Sub Navigation Links

รายงานข่าวสุขภาวะ ภาคอีสาน สานใจ สานพลัง ( ขอนแก่น) 29 มกราคม 2558 ตอน จัดการสิ่งแวดล้อมในวัด : วิชิตชนม์ ทองชน

* * *รายงานข่าวสุขภาวะ_สานใจสานพลัง รายงานข่าวสุขภาวะภาคอีสาน วิชิตชนม์_ทองชน ขอนแก่น จัดการสิ่งแวดล้อมในวัด สุขภาวะพระสงฆ์* * *
Facebook
download

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3138

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3232

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3092

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3041

สคร.๖ หนุนแกนนำชุมชน เร่งจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด หลังพบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในวัดสูงเกินค่าที่กำหนด หวั่นสถิติไข้เลือดออกพุ่งสูงปีนี้
จากข้อมูลการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำในระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ (เป็นช่วง ก่อนฤดูกาลระบาด) พบว่าบริเวณ วัด ยังมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่สูงกว่าบริเวณสถานที่อื่นๆในชุมชนเดียวกัน ในหลายจังหวัด สำหรับภาชนะที่พบลูกน้ำและมีความเสี่ยงต่อการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ในบริเวณวัด คือ อ่างน้ำซีเมนต์ อ่างน้ำราดส้วม และถังพลาสติกในห้องน้ำ จึงขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการในพื้นที่เสี่ยงสูง ซึ่งหากได้มีการเตรียมการล่วงหน้าจะช่วยลดการระบาดโรคไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี สคร 6 ขอนแก่นฝากกระตุ้นเตือนของความร่วมมือมายังแกนนำชุมชน และประชาชนในชุมชน ผู้ดูแลวัดในแต่ละหมู่บ้านของตนเอง ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกคนเร่งดำเนินกิจกรรมทำความสะอาด และจัดระเบียบเพื่อลดแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลายในวัด และขอให้มีผู้รับผิดชอบดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ

ตามที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๖ ขอนแก่น โดยศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ ๖.๑ ขอนแก่น ๖.๒ อุดรธานีและ ๖.๓ เลย ได้ลงพื้นที่สำรวจความชุกของลูกน้ำยุงลายตามภาชนะน้ำขัง ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา พบว่าค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบริเวณวัดสูงเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ในหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่ตรวจพบลูกน้ำยุงลายตามภาชนะสำรองน้ำใช้ ถือว่าเป็นจุดเสี่ยงที่สะท้อนโอกาสการระบาดของโรค จากในอดีตที่ผ่านมาเมื่อถึงฤดูกาลระบาดของโรคไข้เลือดออก ก็จะเป็นแหล่งกระจายโรคจากยุงลาย แม้ว่าในชุมชนนั้นๆ จะจัดการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ที่อื่นๆเช่นที่โรงเรียน หรือตามบ้านเรือนเป็นอย่าง ดีแล้วก็ตามหากยังมี วัด เป็นสถานที่เสี่ยงในชุมชนนั่นก็เท่ากับว่ายังไม่มีความปลอดภัยต่อโรคไข้เลือดออกอยู่ ความสำคัญในการดำเนินการให้วัดปลอดภัยจากแหล่งกระจายเชื้อไข้เลือดออก จึงจำเป็นต้องจัดการเร่งด่วนเพื่อลดความเสี่ยง ลดแหล่งที่มีขังน้ำ โดยความร่วมมือจากแกนนำชุมชน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อสม.ประชาชน เยาวชน พ่อบ้านแม่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ มรรคทายก ผู้ดูแลวัด ฯลฯ มีส่วนร่วมประสานกับทางเจ้าอาวาสวัด พระสงฆ์ สามเณร ที่อยู่ในวัด โดยปกติท่านก็อาจทำความสะอาดอยู่บ้างแล้ว เพียงแต่อาจยังไม่ครอบคลุม บางวัดมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่น้อย จำจำเป็นต้องร่วมมือประสานกันจัดการสิ่งแวดล้อม บริเวณวัด ที่อยู่ในหมู่บ้าน ตำบล ของตนเอง ให้สะอาด ปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และดำเนินการสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายต่อเนื่องเป็นประจำ โดยนำหลักการสำคัญง่ายๆ โดยใช้มาตรการ 5ป. 1 ข. จำให้แม่นๆ ดังนี้
ป 1. ปิดฝาภาชนะน้ำดื่ม น้ำใช้
ป 2. เปลี่ยนน้ำในกระถางแจกัน ขาตู้กับข้าว
ป 3. ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะน้ำใช้
ป 4. ปฏิบัติ ต่อเนื่องทุกๆ 7 วัน
ป 5. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดอากาศถ่ายเท
ข 1. ขัดล้างไข่ยุง ที่เกาะแน่นบริเวณขอบปากภาชนะแนวระดับน้ำขัง (ล้างธรรมดาไม่ออกต้องขัด )ไข่ยุงลาย เกาะติดขอบภาชนะ หากมีน้ำมาเติมจนท่วมหลังไข่ จะใช้เวลา 1-2 วันที่ฟักตัวเป็นลูกน้ำ แต่หากไม่มีน้ำมาเติมจนท่วมถึงก็จะแห้งติดผนังภาชนะอย่างนั้นได้นานเป็นปี และเมื่อมีน้ำมาท่วมเมื่อใด ไข่ก็พร้อมจะแตกตัวเป็นลูกน้ำภายในได้ใน 30 นาที การทำในมาตรการดังกล่าวข้างต้น เพียงเท่านี้ชุมชนของท่าน ก็สามารถควบคุมลูกน้ำยุงลาย สาเหตุของโรคไข้เลือดออกได้ โดยความร่วมมือการปฏิบัติตามแนวทาง และการติดตามประเมินเป็นระยะๆ หัวใจสำคัญของความสำเร็จ ความเข้มแข็ง ไม่ใช่ เกิดจากการใช้เงินงบประมาณจำนวนมากในการซื้อวัสดุ สารเคมี ไม่รอให้เกิดการระบาดของโรค มีคนป่วย มีคนตายจากโรคไข้เลือดออก ความสำเร็จที่ยั่งยืน และใช้งบประมาณน้อย เกิดจากความร่วมมือ อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง โดยภูมิปัญญา ของท้องถิ่น

login to rate

ระดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่:  18th Feb 15

จำนวนผู้ฟัง:  1005

แสดงความคิดเห็น:  0

เพิ่มเป็นเสียงที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   รายงานข่าวสุขภาวะ สานใจ สานพลัง

แจ้งเสียงไม่เหมาะสม

เพิ่มเป็นเสียงที่ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ให้เพื่อน


(สามารถนำโค๊ดนี้ไปแสดงที่เว็บไซต์หรือ MySpace,Friendster,Blogger ของคุณได้!)