Sub Navigation Links

webmaster's News

เกณฑ์จริยธรรมขายยาใกล้คลอด คาด 2 ปีสู่การปฏิบัติจริง



เกณฑ์จริยธรรมขายยาใกล้คลอด คาด 2 ปีสู่การปฏิบัติจริง



คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ภายใต้คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เปิดรับฟังความเห็นต่อร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยก ารส่งเสริมการขายยาของประเทศไทยจากทุกภาคส่วน ก่อนส่งเข้าคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ
 เพื่อขอความเห็นชอบ ก่อนประกาศต่อสภาวิชาชีพ ด้าน ศ.(คลินิก) นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ ประธานอนุกรรมการฯ ระบุ ขอเวลา 2 ปี นำเกณฑ์จริยธรรมฯ สู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง หากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสโลกที่ตื่นตัวเรื่องธรรมาภิบาลการขายยา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
 ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ นำโดย ศ.(คลินิก) นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ ประธานอนุกรรมการฯ และนพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ภายใต้อนุกรรมการฯ ร่วมกับ แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย โดยมีกลุ่มที่เกี่ยวข้องทั้งบุคลากรสาธารณสุขผู้สั่งใช้ยา เภสัชกรในสถานพยาบาล สถานบริการเภสัชกรรม บริษัทยา
 ผู้แทนยา ผู้บริหาร ผู้จัดซื้อจัดหายาของสถานพยาบาล บุคลากรจากสถานศึกษา สภาวิชาชีพ และนักกฎหมาย เข้าร่วมกว่า 100 คน ก่อนสรุปผลเสนอแนะต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นชอบและคาดหวังให้สภาวิชาชีพและหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องนำไปประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ร่างเกณฑ์จริยธรรมดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจาก มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2552 เรื่อง ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม: เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และสุขภาพของผู้ป่วย
 โดยคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นให้ความเห็นชอบและมอบให้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติรับไปดำเนินการเพื่อขับเคลื่อน นพ.รุ่งนิรันดร์ ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ภายใต้คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล กล่าวว่า หลังจากคณะทำงานขับเคลื่ อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมจริยธรรมฯ ได้จัดทำและพิจารณาร่างเกณฑ์จริยธรรมยาฯ ควบคู่ไปกับการศึกษาการพัฒนาเกณฑ์จริยธรรมฯ ที่เป็นกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาขององค์การอนามัยโลก ปี พ.ศ....... และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และบริษัทยา ปี พ.ศ.2551 แล้ว
ได้สำรวจความคิดเห็นโดยส่งแบบสอบถามจำนวน 2,500 ฉบับ ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องและได้รับการตอบกลับมา 400 ฉบับ เมื่อเร็ว ๆ นี้นั้น ทางคณะทำงานฯ คิดว่ายังไม่เพียงพอกับการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนจึงจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อนำความคิดเห็นในที่ประชุมไปปรับตัวร่างเกณฑ์จริยธรรมฯ ก่อนส่งให้อนุกรรมการส่งเสริมฯ และคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เห็นชอบ นพ.รุ่งนิรันดร์ กล่าวต่อว่า การจัดทำเกณฑ์จริยธรรมฯ ดังกล่าวมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล
เนื่องจากมีการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม มีการโฆษณาที่จูงใจหลากหลาย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการบริโภคยาเกินจำเป็น บริโภคยาแพงเกินควร และการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล ในส่วนเนื้อหาของร่างเกณฑ์จริยธรรมฯ ประกอบด้วย 7 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 คำนิยาม หมวดที่ 2 ผู้สั่งใช้ยา หมวดที่ 3 ผู้บริหาร ผู้มีอำนาจในการจัดซื้อยาในสถานพยาบาล หน่วยงาน หมวดที่ 4 เภสัชกรในสถานพยาบาล หน่วยงาน และสถานบริการเภสัชกรรม หมวดที่ 5 บริษัทยา ผู้แทนยา หมวด 6 สถานพยาบาล และหมวดที่ 7 สถานศึกษา โดยเนื้อหาบางส่วนระบุชัดเจนในส่วนของบริษัทยาหรือผู้แทนยา ว่าต้องไม่กำหนดผลตอบแทนที่เป็นรายได้หลักของผู้แทนยาแต่ละรายโดยขึ้นอยู่กับยอดขายยาของผู้แทนยา นอกจากนี้ บริษัทยาและผู้แทนยาต้องพึงระวังการปฏิสัมพันธ์มิให้มุ่งในทางชักจูงให้สั่งซื้อและผู้สั่งใช้ยา เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายใด ๆ ต้องมุ่งประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก และห้ามไม่ให้มีข้อผูกมัดหรือเงื่อนไขที่เชื่อมโยงให้ตัดสินใจหรือสั่งซื้อหรือสั่งใช้ยานั้น ๆ การสนับสนุนการจัดประชุมวิชาการ การเลี้ยงรับรอง ตลอดจนการสนับสนุนการจัดการศึกษาต่อเนื่อง สามารถกระทำได้เฉพาะกิจการที่มุ่งเพื่อให้ข้อมูลยาที่ถูกต้อง ครบถ้วน
ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ และต้องไม่ดำเนินกิจกรรมที่ชักนำให้เกิดการใช้ยาตัวหนึ่งตัวใดของบริษัท หรือการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล และการสนับสนุนตัวอย่างยาต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเท่านั้น “ส่วนผู้แทนยา ต้องไม่เสนอสิ่งจูงใจ เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้สั่งใช้ยาและผู้สั่งจ่ายยา โดยผู้แทนยาต้องมีความรับผิดชอบในการนำเสนอข้อมูลยาที่ทันสมัย ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ หรือละเลยข้อมูลผลกระทบ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเพื่อเสนอแก่ผู้สั่งใช้ยา ที่สำคัญที่สุดคือผู้สั่งใช้ยา ต้องไม่รับประโยชน์อันเป็นทรัพย์สินหรือบริการ ที่บริษัทยาให้แก่ผู้สั่งใช้ยาเป็นการส่วนตัว เช่น ของขวัญ ของชำร่วย อาหารเครื่องดื่มที่ให้เป็นการส่วนตัว เงินที่ไม่ใช่ค่าตอบแทนวิทยากร
หรือทุนวิจัย ยกเว้นมีกำหนดไว้ตามสภาวิชาชีพ รวมทั้ง ผู้สั่งใช้ยาไม่พึงแสดงตนเป็นผู้แสดงโฆษณาหรือส่งเสริมการขายใด ๆ ต่อสาธารณชนในเชิงธุรกิจ เป็นต้น” ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมจริยธรรมแจงเพิ่ม ขณะที่ ศ.(คลินิก) นพ. ธีรวัฒน์ กล่าวว่า คาดว่าน่าจะใช้ระยะประมาณ 2 ปี ให้การขับเคลื่อนเรื่องนี้เกิดเป็นรูปธรรม เพราะปัจจุบันประเทศไทยเผชิญปัญหาการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมมาก นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รัฐต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยาสูง เมื่อศึกษาข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของระบบหลักประกันสุขภาพต่าง ๆ ประจำปี 2551 พบว่า ระบบหลักประกันสุขภาพแบบสวัสดิการข้าราชการ จำนวน ประมาณ 5 ล้านคน มีมูลค่าการใช้จ่ายด้านการรักษาสูงถึง 54,904 ล้านบาท
แบบประกันสังคมและประกันสุขภาพถ้วนหน้ารวมกัน 57 ล้านคน มูลค่าการใช้จ่ายด้านการรักษา 98,700 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงข้อมูลจาก อย. เกี่ยวกับมูลค่าการผลิตและนำเข้ายาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ของบริษัทยาเอกชน ประจำปี 2553 ที่มีมูลค่าสูงถึง 1.54 แสนล้านบาท “แนวโน้มของโลกในปัจจุบันมีการให้ความสำคัญในเรื่องธรรมาภิบาลของการขายยา เพราะที่ผ่านมายากลายเป็นสินค้าที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาลในแต่ละปี จึงมีการส่งเสริมการขายหลายรูปแบบ ซึ่งบางเรื่องเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ แต่ถ้าเรามีกฎระเบียบที่แน่นอน อำนาจหรือผลประโยชน์ก็ไม่สามารถมาบังคับเราได้ ซึ่งเกณฑ์จริยธรรมฯ
นี้ถือเป็นมาตรการหนึ่งที่ออกมาแล้วผู้เกี่ยวข้องทุกคนควรทำตาม ส่วนข้อกังวลที่ว่าเกณฑ์จริยธรรมนั้นมักไม่มีบทลงโทษ ผมเรียนว่าสำหรับเรื่องเกณฑ์จริยธรรมขายยาฯ นี้ บทลงโทษมีแต่จะตามมาในภายหลังโดยอาจนำไปใช้ประกอบกับกฎหมายหรือข้อบังคับของสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดบทลงโทษได้ ซึ่งลักษณะของโทษนั้นจะพิจารณาตามความผิดที่เกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่การตักเตือน ภาคทัณฑ์ ถ้ารุนแรงมากก็ต้องใช้อำนาจศาลที่อ้างด้วยกฎหมายชาติบ้านเมืองที่เกี่ยวข้องต่อไป” ศ.(คลินิก) นพ. ธีรวัฒน์ กล่าว /////////////////////////////// ประสานงาน : สำนักการสื่อสารทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ท เขมวดี ขนาบแก้ว (ปูน) 02-832-9143 /081-8686613 ท พลินี เสริมสินสิริ (แตงโม) 02-832-9141 / 089-7759281

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  35590

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง