาวบ้านมากกว่า อย่างกรณีที่ปากมูล กฟผ.ก็ส่งตัวแทนเข้ ามาพูดคุย แม้จะไม่สำเร็จแต่ก็ทำให้ท่าทีของชาวบ้านดีขึ้น ในเมื่อ กฟผ.ได้ซื้อที่ดินที่ตำบลนาหูกวางไว้กว่า 4,000 ไร่ แถมความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าอีกมหาศาล ถ้าไม่ได้สร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน หรือโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาสนอง ทางออกของ กฟผ.ควรจะเป็นอย่างไร “ผม ว่าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือถ่านหินไม่ใช่ทางออกสุดท้าย กฟผ.เป็นคนคิดกันเองต่างหากว่า เป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่จริงๆแล้วยังมีทางออกอื่นๆอีกกว่า 20 ทางเลือก เป็นต้นว่าพลังงานไฟฟ้าทางเลือก ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด” และที่ พูดว่า “โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ราคาถูกกว่า จะคุ้มทุนต่างๆ นานา ผมว่าโกหกหมด มันเป็นการคำนวณในกระดาษ ไม่ได้คำนวณจากความเป็นจริง ต้องคิดด้วยว่า วันๆ คุณต้องทิ้งกากไปวันละเท่าไร 1 ปี มี 365 วัน คุณผลิตกี่วันทิ้งกากไปรวมกันเท่าไร”แนวโน้มการใช้ไฟฟ้าในอนาคตมีแต่สูงขึ้น ทางออกของพลังงานไฟฟ้าจะเป็นรูปแบบใด “ผมคิดว่า ปัจจุบันเราอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน ทางออกของ กฟผ.คือ ใช้พื้นที่ประมาณ 5 พันไร่เป็นที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าประเภทหมุนเวียน ผมว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำได้ และราคามีแต่จะถูกลงด้วย แต่ต้องทำกันให้มาก รัฐต้องเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเรียนรู้ ผลิตไฟฟ้าใช้เอง
 ถ้าให้ทุกบ้านในประเทศไทย ผลิตไฟเท่าที่ผลิตได้ใช้กันเองได้ จะทำให้การผลิตพลังงานกระจายออกไป ไฟฟ้าดับก็จะไม่ดับทั้งเมือง และการนี้รัฐอาจจะมีกรรมการกลางกำหนด บริหารจัดการ การใช้ไฟฟ้าร่วมกัน” โดย สรุปคือ หันไปใช้พลังงานไฟฟ้าประเภทหมุนเวียน และมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบถ้าทำได้ก็จักไม่ทำลายวิถีชุมชน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตราบใดที่โลกยังไม่หยุดหมุน การพัฒนาย่อมก้าวไป แต่จะก้าวอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง หรือสะดุดขาตัวเองล้มลง ย่อมเป็นปัญหาที่ต้องคิดร่วมกัน.

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  35613

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง