Sub Navigation Links

webmaster's News

มาตรา 12เจตนาให้’สับสน’ จริง?หรือไม่รู้



มาตรา 12เจตนาให้’สับสน’ จริง?หรือไม่รู้



มาตรา 12เจตนาให้’สับสน’ จริง?หรือไม่รู้ มติชน ฉบับวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554 เสรี พงศ์พิศ “สิทธิ ปฏิเสธการรักษาพยาบาลที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต”ใน มาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เป็นสิทธิพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะรับหรือไม่รับการรักษาพยาบาลใดๆ ได้อยู่แล้ว แต่ในวาระสุดท้ายของชีวิตเราอาจจะไม่รู้สึกตัว บอกหมอ พยาบาลหรือญาติไม่ได้ว่าจะรักษาหรือไม่
 ดังนั้น ในมาตรา 12 จึงรับรองสิทธิของเรา โดยให้เขียนหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาพยาบาลไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ตั้งแต่ที่เรายังมีสติสัมปชัญญะว่า ขอปฏิเสธเครื่องมือทางการแพทย์ที่นำมาใช้เพื่อยืดการตายที่ไม่อาจต้านทานได้ ให้ยาวนานออกไป เมื่อเราถึงวาระที่เราจะจากไปแล้ว เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ รู้สึกแปลกใจเมื่อเห็นบทความที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ของคุณหมอท่านหนึ่งที่เขียนถึง
 “สิทธิปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต”นำไปโยงกับศาสนาคริสต์ และกับคำว่า “Euthana sia”และทำให้น่ากลัวมากยิ่งขึ้นด้วยการแปลว่า Mercy Killing หรือภาษาไทยว่า “การุณยฆาต”กลายเป็น”การฆ่าด้วยความกรุณา” ซึ่งไม่มีชาติใดศาสนาใดที่เห็นด้วยกับ “การฆ่าคน” แต่เมื่อเกิดสงครามก็มีคนตายจำนวนมากที่เกิดจาก “การฆ่ากัน” โดยชาติที่ฆ่ากันบอกว่าเป็นการปกป้องอธิปไตยของชาติ ปกป้องตนเอง เป็นสิทธิอันชอบธรรม
 มีกฎหมายรองรับการทำสงคราม ที่ทำให้เกิดการตาย เกิดการฆ่ากัน ศาสนาเองก็ไม่ได้ถือว่านั่นคือการฆ่าคน แต่ถือว่าเป็นการปกป้องตนเอง ปกป้องประชาชนของตนเอง ปกป้องทรัพย์สิน ดินแดน รวมถึงการไปรบในนามของศาสนาอย่างสงครามครูเสด และการรบสู้ด้วยอุดมคติทางศาสนาในหลายประเทศในปัจจุบัน ไม่มี ศาสนาใดเห็นด้วยกับการฆ่าคน ไม่ว่าคนอื่นหรือตัวเอง แต่ถ้าหากมีคนจะเข้ามาทำร้ายหรือเอาชีวิตเรา
เราก็มีสิทธิป้องกันตัว ถ้าหากในการป้องกันตัวนั้น ทำให้คนที่จะเข้ามาทำร้ายตาย ศาสนาและบ้านเมืองก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการฆ่าคน แต่เป็นการป้องกันตัว หรืออาจเรียกว่า “ฆ่าคนโดยไม่เจตนา”ไม่บาป ไม่มีโทษศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกต่อต้าน ประณามการทำแท้ง ถือว่าเป็นการ “ฆ่าคน” ที่บริสุทธิ์ แม้ว่าจะมีการถกเถียงว่า ชีวิตปฏิสนธิหรือเกิดขึ้นเมื่อใด กี่วัน กี่เดือน แต่กระนั้นก็มี “ช่อง”ให้สามารถ “ทำได้”ในกรณีที่ต้องช่วยชีวิตแม่ และในการทำเช่นนั้นทำให้เด็กในครรภ์เสียชีวิตคาทอลิกไม่ถือว่าเป็นการทำแท้ง แต่เป็นการช่วยชีวิตแม่ ไม่ใช่เป้าหมาย(end) หรือเครื่องมือ (means) แต่เป็นผลพวง (consequence-side คาทอลิกไม่ถือว่าเป็นการทำแท้ง แต่เป็นการช่วยชีวิตแม่ ไม่ใช่เป้าหมาย(end) หรือเครื่องมือ (means) แต่เป็นผลพวง (consequence-side effect) ไม่ใช่การฆ่า ไม่ใช่การทำแท้ง ศาสนจักร คาทอลิกมีท่าทีชัดเจนตลอดมาเกี่ยวกับการทำแท้งและeuthanasia โดยในปี 1980 มี Declaration on Euthanasia
ของกระทรวงคำสอนว่าด้วยความเชื่อ และในปี 2003 หลักคำสอน(Catechism) วรรคที่ 2778 บอกไว้ว่า “การ หยุดกระบวนการทางการแพทย์ที่เป็นภาวะอันตราย เกินธรรมดาหรือไม่เหมาะสมกับผลที่ควรได้รับถือว่าเป็นสิ่งชอบธรรม เป็นการปฏิเสธการรักษาที่ ‘เกินไป’ที่นี่ไม่ใช่ต้องการให้เกิดการตายเป็นการยอมรับความไม่สามารถที่จะ ป้องกันการตายมากกว่า การตัดสินใจควรกระทำโดยผู้ป่วยถ้าหากยังตัดสินใจได้ ไม่เช่นนั้นก ็โดยผู้ที่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะตัดสินใจแทนผู้ป่วย โดยเคารพความประสงค์ที่มีเหตุผลและผลประโยชน์ที่ชอบธรรมของผู้ป่วย” (2278: Discontinuing medical procedures that are burdensome, danger ous, extraordinary, or disproportionate to the expected outcome can be legi timate; it is the refusal of “overzealous” treatment. Here one does not will to cause death; one’s inability to impede it is merely accepted. The decisions should be made by the patient if he is competent and able or, if not, by those legally entitled to act for the patient, whose reasonable will and legitimate interests must always be respected.)
อ่านประโยคนี้ให้ดี “ไม่ใช่ต้องการให้เกิดการตาย เป็นการยอมรับความไม่สามารถที่จะป้องกันการตายมากกว่า”แล้วจะเข้าใจที่ได้ เปรียบเทียบกับการ “ช่วยแม่แต่ทำให้ลูกแท้ง” “ป้องกันคนมาทำร้าย แต่ทำให้คนนั้นตาย”ว่าไม่ใช่การฆ่าศาสนาคริสต์นิกายลูเธอรันในสหรัฐอเมริกา มีท่าทีชัดเจนมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยแถลงการณ์ในปี 1992 บอกไว้โดยละเอียดว่า ผู้ป่วยหรือผู้แทนทางการของผู้ป่วยสามารถเลิกหรือถอนการรักษาที่เห็นว่าเป็น ภาระโดยไม่จำเป็นและไม่สามารถป้องกันความตายได้ (When medical judgment determines that artificially-administered nutrition and hydration will not contribute to an improvement in the patient’s underlying condition or prevent death from that condition, patients or their legal spokespersons may consi der them unduly burdensome treatment. In these circumstances it may be morally responsible to withhold or withdraw them and allow death to occur. Because competent patients are the prime decision-makers,they may refuse treatment recommended by health care professionals when they do not believe the benefits outweigh the risks and burdens. This is also the case for patients who are incompetent, but who have identified their wishes through advance directives, living wills,and/or conversation with family or designated surrogates.) ศาสนาคริสต์นิกายออร์ ธอด็อกซ์ซึ่งอาจจะอนุรักษนิยมกว่าทุกนิกายก็ยังแสดงจุดยืนที่ชัดเจนเช่นกัน ว่าไม่ใช่ว่าจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อยืดชีวิตของผู้ป่วย แม้วันนี้จะมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า (The Church does not expect that excessive and heroic means must be used at all costs to prolong dying, as has now become possible through technical medical advances.The Church may even pray that terminally ill persons die, without insisting that they be subjected to unnecessary and extraordinary medical efforts.)medical efforts.) ศาสนา คริสต์เชื่อว่าพระเจ้าทรงเป็นเจ้าของชีวิต คนเราเป็นเพียงผู้ดูแลชีวิตที่พระองค์ทรงประทานให้ ไม่มีสิทธิกำหนดการสิ้นสุดชีวิตของตนเอง การที่ชาวคริสต์คนหนึ่งจะทำหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาที่ไม่จำเป็นจึง เป็นสิทธิที่กระทำได้ เพราะไม่ใช่การฆ่าตัวตาย หรือการทำหนังสือเพื่อให้คนอื่น (แพทย์หรือใครก็ตาม) ช่วยทำให้ตาย หนังสือ แสดงเจตนาไม่ประสงค์รับริการสาธารณสุขไม่ใช่การเขียนสองสามคำแล้วเซ็นชื่อ แต่เป็นหนังสือที่มีรายละเอียดมากที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นการฆ่าหรือการทำลายชีวิตโดยเจตนา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เผยแพร่ เป็นเอกสารที่ให้ความหมายโดยละเอียดจนไม่น่าจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเอาผิดกับแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ตรงกันข้ามเป็นการปกป้องบุคลากรเหล่านี้มากกว่า มาตรา 12 ไม่ใช่ euthanasia ไม่ใช่การุณยฆาต แต่เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในวาระสุดท้ายของชีวิต และให้ตายดี ซึ่งการวินิจฉัยว่า ใครถึงวาระสุดท้ายหรือไม่เป็นเรื่องที่แพทย์ ผู้ป่วย ญาติพี่น้องร่วมกันพิจารณา ไม่ใช่ความรับผิดชอบของแพทย์ผู้เดียว ราก ศัพท์ความหมายเดิมของ euthanasia คือ การตายที่ดี แต่ถูกทำให้เพี้ยนไปกลายเป็นการฆ่าอย่างปรานี กรณีของ “มาตรา 12″ก็อาจเหมือนกัน เป็นกฎหมายที่สนับสนุนสิทธิของผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลาย ถูกตีความให้เป็น “การุณยฆาต”หรือไม่เช่นนั้นก็ทำให้แพทย์เสี่ยงติดคุกมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากอ่านกฎหมาย กฎกระทรวง และหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษา วิเคราะห์เพียงด้วยสามัญสำนึกธรรมดา(ไม่ต้องใช้ตรรกะสูงส่งอะไร) ก็เข้าใจทั้งสาระและเจตนาของกฎหมายฉบับนี้ ที่จริง พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติออกมาตั้งแต่ปี 2550 และก่อนหน้านี้มีการเตรียมการศึกษา การทำประชาพิจารณ์ การจัดเวทีและสมัชชาสุขภาพครอบคลุมทั้งประเทศ ตั้งแต่ชุมชนถึงระดับชาติ ก่อนจะประกาศเป็นกฎกระทรวงเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คนที่คัดค้านเพิ่งนึกได้หรืออย่างไรไม่ทราบ ถึงได้มาร้องกันเอาตอนนี้ ทำ ให้หลายคนเข้าใจว่า คนที่โต้แย้งแบบอ้างหลักศาสนาบ้างจริยธรรมการแพทย์บ้าง จริงๆ แล้วต้องการบิดเบือนเพื่อผลประโยชน์แอบแฝงอะไรหรือไม่ เพราะแม้แต่ศาสนาคริสต์ที่ว่าอนุรักษ์ที่สุดแล้วยังเปิดโอกาสให้คนได้มี คุณภาพชีวิตที่ดีในวาระสุดท้าย อยู่ดีและตายดี หน้า: 10(ขวา)Ad Value: 128,324 PRValue (x3): 384,972 20110907_1344_Section 12_Matichon

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  40881

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง