Sub Navigation Links

webmaster's News

สช.มธ. จับมือพัฒนาวิชาการ ‘สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ” ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ



สช.มธ. จับมือพัฒนาวิชาการ ‘สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ” ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ



สช.มธ. จับมือพัฒนาวิชาการ ‘สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ” ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ

   สช. ลงนามบันทึกความตกลงกับ มธ. สานต่อการพัฒนาวิชาการหมวดสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน อาทิ สิทธิการทำหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาพยาบาล และการคุ้มครองข้อมูล

ด้านสุขภาพของบุคคล ด้าน อธิบการบดี มธ. เผยทุ่มงบ ๒๕๐ ล้านบาท สร้างศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หวังให้จากไปอย่างสงบ สอดคล้องกับ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ คาดแล้วเสร็จอีก ๒ ปีข้างหน้า
 
   เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือตาม โครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐

เป็นระยะเวลา ๓ ปี ณ ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์
 
   นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง สช. และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการตามกฎหมายด้านสุขภาพ โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ ปี ๒๕๕๑ จนถึงปัจจุบัน และในการลงนาม

บันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ถือเป็นการส่งเสริมให้สาธารณชนได้รับรู้ถึงความก้าวหน้า และเป็นการพัฒนาเนื้อหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในหมวดที่ว่าด้วย “สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
 
   นพ.อำพล กล่าวว่า มาตรา ๑๒ ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ให้สิทธิบุคคลในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ ซึ่งทุกฝ่ายสามารถนำ

ความรู้จากกฎหมายในมาตรานี้ และพัฒนาการที่เกิดขึ้นจริงๆ ในระบบสุขภาพ มาเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ของสังคมไทยให้มากยิ่งขึ้น
 
   “ขณะเดียวกัน ก็มีบางมาตราอาจนำไปสู่การเสนอแนะและแก้ไข อาทิ มาตรา ๗ ที่กำหนดให้ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็น ความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยจนทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาอาจมีบางประเด็นที่ถูกตีความกฎหมายแคบเกินไป ดังนั้น

โครงการความร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้เห็นว่า มีประเด็นใดบ้างที่ตกหล่นหรือยังขาดอยู่ ซึ่งนำไปสู่การเสนอแนะเพื่อแก้กฎหมายต่อไป”
 
   ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่ามหาวิทยาลัยจะเข้ามาดำเนินการเผยแพร่สาระสำคัญของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ในหมวดสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ หลังจากที่ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ได้บังคับใช้มาแล้ว

๙ ปี เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจสาระสำคัญของกฎหมายให้มากขึ้น
 
   “ความร่วมมือระหว่าง สช. และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครั้งนี้ จะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายด้านสุขภาพ และ จริยศาสตร์ทางสุขภาพ มากขึ้น ช่วยส่งผลให้ปัญหาทางสุขภาวะของคนไทยลดลง”
 
   ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด กล่าวอีกว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังดำเนินโครงการ ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ เพื่อเป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยใช้งบประมาณ ๒๕๐ ล้านบาท จะแล้วเสร็จในอีก ๒ ปีข้างหน้า เพื่อรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์มา

ดูแลอย่างครบวงจร ภายใต้การวินิจฉัยจากแพทย์ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา ๑๒ ที่ระบุให้ บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยึดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต และแนวโน้มของนานาประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
 
   “ปัจจุบัน รพ.ธรรมศาสตร์ ยังไม่มีการดูแลในลักษณะดังกล่าวอย่างเป็นระบบ โครงการนี้จึงถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม ที่จะทำให้ผู้ป่วยที่เสียชีวิตได้จากไปอย่างสงบ โดยมหาวิทยาลัยต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก ทั้งเรื่อง ยา บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลกรที่

เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิ นักจิตวิทยา และศูนย์การแพทย์ซึ่งรองรับได้เพียง ๒๐ เตียงเท่านั้น จึงต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะครอบครัวผู้ป่วย ที่จะทำให้ทุกอย่างดำเนินการได้อย่างราบรื่นที่สุด”
 

ที่มา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
ภาพประกอบ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  8th Apr 16

จำนวนผู้ชม:  34474

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง