Sub Navigation Links

webmaster's News

อย.ชี้อันตรายขวดนมพลาสติกเด็กอุ้มผางสารตะกั่วเกิน60%



อย.ชี้อันตรายขวดนมพลาสติกเด็กอุ้มผางสารตะกั่วเกิน60%



อย.ชี้อันตรายขวดนมพลาสติกเด็กอุ้มผางสารตะกั่วเกิน60% มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เมื่อ วันที่ 25 สิงหาคม ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) จัดกิจกรรม Building healthy kids ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ปลอดสารพิษ สร้างคุณภาพชีวิตและอนาคตเด็กไทย ผ่านโครงการรณรงค์ป้องกันภัย อาหารปนเปื้อนสารตะกั่ว และโครงการอาหารปลอดภัย เด็กไทยพ้นภัยสารพิษพลาสติกโดย พญ.นัยนา ณีศะนันท์ กุมารแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการ อาหารปนเปื้อนสารตะกั่ว กล่าวว่า สารตะกั่วปนเปื้อนในร่างกายอาจมาจากการปนเปื้อนกับอาหาร น้ำดื่ม รวมทั้งจากสายรกในครรภ์มารดา โดยสารตะกั่วจะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย ยิ่งเด็กอายุน้อยก ็จะมีการทำลายมากขึ้น เด็กที่มีสารตะกั่วในเลือดจะมีไอคิวต่ำ โดยพบว่าหากมีสารตะกั่วเพิ่มขึ้นทุก 10 ไมโครกรัม/เดซิลิตร
จะทำให้ไอคิวลดลง 1-3 จุด นอกจากนี้ หากสะสมมากๆ จะทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด “ปี 2554 ทางสถาบันสุขภาพเด็กฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจที่ ต.แม่จันทร์ ต.อุ้มผาง อ.อุ้มผาง จ.ตากโดยทำการสำรวจเด็กวัย 1-2 ขวบ จำนวน 151 คนพบผู้ที่มีสารตะกั่วในเลือดเกินมาตรฐาน คือ 10 ไมโครกรัม/เดซิลิตร มากถึงร้อยละ 60 แต่ปัญหาคือยังไม่ทราบที่มาของสารตะกั่วที่ตรวจพบ แม้จะมีการลงพื้นที่ไปยังบ้านของเด็กจำนวน 57 ราย แต่ยังไม่สามารถหาหลักฐานที่ชัดเจน พบสารตะกั่วอยู่ในน้ำที่เด็กดื่มเพียงเล็กน้อย ไม่สามารถใช้เชิงสถิติได้ ดังนั้นในปี 2555 จะมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม”พญ.นัยนากล่าว และว่า การป้องกันการรับสารตะกั่วต้องรับประทานให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะแคลเซียมวิตามินซี ธาตุเหล็ก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ เลี่ยงการสัมผัสวัตถุที่อาจมีสารตะกั่วเช่น เครื่องเบญจรงค์ที่เคลือบสี รวมทั้งฝุ่นจากสีทาบ้าน พญ.รัชดา เกษมทรัพย์ กุมารแพทย์ หน่วยกุมารเวชศาสตร์สังคม ในฐานะเลขานุการโครงการอาหารปลอดภัยเด็กไทยพ้นสารพิษพลาสติก กล่าวว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตั้งคณะกรรมการควบคุมการผลิตขวดนมพลาสติกสำหรับทารก และเด็กเล็กขึ้น
 เพื่อที่จะพิจารณาว่าควรออกแนวทางให้ผู้ประกอบการงดผลิตขวดนมจากพลาสติกโพลี คาร์บอเนต เนื่องจากพลาสติกชนิดดังกล่าวมีสารเคมี BPA ที่มีผลวิจัยจากทางยุโรปเมื่อประมาณปี 2551 โดยวิจัยในสัตว์ทดลองให้กินนมจากขวดนมที่ทำจากพลาสติกโพลีคาร์บอเนตอย่างต่อ เนื่อง พบว่าสารเคมีดังกล่าวได้ปนเปื้อนมาในน้ำนมและมีผลในการไปรบกวนการทำงานของ ฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง รวมถึงไปมีผลต่อการผลิตอสุจิได้น้อยลง พ่อแม่ควรเลือกซื้อขวดนมที่ผลิตจาก พลาสติก โพลีพรอพพีลีน (PP) หรือให้สังเกตบริเวณข้างขวดจะมีเขียนไว้ว่า BPA Free หรือ PP หรือสังเกตได้จากก้นขวดนมจะมีสัญลักษณ์มีเลข 5 ตรงกลาง และมีรูปลูกศรล้อมรอบ
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ในการควบคุมการผลิตขวดนม อย.ไม่ได้มีอำนาจควบคุมการผลิตโดยตรงจึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับสาร BPA เสนอไปยังสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสมอ. ซึ่งเป็นผู้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม โดยจะออกตราสัญลักษณ์ มอก.ให้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง จึงเป็นหน้าที่ของ สมอ.ในการพิจารณา เรื่องนี้ หน้า: 5(บน)Ad Value: 43,570 PRValue (x3): 130 20110827_1308_HA_Matichon (Mid-Day)

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  35827

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง