Sub Navigation Links

รายงานข่าวสุขภาวะ ภาคใต้ สานใจสานพลัง 10 กันยายน 2563 ตอน ปูพรมนโยบายฯผู้ป่วยระยะสุดท้าย : ชัยวุฒิ เกิดชื่น

* * *ชัยวุฒิ_เกิดชื่น รายงานข่าวสุขภาวะภาคใต้ รายงานข่าวสุขภาวะ_สานใจสานพลัง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง มาตรา12 สิทธิการตายดี ตายดี แผนการรักษาล่วงหน้า พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ* * *
Facebook
download

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3138

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3232

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3092

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3041

สธ.- สช.- สภาการพยาบาลจับมือเดินหน้ามอบนโยบายบูรณาการการดำเนินงาน “สิทธิการตายดี” ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 หรือ Living Will และการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) แก่ผู้บริหารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด และเขตสุขภาพทั้ง 12 เขต เตรียมดันเข้าสู่ระบบบริการปฐมภูมิ เข้าถึงชุมชน ครอบคลุมทุกโรค ทุกช่วงวัย ทั่วประเทศ สังคมไทยเผชิญกับโรคร้ายและโรคอุบัติใหม่เพิ่มขึ้น เมื่อผนวกกับข้อเท็จจริงที่ว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุถึงร้อยละ 20 ในอีก 4 ปีข้างหน้า ก็ยิ่งเป็นความท้าทายที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันหาแนวทางรับมือ ด้วยเหตุนี้ระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care) การวางแผนการรักษาล่วงหน้า (Advance care plan) และหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขเพียงเพื่อยืดการตายในระยะท้าย (Living will) ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 จึงมีส่วนสำคัญต่อการรับมือความท้าทายดังกล่าว ซึ่งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสภาการพยาบาล จึงจัดให้มีการประชุมทางไกลเพื่อมอบนโยบายการดำเนินงานเกี่ยวกับประเด็นข้างต้นแก่ผู้บริหารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั้ง 77 จังหวัด และเขตสุขภาพทั้ง 12 เขต โดยงานจัดขึ้น ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า มาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เป็นสิทธิมนุษยชนสากล และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ให้บริการ ผู้ป่วยและญาติ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในวาระสุดท้ายของผู้ป่วย การผลักดันเรื่องนี้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพ เช่น สภาการพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาระบบบริการ Palliative care และ Living will ทั้งในเรื่องโครงสร้างและกลไกการขับเคลื่อน การจัดบริการสุขภาพ การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ การสื่อสารสังคม และการพัฒนาองค์ความรู้ “ที่ผ่านมา สช. ได้ทำหน้าที่สานพลังองค์กรภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคส่วนนโยบาย ภาคส่วนวิชาการ ภาคประชาสังคม รวมถึงเตรียมดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นนี้ผ่านกลไกและเครือข่ายภาคประชาสังคม ทั้งสมัชชาสุขภาพจังหวัดทั่วประเทศและคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ในการสนับสนุนการทำงานในระบบบริการสุขภาพตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) สาขาการดูแลแบบประคับประคองของกระทรวงสาธารณสุข” นพ.ประทีป กล่าว

ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองไม่ใช่เป็นเรื่องเฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ ข้อเท็จจริงที่พบคือ ร้อยละ 86 ของผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคองกลับไม่ได้รับการดูแล ขณะที่ในกลุ่มเด็กตัวเลขดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 98 สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา สธ. ได้แจ้งเวียนหนังสือไปยัง สสจ. ทุกจังหวัด เพื่อแจ้งให้ทุกสถานบริการสาธารณสุขดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 รวมถึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อน โดยมีการจัดทำเอกสารความรู้และแนวทางการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขชัดเจน

login to rate

ระดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่:  8th Oct 20

จำนวนผู้ฟัง:  1196

แสดงความคิดเห็น:  0

เพิ่มเป็นเสียงที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   รายงานข่าวสุขภาวะ

แจ้งเสียงไม่เหมาะสม

เพิ่มเป็นเสียงที่ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ให้เพื่อน


(สามารถนำโค๊ดนี้ไปแสดงที่เว็บไซต์หรือ MySpace,Friendster,Blogger ของคุณได้!)