Sub Navigation Links

webmaster's News

Right to die สิทธิส่วนบุคคลที่ถูกกฎหมาย



Right to die สิทธิส่วนบุคคลที่ถูกกฎหมาย



  โลกวันนี้ ฉบับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ญาณ สยามโพธิ worldtoday@watta.co.th ถึง แม้ว่า พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 จะออกมาบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2550 สมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ วันเวลา ก็ผ่านพ้นมากว่า 4 ปีแล้วก็ตาม…แต่ดูเหมือนคนไทยจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันสักเท่าไรกับบทบาทของ มาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ. นี้ นั่นก็คือสิทธิแห่งความตาย… ยังคง เป็นข้อถกเถียงกันอยู่สำหรับการมองคนละมุมในทุกๆเรื่องของสังคมไทย ยกตัวอย่างเพียงเรื่องเดียวอย่างสิทธิการตาย (Right to die) ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ข้อควรคำนึงถึงความควรไม่ควร
  ขัดหรือแย้งกับจรรยาบรรณแพทย์ หรือแม้กระทั่งการขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 หรือไม่? ยังไม่มีใคร สามารถให้คำตอบฟันธงลงไปได้ว่าสิ่งใดกันแน่ที่ถูกต้อง… เมื่อเป็นสิ่งที่ขัดต่อวิถีแห่งชาวพุทธที่มีความรู้สึกเมตตาสงสารของประชาชน ชาวไทย และศีลธรรมอันดีงาม ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง แต่บางครั้งการกระทำตามมาตรา 12 อาจเป็นสิ่งที่มีมโนธรรมมากกว่า…แค่บางเรื่องมนุษย์ยังรู้สึกแย้งถึงความ ขัดกันต่อหลักแห่งกฎสัจธรรมชีวิตที่มนุษย์ควรจะมีและควรจะเป็น?… และ
  ยิ่งมีการประกาศใช้กฎกระทรวงการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตาม หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการ ตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. 2553 ได้ถือใช้…ยิ่งก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง… เมื่อ ผู้ป่วยแสดงเจตนาไม่ประสงค์เข้ารับการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อ ยุติการทรมานจากการเจ็บ ป่วยได้ โดยบุคคลนั้นต้องทำหนังสือแสดงเจตนาตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ เขียนไว้เป็นพินัยกรรม ชีวิตหรือความต้องการครั้งสุดท้ายของ ชีวิต (Living will) ในขณะที่ยังอยู่ในสภาพที่ครองสติสัมปชัญญะครบถ้วนทุกประการและปราศจากการ บังคับขู่เข็ญใดๆทั้งสิ้น…ทั้งนี้ ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติปี 2550
   ยังอนุโลมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่ได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคล ตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง… ดังนั้น เมื่อแพทย์ได้ดำเนินการตามพินัยกรรมชีวิตแล้วไม่ต้องกลัวการฟ้องร้อง เพราะ พ.ร.บ. ระบุให้พ้นผิดทั้งปวงไว้แล้ว… แต่ ปัญหายังตามมาอีกในด้านความน่าเชื่อถือของเอกสารที่เป็นหนังสือแสดงเจตนา นั้นมีความจริงแท้แค่ไหนและเพียงไร? และ ใครจะเป็นผู้ยืนยันเอกสารนั้นๆได้…หากมีการปลอมแปลงเอกสารเพื่อหวังในผล ประโยชน์ทรัพย์ศฤงคารหรือแม้แต่การรับผลประโยชน์จากการทำประกันชีวิต…กอปร กับการวินิจฉัยโรคอย่าง ไรว่าสมควรยุติการรักษาเพื่อมิให้ผู้แสดงสิทธินั้นๆ ต้องการยุติการทรมาน จากการเจ็บป่วย อันอาจทำให้ประชาชนตายโดยไม่สมควรตาย
  เพราะไม่มีใครเป็นคนตัดสินว่าผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตที่แท้จริง ซึ่งหากทำการรักษาต่อไปอาจไม่เสียชีวิตก็เป็นได้? แม้บางครั้ง การเจ็บป่วยมิได้มาจากด้านร่างกายเพียงด้านเดียว…ยังคงมีที่มาจากด้านจิต ใจอีกสถานซึ่งต้องพิจารณา…ทั้งด้าน ความรู้สึกของการถูกกักขัง โดดเดี่ยว หรือความรู้สึกหดหู่ด้วยเหตุที่เกิดจากโรคนั้นๆ เพียงแต่หากเป็นโดยสภาวะแห่งโรคนั้นๆเองที่ไม่สามารถทำให้ผู้เข้ารับการ รักษาถึงแก่ความตายได้…หรือแม้จะสามารถเป็นภัยถึงแก่ชีวิต แต่ก็ยังอยู่ในสภาพที่สามารถอยู่บนโลกใบนี้ได้อีกนาน… เมื่อ ผู้ป่วยประเภทนี้เขียนหนังสือเจตนาสิทธิปฏิเสธการรักษาแล้ว แพทย์จะต้องดำเนินการหรือไม่? และหากไม่ดำเนินการตามที่ร้องขอ มีสิทธิที่จะถูกฟ้องร้องอันเนื่องมาจากเหตุให้บุคคลคนนั้นต้องทุกข์ทรมาน หรือไม่?… เรื่องของสิทธิแห่งความตายนี้มิได้มีเพียงประเทศ ไทยเท่านั้น ยังมีหลายประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ไปแล้ว ทั้งสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย เดนมาร์ก สิงคโปร์ เป็นต้น หลักของการใช้สิทธินี้ คือ เพื่อให้ทุกฝ่ายทั้งญาติและแพทย์ได้ปฏิบัติตามความต้องการของผู้ป่วยเพื่อ การจากไปอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของบุคคลที่มีสิทธิตัดสินในสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตและ ร่างกายตนเองเพื่อให้เสียชีวิต
  อย่างสงบ โดยไม่ถูกใช้เทคโนโลยีทาง การแพทย์อย่างไม่สมควร โดยตัวผู้ป่วยเองเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตัดสินชีวิตตนเองได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย… ย้อน กลับไปดู 91 ศพที่ราชประสงค์ ผู้ซึ่งไม่ต้องทำพินัยกรรมชีวิต ไว้แต่อย่างใด? และพวกเขาเหล่านี้ต้องการสิทธิส่วนบุคคลเกี่ยวกับวาระสุดท้ายของชีวิตที่ทุก ฝ่ายต่างก็ปฏิเสธในการเป็นผู้หยิบยื่นสิ่งที่เรียกว่าความตายให้กับพวกเขา เหล่านั้น โดยที่พวกเขาเหล่านั้นไม่เต็มใจ…อีกทั้งไม่มี พ.ร.บ. ฉบับใดให้สิทธิของการเข่นฆ่าประชาชนโดยถูกกฎหมายไว้… แต่แม้ เวลาผ่านมาปีเศษ ญาติ พี่น้องของคนเหล่านี้ก็ยังมาทวงสิทธิส่วนบุคคลคืนอยู่…หวังเพียงรัฐบาล ยิ่งลักษณ์จะช่วยคลี่คลายปมเพื่อคืนสิทธิแห่งความตายให้กับผู้เสียชีวิตทั้ง หลายอย่างเป็นธรรม… บางครั้งการกระทำตามมาตรา 12 อาจเป็นสิ่งที่มีมโนธรรมมากกว่า แค่บางเรื่องมนุษย์ยังรู้สึกแย้ง ต่อหลักแห่งกฎสัจธรรมชีวิต หน้า: 03A(ล่างซ้าย)Ad Value: 49,788 PRValue (x3): 149,300 20110817_1272_Section 12_Lok Wan Nee

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  35480

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง