Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ พินิจการเมือง: นโยบายที่ห่วงใยสุขภาพกับการขับเคลื่อนแบบสานพลัง โดย นพ พลเดช ปิ่นประทีป



คอลัมน์ พินิจการเมือง: นโยบายที่ห่วงใยสุขภาพกับการขับเคลื่อนแบบสานพลัง โดย นพ พลเดช ปิ่นประทีป



ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ (Health in All Policies-HiAP) เป็นประเด็นหลักการและเป้าหมายเชิงอุดมคติที่ทุกสังคม  อยากพัฒนาไปให้ถึง ในเวทีสมัชชา  สุขภาพแห่งชาติเมื่อปี 2555 ได้จัดให้เป็นหัวข้อการประชุมใหญ่ของเครือข่ายปฏิรูปสุขภาพจากทั่วประเทศ
          ครั้งน ั้นที่ประชุมได้สะท้อนว่านโยบายสาธารณะที่ดีทุกนโยบาย ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ควรต้องนามิติด้านสุขภาพมา พิจารณาควบคู่กันไปด้วย และได้พิจารณานโยบายสาธารณะที่เป็นรูปธรรมอย่างหลากหลายถึง 9 เรื่อง อาทิ ส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน เด็กไทยกับไอที พระภิกษุสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพ ระบบวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โรงไฟฟ้าชีวมวล ปัญหาหมอกควัน ความปลอดภัยด้านอาหาร และปัญหาสุขภาพประชาคมอาเซียน
          เดี๋ยวนี้กระทรวงต่าง ๆ มีความเข้าใจเรื่อง HiAP กันมากขึ้น ดังจะเห็นว่าแผนงาน โครงการและกฎหมายในระยะหลังมักจะมีมิติทางสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และการมีส่วนร่วมอยู่ด้วยเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของ 6 กระทรวง ซึ่งมีรัฐมนตรีร่วมเป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
          ประเด็ นสาธารณะขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาวะสังคม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งผมเห็นว่าคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและเครือข่ายสมัชชาสุขภาพทั่ว ประเทศควรจะหยิบยกขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนค วามคิดและสานพลังกันไปช่วยขับ เคลื่อนแก้ปัญหาอย่างกัดติดจนบรรลุผล บางเรื่องเป็นนโยบายที่ชัดเจนแล้วแต่ยังเอาชนะไม่ได้ บางเรื่องยังต้องการความริเริ่มใหม่ๆ
          1.รณรงค์ลดอุบัติเหตุบน ท้องถนนอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นปัญหาใหญ่ของชาติที่สร้างความสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินพี่น้องคนไทยจำนวนมหาศาลในแต่ละปี แม้ว่าปัจจุบันกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายทางสังคมและตำรวจจราจรทั่วประเทศจะมีความตื่นตัวและร่วมทำงานกัน อย่างหนักในทุกเทศกาล แต่สถิติขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุของ ประเทศไทยยังคงสูงเป็นอันดับต้นของโลก
          ปัจจุบันเรามี พ.ร.บ.จัดตั้งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ขึ้นมาแล้ว งานบูรณาการเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินก็ทำได้ดีขึ้นมาก แต่สถิติการเกิดอุบัติเหตุยังมีมากและมีความรุนแรงสูงขึ้น การเสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุจึงมากขึ้น แล้วเราจะเดินอย่างไรต่อไปในเรื่องนี้
          2.ฟื้นฟูเขาหัวโล้นและ ดูแลต้นน้ำลำธารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าต้นน้ำ13 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำหลัก 4 สาย ปิง วัง ยม น่าน ถูกบุกรุกทำลายประมาณ 8.6 ล้านไร่ มีผู้บุกรุกประมาณ 8 แสนคน ส่งผลให้เกิดปัญหาลำน้ำแห้งขอดในช่วงฤดูแล้งจนเกษตรกรในพื้นที่ราบไม่สามารถ เพาะปลูกได้ ปัญหาน้ำป่าไหลหลากในช่วงฤดูฝนจนเกิดเป็นอุทกภัยและดินโคลนถล่ม และปัญหาการไหลเปื้อนของสารเคมีจากยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงสู่พื้นที่ราบ สร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 469,000 ล้านบาท
          ใน เรื่องนี้กระแสความตื่นตัวของสังคมและสื่อมวลชนกระจายตัวอย่างรว ดเร็ว รัฐบาลเองก็ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและได้สั่งการให้กระทรวงร่วมกับหน่วย งานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมียุทธศาสตร์และแผนงานจัดการป่าต้นน้าเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชัน (เขาหัวโล้น) มีเป้าหมายฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชันภาคเหนือภายในระยะ เวลา 20 ปี พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนในพื้นที่สูงให้สามารถอยู่ได้อย่างพอ เพียงและยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ สร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมช าติและสิ่งแวดล้อม
          แต่การดำเนินการตามมาตรการต่างๆ นั้น หลีกไม่พ้นที่จะกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้จำนวนนับแสนคน จึงควรกระทำด้วยความละเอียดอ่อน คณะกรรมการสุขภาพแห่ง ชาติที่มีองค์ประกอบหลากหลายและมีศักยภาพสูง โดยเฉพาะเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคมทั่วประเทศ จึงอยู่ในสถานะที่จะหนุนเสริมการดำเนินการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยสร้างสรรค์กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นอันดับแรก
          3.หาทางออกปัญหาฟ้องร้องแพทย์เรื่องการฟ้องร้อง แพทย์ที่เป็นข่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นปัญหาส่วนตัวที่สังคมจะปล่อยให้จัดการกันไปเองตามเรื่องตามราว เพราะปัญหานี้กำลังส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่อย่างร้าวลึกต่อความสัมพันธ์ทาง สังคมอันดีงาม ในอดีตแพทย์กับคนไข้และญาติจะมีความเคารพรักและเอื้ออาทรต่อกัน มาบัดนี้ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้บริโภคที่เต็มไปด้วยความเฉยชา
          แพทย์ รุ่นใหม่หลีกเลี่ยงที่จะให้การผ่าตัดรักษาทั้งที่เป็นกรณีง่ายๆ การส่งต่อไปโรงพยาบาลอื่นให้พ้นตัวจึงเกิดขึ้น มีแนวโน้มการสั่งตรวจวิเคราะห์ทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และห้องแล็บขั้นสูง อย่างสิ้นเปลือง เพียงเพื่อให้มีข้อมูลหลักฐานการชันสูตรไว้ป้องกันตัว ค่ารักษาพยาบาลแต่ละครั้งจึงแพงลิบลิ่ว เกิดธุรกิจการฟ้องร้องแพทย์เป็นล่ำเป็นสัน แพทย์กลัวถูกฟ้องก็ต้องหันไปซื้อประกัน อาจารย์แพทย์หลายท่านสะท้อนให้ฟังว่านี่เป็นสัญญาณหายนะ
          ปัญหา เหล่านี้ต้องการทั้งสติปัญญา องค์ความรู้ ความอดทนอดกลั้น และภาวะการนำที่ต่อเนื่อง การฟื้นฟูพื้นที่ป่าบนเขาหัวโล้นที่ว่ายากก็ยังง่ายกว่าเป็นไหนๆ จึงนับเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ท้าทายการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข สปสช. สภาวิชาชีพ เครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนและคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
          4.พัฒนาระบบด ูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงรองรับสังคมสูงวัย
          กระทรวง การพัฒนาสังคมฯ คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ประเด็นที่น่าห่วงคือ ผู้สูงอายุที่สุขภาพทรุด โทรมลงตามวัยมีจำนวนมากขึ้น แต่คนดูแลกลับน้อยลง ผู้สูงวัยมักเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังช่วยตัวเองได้น้อยลง มีภาวะติดบ้าน-ติดเตียง ภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
          ในเรื่องนี้คณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติจะช่วยสานพลัง เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการดูแลที่เหมาะสมในระดับครอบครัวและชุมได้อย่างไร

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  3rd Jun 16

จำนวนผู้ชม:  34999

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง