Sub Navigation Links

webmaster's News

ปาฐกถาพิเศษ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๘ วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ โดย นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล นักเศรษฐศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและตลาดทุน และสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)สปท.



ปาฐกถาพิเศษ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๘ วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ โดย นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล นักเศรษฐศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและตลาดทุน  และสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)สปท.



ภาคเอกชนผสานชุมชนท้องถิ่น ทางออกจากการพัฒนาแบบ ‘หัวโตตัวลีบ’
.......................................................

สิ่งที่อยากนำมาแลกเปลี่ยน คือมุมมอง ‘สุขภาวะ’ ของภาคเอกชน หลังจากที่เคยมีประสบการณ์เป็นนักเศรษฐศาสตร์ในภาคการเงินมาเป็นเวลานาน

ภาคเอกชน นายแบงก์ เขามองเรื่องสุขภาวะในอีกด้านหนึ่ง นั่นคือ สุขภาวะด้านปากท้อง หรืออยู่บนฐานคิดเช่นเดียวกับที่หลายคนเคยพูดว่า ถ้าท้องอิ่ม ด้านอื่นก็จะเดินไปได้ นอกจากนี้สุขภาวะด้านปากท้องยังสัมพันธ์กับสุขภาพจิตด้วย สังเกตได้จากคนในสังคมปัจจุบันมีปัญหาสภาพจิตมากมายเพราะภาวะหนี้สิน

สิ่งที่เป็นอุปสรรคของการสร้างสุขภาวะที่ดีถ้วนหน้าของประเทศไทย คือความไม่เท่าเทียม นี่เป็นปัญหาที่พยายามแก้กันมาเกือบ 30 ปี ไม่ว่าจะพยายามพัฒนาประเทศอย่างไร ดูเหมือนความเหลื่อมล้ำกลับไม่ได้ลดลง ซ้ำยังยิ่งเพิ่มมากขึ้น ตลอด 30 ปีที่ผ่านมาพี่น้องในชนบทมีรายได้เพิ่ม 1,000 กว่าบาท ขณะที่คนรวยที่สุด 20% แรกของประเทศมีรายได้เพิ่มเกือบ 20,000 บาท แล้วสังคมนี้จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สันติสุข ได้จริงหรือ
หากจะสร้างความเท่าเทียม หรือโอกาสที่เท่าเทียมกัน ทางออกคืออะไร

สำหรับผม ทางออกต้องไม่ไปหวังพึ่งรัฐบาล คนมักจะคิดว่ารัฐบาลเป็นคำตอบ ความจริงบางทีรัฐบาลอาจเป็นคนสร้างปัญหาด้วยซ้ำไป ทางออกที่เป็นจริงและยั่งยืนกว่า คือการสานพลังปัญญาและภาคี ระหว่างภาคเอกชนและประชาสังคม เพราะเอกชนมีกำลังทรัพย์แต่ต้องการคนที่จะช่วยเขาให้นำพาทรัพย์ดังกล่าวไปในทางที่ถูกต้อง
จากประสบการณ์การทำงานในธนาคารใหญ่พบว่า มีคนนำเงินไปทำบุญ ไปทำสาธารณประโยชน์ ไปแจกจ่ายในรูปแบบต่างๆ มากมาย แต่สิ่งเหล่านั้นมักไม่เกิดประโยชน์และมักไม่ใช่การแก้ปัญหาที่แท้จริง เพราะเขามีเงินจะช่วยแต่ไม่รู้จักชุมชน เขาไม่รู้ว่า เราอยากได้อะไร โจทย์ของภาคประชาสังคมคือ ทำอย่างไรจะสามารถไปจับมือกับเอกชนที่มีเงินอยู่แล้ว แล้วเอาเงินมาสู่โครงการที่พวกเรากำลังพูดคุยกันอยู่

ที่ผ่านมามีตัวอย่างการสร้างมาตรฐานปากท้องที่ดีขึ้นอยู่หลายโครงการที่ริเริ่มโดยเอกชน เช่น โครงการ 1 ไร่ 1 แสน ของสภาหอการค้าไทย เป็นการผสมผสานของทฤษฎีเกษตรยั่งยืนและทุนของเขาเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นการนำเอาความรู้และตลาดที่เอกชนมีมาผสมกับชุมชนท้องถิ่น หรือแม้แต่สถาบันการเงินชุมชนซึ่งมีตัวอย่างที่ดีอยู่หลายแห่ง ภาคธนาคารเอกชนก็มีความสามารถ และยินดีอย่างยิ่งที่จะช่วยยกระดับสถาบันการเงินชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นได้ทั่วประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ เรื่องการสร้างสุขภาวะด้านปากท้องยังจะส่งผลต่อเรื่องการออม เพื่อให้ผู้คนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุโดยที่ยังมีเงินใช้ มีหลักประกันเพิ่มขึ้น

การพัฒนาประเทศไทยตลอด 30 ปีเป็นลักษณะ ‘หัวโตตัวลีบ’ หากเหลียวมองในชนบทจะพบว่า เหลือแต่คนแก่กับเด็ก นี่คือทิศทางการพัฒนาที่ผิดพลาด เราต้องเปลี่ยนวิถีทางใหม่โดยการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมาจากการสานพลังภาคีต่างๆ ร่วมกัน ไม่ต้องหวังพึ่งรัฐ ขอแค่เขาไม่ทำร้ายเรา ดูแลตัวเองให้รอดก็พอแล้ว สิ่งที่รัฐบาลอาจจะเข้ามาหนุนเสริมได้ก็คือ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาสังคม เป็นแม่ขายให้ภาคสังคมได้ทำโครงการต่างๆ ร่วมกับเอกชน นี่เป็นสิ่งที่เรียกร้องใน สปท. ขณะนี้ด้วย

บทบาทของทุกคนในสมัชชาสุขภาพนั้น เราต้องช่วยกันเรียกร้องให้หลายสิ่งที่กำลังผลักดันอยู่เกิดขึ้นจริง เช่น โฉนดชุมชน ธนาคารที่ดิน ชุมชนเข้มแข็ง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้กำลังเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มันคือโอกาสสำคัญซึ่งมีแค่ 2 ปี หลังจากนั้นคงจะเรียกร้องได้ยากมาก

ขณะเดียวกันเราก็ต้องเริ่มต้นการปฏิรูปที่ตนเองด้วย ถ้าทุกคนปฏิรูปตนเอง หน่วยงานตัวเอง ชุมชนตัวเอง มันจะทำให้ประเทศไทยไปได้ไกล หากรอคนอื่น บางทีมันอาจจะไม่เกิดขึ้น เพราะคนที่จะมาปฏิรูปก็มีปัญหาของเขาเอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เคยมีพระราชดำรัสเรื่องความพอเพียงอยู่เสมอ และการพัฒนาที่แท้จริงต้องมาจากฐานราก ต้องให้ชุมชนเข้มแข็งเสียก่อนแล้วค่อยเดินไป ตึกจะสูงเป็นร้อยๆ ชั้นก็ต้องมีฐานรากที่เข้มแข็ง แข็งแรง ไม่เช่นนั้นมันอาจจะล้มได้

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  23rd Dec 15

จำนวนผู้ชม:  34967

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2558

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง